S_CHO-08. ผลงานนักศึกษา

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
  • รายการ
    Title การศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ศึกษากรณี ของ บริษัท ไทยอิเล็กตรอนกัน จำกัด
    (2543) สุจินดา ตรีโกศล
    การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม 2) ศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานในสายการผลิต ของ บริษัท ไทยอิเล็กตรอนกัน จำกัด จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่า t (t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแบบปรึกษาหารือ รองลงมา คือ แบบมีส่วนร่วม และแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนแบบเผด็จการอยู่ในระดับปานกลาง 1.1 พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน พบว่า แบบปรึกษาหารือมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สำหรับลำดับรองลงมาเป็นแบบมีส่วนร่วม แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ และแบบเผด็จการตามลำดับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 1.2 พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน พบว่า แบบเผด็จการ แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ แบบปรึกษาหารือ และแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผลการศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ปรากฎผล ดังนี้ 2.1 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตปัจจัยอนามัย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของปัจจัยอนามัย พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอยู่ในระดับมาก เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงาน ส่วนความพึงพอใจในการทำงานรายด้านอื่น ๆ ของปัจจัยอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านเงินเดือน ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านนโยบายและการบริหารงาน ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงานที่ทำ และด้านความสำเร็จในงาน 2.2 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน ปัจจัยอนามัยพบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านเงินเดือน และด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจโดยรวม และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา และด้านสภาพการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวม ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบในการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนหน้าลักษณะงานที่ทำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2.3 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน ปัจจัยอนามัย พบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจโดยรวม ด้านเงินเดือน และด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวม และรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ แล้วความรับผิดชอบในการทำงาน และด้านลักษณะงานที่ทำ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ปรากฏผลดังนี้ คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมแบบเผด็จการ แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ แบบปรึกษาหารือ และแบบมีส่วนร่วมมีผลต่อปัจจัยอนามัย และปัจจัยจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีความสัมพันธ์กันทางบวก
  • รายการ
    ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
    (2543) สุวิชญ์ สุขประเสริฐ
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแนะนำส่งเสริม ด้านการเป็นแบบอย่าง และด้านการสร้างเงื่อนไข จำแนกตามสถานภาพในการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจภูธรที่สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 181 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 300 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา พบว่า ข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ชั้นสัญญาบัตรมีความคิดเห็นว่า หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีมีบทบาทในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่าข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีชั้นประทวนทั้งโดยภาพรวม และด้านการเป็นแบบอย่าง และด้านการสร้างเงื่อนไข ส่วนด้านแนะนำส่งเสริมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นว่าหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี มีบทบาทในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่าข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน