ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาMGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการ
กำลังโหลด...
วันที่
2553
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษาของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชา MGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนของนักศึกษา ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือชนิดวิธีการเรียนแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่ม
ร่วมมือ ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในระหว่างเรียน และสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ หลังการทดลอง จากนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)ของคะแนนการทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย และค่านัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบ หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน หาค่าเฉลี่ย
(Mean) ของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินความคิดเห็นในภาพรวม
ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาสัมฤทธิ์ผลในการเรียนโดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05
2. พฤติกรรมการร่วมมือในการเรียนของนักศึกษาที่ใช้วิธีเรียนแบบ แบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากระดับน้อยไปเป็นระดับดี แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านพฤติกรรม
การให้ความร่วมมือในการเรียนของนักศึกษา
3. ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความคิดเชิงบวกที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ
คำอธิบาย
คำหลัก
การเรียนแบบร่วมมือ, Cooperative learning