GEN-08. ผลงานนักศึกษา

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
  • รายการ
    ระบบสำรองกำลังไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) เนติรัฐ ผ่านใหญ่; รุ่งโรจน์ สุนทรเอกจิต; จีระศักดิ์ เสมามิ่ง; วีรยุทธ แสนเสมอ
    โครงงานนี้เป็นการออกแบบและสร้างแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองขนาด 1.5 กิโลโวลท์แอมป์ มีความสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์จำนวน 4 เครื่องมีกำลังไฟฟ้า 1,320 วัตต์มีขนาด แรงดัน 220 โวลท์กระสลับ ความถี่ 50 เฮิร์ต และสำรองไฟได้นาน 30 นาที โดยโดยโครงสร้างของ แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง สร้างความถี่ 50 เฮิร์ตและใช้ มอสเฟส ทำหน้าที่ขับกำลังไฟฟ้าวงจรภาค กำลังของอินเวอร์เตอร์จำนวน 4 ตัวจะสลับการทำงานทีละ 2 ตัวเป็นการทำงานแบบพุชพลูในการ ขับภาคกำลังทำให้ได้ผลของรูปสัญญาณเอาท์พุตที่เกิดขึ้นจากอินเวอร์เตอร์เป็นสัญญาณรูปสี่เหลี่ยม และทำการทดลองชุดแหล่งจ่ายไฟสำรองโดยการจ่ายโหลดที่มีขนาดแตกต่างกัน
  • รายการ
    การสร้างตัวกรองฮาร์มอนิกด้วยหม้อแปลงแบบซิกแซก
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) นพดล จันตรา; ปิยะพงษ์ คล้ายท่าโรง; รณชัย อุปนันท์
    โครงงานนี้เป็นการนำเสนอการสร้างตัวกรองฮาร์มอนิกด้วยหม้อแปลงแบบซิกแซก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดฮาร์มอนิกลำดับที่ 3 (Tripen Harmonics) โดยมีส่วนประกอบของโครงงาน คือ หม้อแปลงแบบซิกแซก ขนาด 300 VA 380 โดยทดสอบกับโหลดคอนเวอร์เตอร์ เพื่อที่จะนำผลของหม้อแปลงแบบซิกแซกมาช่วยในเรื่องของการลดฮาร์มอนิกลำดับที่ 3 เพื่อที่จะช่วยให้ระบบการทำงานต่างๆ มีประสิทธิภาพดีมากขึ้น และช่วยในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้มีอายุการใช้งานที่นานมาก
  • รายการ
    บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหลอดไฟถนน
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2533) จักรณรงค์ กิจเกียรติ; นัฐพร ราชรองเมือง; ศราวุธ รอดม่วง
    โครงงานนี้เป็นการนำเสนอการออกแบบและสร้างบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ภาคเดี่ยว สำหรับหลอดโซเดียมความดันสูง 150 วัตต์ โดยใช้วงจรจุดหลอดภายในแบบแอลซีซี ที่มีการควบคุมกำลังไฟฟ้าที่หลอดให้คงที่ จุดประสงค์หลักของโครงงานนี้เน้นที่การออกแบบและวิเคราะห์ การจุดไส้หลอดโซเดียมความดันสูง ซึ่งในวงจรจุดหลอดภายในแบบแอลซีซี โดยใช้หลักการเรโซแนนท์ร่วมในการวิเคราะห์ และการควบคุมกำลังไฟฟ้าที่หลอดให้คงที่ทำให้การทำงานของระบบมีเสถียรภาพจาก หลักการที่ได้นำเสนอนี้ง่ายต่อการออกแบบและสามารถนำไปใช้งานได้ ภายใต้พื้นฐานการทำงานของสวิตซ์แรงดันศูนย์ สามารถที่จะลดจำนวนอุปกรณ์สวิตช์ลงได้ โดยการใช้อุปกรณ์สวิตซ์ของวงจรอินเวอร์เตอร์เรโซแนนซ์แบบกึ่งบริดจ์ให้ทำงานร่วมกับวงจรเรียงกระแสสำหรับเพื่อการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลัง โดยวงจรต้นแบบทดลองกับหลอดโซเดียมความดันสูง 150 วัตต์
  • รายการ
    เครื่องกำเนิดแรงดันฮาร์มอนิก
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) สุภัทรา แก้วสวัสดิ์; สุมารินทร์ แก้ววงวาน
    โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างเครื่องกำเนิดแรงดันฮาร์มอนิก เนื้อหาประกอบด้วย รายละเอียดพื้นฐานของคุณภาพไฟฟ้าและฮาร์มอนิก ตัวกรองฮาร์มอนิก การออกแบบและการจำลองสัญญาณฮาร์มอนิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ของโครงงานนี้ต้องการศึกษาการเกิดฮาร์มอนิกและสร้างเครื่องกำเนิดแรงดันฮาร์มอนิกลำดับที่ 1-15 ลำดับคี่ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจและสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการทดลองในการวิเคราะห์ฮาร์มอนิกได้ ซึ่งในส่วนการทดลองและออกแบบจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สร้างวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์โดยมีความถี่พื้นฐาน 50 เฮริตซ์ และมีลำดับฮาร์มอนิก 8 ลำดับ คือ 1-15 ลำดับคี่ ซึ่งค่าความถี่จะมีค่าเป็นจำนวนท่าของความถี่พื้นฐานส่วนที่ 2 เป็นการนำเอาสัญญาณไซน์ที่ได้ในส่วนที่ 1 มาขยายแรงดันเพื่อให้ได้แรงดันที่เหมาะสมตามอัตราส่วนของลำดับฮาร์มอนิก ส่วนที่ 3 เป็นการรวมสัญญาณของสัญญาณไซน์ที่ได้จากส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 4 เป็นการขยายกำลังเอาท์พุทให้ได้ 100 วัตต์ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปสำหรับผู้ที่สนใจ