ARC-07. ตำรา/สื่อการสอน/การอบรม (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ นโยบายและยุทธศาสตร์ การอนุรักษ์เมืองเก่า ชุมชนเก่าของรัฐไทย(2563-11-03) ์Nattawut Usavagovitwongรายการ ทางออกประชาชน คนท้ายขบวน(2563-09-21) Nattawut Usavagovitwongรายการ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวลที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในผู้สูงอายุ(2563-10-26) กนกวรรณ อุสันโนรายการ การออกแบบสถาปัตยกรรมตามอารยสถาปัตย์ เพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ(2563-10) กนกวรรณ อุสันโนรายการ แนวคิดและมาตรฐานการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกในประเทศไทย(2563-01) กนกวรรณ อุสันโนรายการ การพัฒนาศักยภาพ ด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร และสถานที่สาธารณะตามแนวทาง Universal design(2563-01-08) กนกวรรณ อุสันโนรายการ การขับเคลื่อน Universal Design ในสถาบันการศึกษาไทย(2561-12-03) กนกวรรณ อุสันโนการศึกษาในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีรายวิชาหลักเกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร โครงสร้างและการก่อสร้างอาคาร ซึ่งในการออกแบบอาคารนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงข้อจำกัดทางด้านร่างกายของผู้ใช้อาคาร อาคารจะต้องไม่สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค(Barrier)ต่อผู้ใช้งาน จะต้องเอื้อให้ผู้ที่มีความพร่องทางกาย(Physical Impairment) สามารถเข้าใช้งานเท่าที่สามารถจะทำได้ ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารที่สะดวก ใช้งานได้จริง และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ในการสื่อสารความรู้ด้านการออกแบบชุดนี้ไปยังนักศึกษาควรดำเนินร่วมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นแก่นักศึกษาผ่านประสบการณ์ตรง ภายใต้ความต้องการในสังคมที่เกิดขึ้นจริงรายการ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในผู้สูงอายุ(2562-01-29) กนกวรรณ อุสันโนในความเป็นผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายและความเสื่อมถอย มีโอกาสที่จะเกิดความพิการ ทั้งจากความเสื่อมถอยทางกายภาพและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความชราภาพ เพราะเป็นวัยที่ความเสื่อมของระบบต่างๆในร่างกายปรากฎชัดเจน เช่นประสาทตาเสื่อมทำให้การมองเห็นไม่ดี กล้ามเนื้อเสื่อม หรือข้อเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กระดูกหักได้ง่าย ระบบประสาทสัมผัสที่เสื่อมลง เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการเคลื่อนไหวร่างกายในผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุอยู่อาศัยในสถานที่ซึ่งมีลักษณะไม่เหมาะสม นำมาซึ่งความยากลำบากในการใช้ชีวิตและอาจนำมาสู่ความพิการได้รายการ เอกสารประกอบการนำเสนอบทความเรื่องผลการจัดการเรียนการสอนภาคปฎิบัติเชิงบูรณาการระหว่างวิชาเทคโนโลยีอาคาร 2 กับวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม 3 ในช่วงสถานการณ์โควิด 19(ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) ธราดล เสาร์ชัยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนแบบบูรณาการข้ามวิชาระหว่างวิชาเทคโนโลยีอาคาร 2 กับวิชาปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม 3 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน ระหว่างการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องมือ รูปแบบการเรียนการสอน และใช้วิธีบูรณาการระหว่างวิชาเป็นการแก้ปัญหาการเรียนภาคปฎิบัติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คนซึ่งทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการบูรณาการระหว่างรายวิชาสามารถใช้ทดแทนรูปแบบการเรียนในภาวะปกติได้รายการ Conceptual Develoment and Programming(Lecture note to School of Architecture and Design, KMUTT, 2561-12-11) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์รายการ Design for All(Lecture note to School of Architecture and Design, KMUTT, 2562-03-25) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์รายการ ARC151 เทคโนโลยีการก่อสร้างและอุปกรณ์อาคาร 1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) ธราดล เสาร์ชัยตำราเรื่อง ARC151 เทคโนโลยีการก่อสร้างและอุปกรณ์อาคาร 1 เล่มนี้ได้พัฒนาขึ้นมาจากเอกสารประกอบการสอนในรายวิชา ARC121 วัสดุและการก่อสร้าง ARC122 วัสดุและการก่อสร้าง 2 ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงมาโดยตลอดตั้งแต่ ปี 2536 ความรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีความสำคัญต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการออกแบบเพื่อให้ความคิดที่สร้างสรรค์ไว้ สามารถนำมาสู่ความเป็นจริงได้ อันประกอบด้วยโครงสร้างของสถาปัตยกรรมที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมตามประโยชน์ใช้สอย สวยงาม และคุ้มค่า เนื้อหาในเล่มมุ่งหมายให้ผู้อ่านได้รับความรู้พื้นฐานในด้านวัสดุ อุปกรณ์อาคาร และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง เพื่อสร้างฐานความรู้ก่อนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างในระดับสูงต่อไป โดยเน้นความรู้เบื้องต้นในด้านคุณสมบัติ การแบ่งชนิด ประเภท และการเลือกนำไปใช้งาน เนื้อหาในเล่มจึงมีความหลากหลายและมีจะปริมาณของข้อมูลจำนวนมากหากต้องแสดงในรายละเอียดที่ลึกซึ้ง ทำให้ผู้อ่านที่ยังไม่มีความรู้พื้นฐานสับสนและขาดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเนื้อหาในเล่มจึงต้องมีความกระชับ เข้าใจง่าย ดังนั้นผู้อ่านควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นที่สนใจในแหล่งข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ผู้เรียบเรียงขอขอบพระคุณคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เขียนเอกสาร ตำรา หนังสือ และผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างตามที่อ้างอิงไว้ท้ายเล่ม