ประชาสังคม เครือข่าย และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2550

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

Journal of Architectural/Planning Research and Studies

เชิงนามธรรม

เป็นเวลากว่าสองปีภายหลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนหลาย จังหวัดบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย พื้นที่ชุมชนบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย อย่างรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีหลายองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศได้หยิบยื่นความช่วยเหลือในหลายด้าน อาทิ ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาชีพ การเยียวยาสภาพจิตใจ ฯลฯ ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูในช่วงแรกเป็นไปอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาเฉาะหน้า โดยขาดการประสานงาน ตลอดจนการบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จนเมื่อเหตุการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะ ปกติ ได้มีความพยายามที่จะกำหนดแผนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านน้ำเค็มอย่างมียุทธศาสตร์รอบด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการท่องเที่ยว ด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนถึงด้านสิ่งแวดล้อม จากหลายหน่วยงานภาครัฐที่ (พยายาม) เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ที่ผ่านมานั้นขาดการมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมและ ชุมชนเจ้าของพื้นที่ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานรัฐท้องถิ่นอย่างเพียงพอ จนทำให้เกิดการหยิบยกประเด็นเรื่องการกำหนดแผนพัฒนา พื้นที่ชุมชนบ้านน้ำเค็มขึ้นในส่วนขององค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ บทความนี้ได้อภิปรายกระบวนการและผลการศึกษาผ่านปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของคณะผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์ สามประการที่จะสะท้อนให้เห็นกระบวนการการสร้างกรอบแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ชุมชนบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา โดยประการแรก เพื่อเผยให้เห็นการทำงานในระดับโครงสร้างและระดับปฏิบัติการทั้งของหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรภายนอกที่มี ส่วนในการพัฒนาพื้นที่ที่ผ่านมาในด้านหนึ่ง ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งเพื่อเผยให้เห็นถึงกระบวนการชุมชน เครือข่ายชาวบ้านภาค ประชาสังคมที่ทำงานคู่ขนานกันกับส่วนแรก ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์ สะท้อน ตลอดจนเผยให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนในระดับกลไกต่อการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านน้ำเค็ม โดยในประเด็นนี้คณะผู้เขียนจักอภิปราย มิติของการแย่งชิงวาทกรรมทางการเมืองเสริมแทรกด้วย และประการสุดท้าย เพื่ออภิปรายผลของการมีส่วนร่วมของภาคประชา สังคม ซึ่งพบว่ากระบวนการประชาสังคมในช่วงเวลาที่ทำการศึกษายังไม่อาจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงการพัฒนาพื้นที่ในระดับ นโยบายได้ แต่ได้พบองค์ประกอบสำคัญบางประการที่ประกอบกันทำให้เกิดการก่อรูปของกระบวนการระดับรากหญ้าที่สามารถ Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 5. Issue 2. 2007 4 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายได้เป็นอย่างสูง คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งให้บทความชิ้นนี้เป็นหนึ่ง ในกรณีศึกษาที่มาจากประสบการณ์จริงภาคสนาม ซึ่งเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ในศาสตร์การวางแผน (Planning studies) โดยเฉพาะการวางแผนจากล่างขึ้นบน (Bottom-up planning approach)

คำอธิบาย

คำหลัก

พื้นที่ประสบภัยสึนามิ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การวางแผนจากล่างขึ้นบน, แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ, การเมือง

การอ้างอิง

คอลเลคชัน