ผลงานนักศึกษา

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 8
  • รายการ
    เครื่องวัดกำลังงานแสงอาทิตย์
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) ชัชกรณ์ เนาว์นาน; วิชิต จริยา; ทักษิณ พรหมยัง
    โครงงานนี้ได้กล่าวถึงเครื่องวัดกำลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องวัดกำลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีราคาที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการใช้งานจริงเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องวัดที่มีจำหน่ายทั่วไป รวมถึงมีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและสามารถอ่านค่าได้โดยไม่ต้องต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่น เนื้อหาของโครงงานได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ การออกแบบวงจรและโครงสร้าง ซึ่งการออกแบบวงจรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ 1.ส่วนเซนเซอร์รับแสง ในโครงงานเลือกใช้ LDR มาประยุกต์เป็นตัวเซนเซอร์รับแสง 2.ส่วนประมวลผล เลือกใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์ PIC16F877 โดยตัวไมโครคอนโทรลเลอร์มีหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกที่ได้รับจากเซนเซอร์รับแสงให้ออกมาเป็นสัญญาณดิจิตอล และจึงนำไปประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณที่เขียนไว้ในไมโครคอนโทรลเลอร์ ก่อนที่จะถูกส่งไปยังจอแสดงผล 3.ส่วนแสดงผล ในส่วนนี้จะมีหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการคำนวณของไมโครคอนโทรลเลอร์ทางจอ LCD 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด โดยแสดงหน่วยออกมาเป็น W/m2
  • รายการ
    จักรยานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) เอกชัย ปรีชากรรม; ไอยศูรย์ แสนแสง; วสันต์ เชื้อพัฒนา
    โครงงานนี้นำเสนอจักรยานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นำจักรยานมาดัดแปลงโครงสร้างจากจักรยานสองล้อมาเป็นจักรยานสามล้อ เพื่อที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง,แบตเตอรี่,กล่องควบคุม และ เครื่องควบคุมการประจุมาวางได้สะดวก โดยเนื้อหาของโครงงานได้กล่าวถึงทฤษฎีของชนิดมอเตอร์ ชนิดแผงโซล่าเซลล์ การคำนวณหาขนาดมอเตอร์ และการออกแบบชุดควบคุมมอเตอร์ ผลการดำเนินงานของโครงงานนี้พบว่า จักรยานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีความสามารถในการขับขี่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 18 กิโลเมตร/ชั่วโมง และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้ประมาณ 1 ชั่งโมง และอัตราการชาร์จพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์พบว่าเวลา 12.00 – 13.00 น. จะให้พลังงานในการประจุแบตเตอรี่ได้สูงสุดของวัน
  • รายการ
    การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม55, 2555) ณัฐภพ แสงโสรัตน์; ณัฐพล ศรีแผ้ว; จิตติพล สุขแสน
    โครงงานนี้เป็นการนำเสนอการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติและการนำไมโครคอนโทรลเลอร์ มาควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยวิธีชอปเปอร์เปลี่ยนความเร็วรอบ โดยใช้หลักการควบคุมความกว้างพัลล์ทำให้ได้แรงดันทางด้านโรเตอร์เปลี่ยนแปลง โดยการสั่งงานผ่านทางจอทัชสรีน สั่งการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 8 บิต ตรวจสอบผลการตอบสนองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับความเร็ว และผลการตอบสนองในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของโหลด เพื่อดูเสถียรภาพการควบคุมความเร็วของมอเตอร์
  • รายการ
    การศึกษาหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คาน คอนกรีตอัดแรง (ช่วงเสา 6 7.5 และ 9 เมตร)โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม RAM Concept
    (2556-08-28T11:30:12Z) พัทธนันท์ มณีชนพันธ์
    งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัยข้อมูลราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเสริมข้ออ้อย แบบหล่อ รวมถึงค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่ความหนาต่างๆ กัน เพื่อหาความหนาที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่อพื้นที่ต่ำสุด โดยใช้โปรแกรม RAM Concept ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาสำหรับการจัดเรียงตำแหน่งของเสาในพื้นทั้งหมด 3 กรณีคือ (1) สี่เหลี่ยมจัตุรัส (2) สี่เหลี่ยมผืนผ้า และ (3) ซิกแซก ซึ่งมีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 0.75 ระยะช่วงเสา 6 7.5 และ 9 เมตร น้ำหนักบรรทุกจร 200 300 kg/m^2 และกำลังอัดประลัย 320 และ 400 kg/cm^2 โดยมีข้อกำหนดให้เสริมเหล็กรับแรงเฉือน และ Drop Panel ตรงบริเวณหัวเสาที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนทะลุได้ จากการทดลองออกแบบพบว่าบริเวณที่มุมเสาและเสาริมนอกของพื้นไร้คาน มีการเสริม Drop Panel และเหล็กรับแรงเฉือนที่หัวเสาทุกกรณี เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เส้นรอบรูปของหน้าตัดเฉือนทะลุมีไม่ครบทั้ง 4 ด้าน จากนั้นนำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบ จากการศึกษาในครั้งนี้ได้สมการทำนายความหนาของแผ่นพื้น ซึ่งมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในช่วง 0.84 ถึง 0.99 และพบว่า อัตราส่วนช่วงเสาต่อความหนาที่เหมาะสม สำหรับแผ่นพื้นที่แนะนำโดย Post-Tensioning Institute มีค่าอยู่ระหว่าง 45 ถึง 50 แต่ในขณะที่ผลการศึกษานี้มีค่าอยู่ระหว่าง 49 ถึง 52 และจากผลการเปรียบเทียบกับการศึกษาที่คล้ายกันแต่ใช้โปรแกรม CSI SAFE V12.3.2 พบว่ามีค่าความหนาที่เหมาะสมแตกต่างกันประมาณ +3% กรณีสี่เหลี่ยมจัตุรัส +7% กรณีสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ +2% กรณีซิกแซก
  • รายการ
    การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีต เสริมเหล็กโดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นต์แบบแผ่นสามมิติ โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE
    (2556-08-14T22:52:06Z) ยอดพล ผลสงเคราะห์
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต เหล็กเส้น แบบหล่อ รวมถึงค่าแรงในประเทศไทย โดยได้ทดลองออกแบบแผ่นพื้น ที่มีความหนาต่างๆกันเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่อหน่วยต่ำสุด โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ ไฟไนท์อีลีเม้นต์แบบแผ่นสามมิติมีกรณีศึกษา 3 กรณีคือ (1) กรณีสี่เหลี่ยมจัตุรัส (2) สี่เหลี่ยมผืนผ้าแปรเปลี่ยนอัตราส่วนช่วงเสาด้านสั้นต่อด้านยาว 0.50 และ 0.75 (3) กรณีซิกแซก มีระยะเยื้อง 1 และ2 เมตร น้ำหนักบรรทุกจร 200 300 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระยะช่วงเสาด้านยาว 5 6.5 และ 8 เมตร และกำลังอัดประลัยคอนกรีต 320 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร จากการทดลองออกแบบพบว่าเหล็กเสริมข้ออ้อยที่ใช้ในการออกแบบมีปริมาณตั้งแต่ 5.29 จนถึง 35.39 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และมีการใช้เหล็กเสริมรับแรงเฉือนที่หัวเสาเมื่อมีช่วงเสา 6.50 เมตรขึ้นไปและมีน้ำหนักบรรทุกจร 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไปโดยเฉพาะเสาต้นมุมของอาคาร และสำหรับแผ่นพื้นที่มีความหนาน้อยกว่า 14 เซ็นติเมตรทุกกรณีจะต้องใช้ Drop Panel โดยจะเริ่มเสริมที่ช่วงเสาด้านนอกของแผ่นพื้นจากนั้นนำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนาย ผลการศึกษาได้สมการทำนายที่มี R2 = 0.74 ถึง 0.97 และมีความคลาดเคลื่อนของการทำนายความหนา -1.27 ถึง 1.50 เซ็นติเมตร
  • รายการ
    การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนท์อีลีเมนท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556-08-07) ธนัญกรณ์ ต่อศิริสกุลวงศ์
    งานวิจัยนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเส้น แบบหล่อ และ ค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่ความหนา น้ำหนักบรรทุกจร กำลังอัดประลัยของคอนกรีต ระยะช่วงเสา และลักษณะการจัดตำแหน่งเสาต่าง ๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาทั้งหมด 3 กรณีคือ (1) สี่เหลี่ยมจัตุรัส (2) สี่เหลี่ยมผืนผ้าอัตราส่วนช่วงสั้นต่อช่วงยาว 0.5 และ 0.75 (3) ซิกแซกโดยมีระยะเยื้อง 1 และ 2 เมตร น้ำหนักบรรทุกจร 200 300 และ 400 kg/m2 ระยะช่วงเสา 6 7.5 และ 9 เมตร กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 320 และ 400 kg/cm2 และ ได้ทดลองออกแบบแผ่นพื้นในแต่ละกรณีศึกษาที่ความหนาต่างๆ กันรวมทั้งหมด 360 กรณี เพื่อหาความหนาที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างต่ำสุด โดยในการออกแบบกำหนดให้เพิ่มความหนาแป้นหัวเสา ตรงเสาต้นที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้วิศวกร และผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และ เป็นแนวทางการออกแบบเบื้องต้น จากการศึกษาในครั้งนี้ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ = 0.84 ถึง 0.98 และได้อัตราส่วนช่วงเสาต่อความหนาของแผ่นพื้น มีค่าเท่ากับ L/44 L/54 และ L/49 สำหรับสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และ ซิกแซก ตามลำดับ
  • รายการ
    เครื่องช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ขณะจอดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
    (2551-02-25T08:10:45Z) ธนนท์, ศรีลัด; อนุรักษ์, วงศ์ทอง; อนุรักษ์, ขำแช่ม; กีรติ ชยะกุลคีรี
    เครื่องช่วยลดอุณหภูมิภายในรถยนต์ขณะจอดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 1. ผลการประกวดโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7 ประจำปี 2550 ซึ่งในระดับภูมิภาค (ภาคกลาง) มีโครงงานเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 71 โครงงาน โดยในสาขาเทคโนโลยีมี 21 โครงงาน โครงงานนี้ได้ผ่านการคัดเลือกภาคกลางเป็น 1 ใน 5 โครงงานไปประกวดระดับประเทศรอบสุดท้าย นักศึกษาได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท 2. ผลการประกวดโครงการ “ค่ายนักประดิษฐ์รุ่นใหม่” ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2551โครงงานนี้ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย และได้นำผลงานร่วมแสดง ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 โดยได้รับถ้วยรางวัล และนักศึกษาได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท และใบประกาศนียบัตร
  • รายการ
    ชุดควบคุมแสงสว่างหลอดฟลูออเรสเซนต์อัตโนมัติ
    นพดล, แสงแดง; ชาญณรงค์, เกษรมาลา; ทัศเทพ, ยอดไทย; กีรติ ชยะกุลคีรี
    โครงงานได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2549 วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2549 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ชาติ (โครงงานนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการ IPUS โดยร่วมกับบริษัท ซิสเทค ออดิโอ แอนด์ วิช่วล จำกัด) โครงงานนี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อควบคุมบัลลาสต์อิเลคทรอนิกส์ ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้สามารถหรี่ระดับของแสงสว่างได้โดยอัตโนมัติ เป็นการสะดวกที่ไม่จำเป็นที่ต้องทำการหรี่แสงเองทุกครั้งที่แสงสว่างจากภายนอกเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ครั้ง ในโครงงานนี้จะใช้ชุดตรวจจับแสงสว่างเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมแสงสว่างให้เปลี่ยนแปลงอัตโนมัติ โดยแสงสว่างของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะเปลี่ยนแปลงตามค่าแสงสว่างจากภายนอก โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมวงจรปรับแสงสว่างอัตโนมัติ จากการทดลองพบว่าการใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นจะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้โดยใช้แสงสว่างจากภายนอกทดแทน