S_CHO-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์(2562-03-08) ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์การวิจัยในครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความตัง้ ใจของผู้บริโภคต่อการใช้เว็บไซต์เพื่อ เป็ นข้อมูลในการตัดสินใจซือ้ สินค้าและบริการ และเพื่อทดสอบปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคใช้เว็บไซต์ สืบค้นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซือ้ สินค้าและบริการ โดยใช้แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีการ ปฏิบัติตามแผน (Theory of Reasoned Action: TRA) และตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) มาเป็นตัวแปรหลักในกรอบแนวคิดของการศึกษา นอกจากนียั้งพิจารณาปัจจัยด้านความเชื่อมั่นต่อเว็บไซต์ เป็นตัวแปรหลักด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาคือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบ สอบถาม (Self- Administered- Questionnaire: SAQ) โดยการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 1,465 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอย (Correlation and Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ตัวแปรที่มีระดับความสัมพันธ์กับความ ตัง้ ใจในการซือ้ สินค้าและบริการผ่านเว็บไซต์อย่างมีนัยสำคัญคือการคล้อยตามสิ่งอ้างอิง ความ ไว้วางใจต่อเว็บไซต์ เจตคติที่มีต่อเทคโนโลยี การรับรู้ว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ และการรับรู้ว่า อินเทอร์เน็ตง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนีก้ ารศึกษานียั้งสร้างตัวแบบในการอธิบายพฤติกรรม ความตั้งใจในการซื ้อสินค้าและบริการผ่านเว็บไซต์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะมีประโยชน์ต่อ ผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างรูปแบบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จรายการ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร(2562-03-07) ปิ่นปินัทธ์ สัทธรรมนุวงศ์กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร เป็นการวิจัยแบบผสมสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารผ่านกระบวนการและขั้นตอนการสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร และ 4) เพื่อพัฒนาแบบจาลองกลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยีกลุ่มการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ กลยุทธ์ด้านผู้บริหาร กลยุทธ์ด้านเนื้อหาการสื่อสาร กลยุทธ์ด้านเครื่องมือและวิธีการสื่อสาร และกลยุทธ์ด้านพนักงาน สาหรับกระบวนและขั้นตอนการสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร เป็นการสื่อสาร แบบหลายช่วง โดยมี 6 องค์ประกอบสาคัญในการทาให้การสื่อสารประสบความสาเร็จ คือ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแบรนด์ ผู้รับสาร และปฏิกิริยาตอบกลับนอกจากเป็นการสื่อสารจากบนลงล่าง และการสื่อสารจากล่างขึ้นบนแล้ว การสื่อในแนวราบ (Horizontal Communication) ถือว่าเป็นจุดเด่นของการสื่อสารที่ทาให้การสร้างพนักงานเป็นแบรนด์ องค์กรประสบความสาเร็จ สาหรับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแบรนด์แบ่งเป็น 2 ส่วน ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร ซึ่งปัจจัยภายในองค์กรมีผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารมากกว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ในส่วนประสิทธิผลของกลยุทธ์การสื่อสาร พบว่าการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการเปิดรับสื่อตามรูปแบบหรือกิจกรรมการสื่อสารของพนักงานเกี่ยวกับแบรนด์องค์กรอยู่ในระดับมาก สาหรับความคิดเห็นของพนักงานต่อข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อความเป็นแบรนด์องค์กร และการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับพนักงานจากสัญลักษณ์ขององค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่ในระยะเวลา 5 ปี พนักงานไม่คิดเปลี่ยนงาน ซึ่งการสร้างพนักงานให้เป็นแบรนด์องค์กรปฏิเสธไม่ได้ว่า ทักษะพื้นฐานของพนักงานที่ทาให้การสร้างพนักงานเป็นแบรนด์ให้ประสบความสาเร็จ ได้แก่ บุคลิกลักษณะ และปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นคุณสมบัติของผู้รับสารที่ดีที่ทาให้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กรประสบผลสาเร็จนอกจากนี้ความเป็นองค์กรที่มีอายุยาวนาน การสื่อสารออกไปยังภายในองค์กร คือ ความจริงที่ตอกย้าสร้างความมั่นใจองค์กร ของผู้รับสาร ในทางกลับกันองค์กรที่มีอายุองค์กรน้อย การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หน้าที่ หรือคุณประโยชน์ เพื่อสร้างฐานการรับรู้และตอกย้าแบรนด์นับเป็นสิ่งสาคัญในการสร้างแบรนด์รายการ แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตของอุตสาหกรรม อาหารกระป๋องของประเทศไทย(2562-03-07) จิรพงษ์ จันทร์งามการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการหรือผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในประเทศไทย จำนวน 242 คน จากธุรกิจอาหารกระป๋องในประเทศไทย 242 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติไคสแควร์ ค่าชั้นแห่งความเป็นอิสระ (2/df) มีค่าเท่ากับ 1.363 ซึ่งน้อยกว่า 3 ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดัชนีกลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 0.90 พบว่าดัชนีทุกตัว ได้แก่ GFI = 0.958, AGFI = 0.917, CFI = 0.992 จะผ่านเกณฑ์ ดัชนีกลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 พบว่าดัชนีทุกตัว ได้แก่ PGFI = 0.584 ดัชนีที่กำหนดไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 พบว่าดัชนี RMR = 0.037 และ RMSEA = 0.042 ผ่านเกณฑ์เช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าโมเดลสมการโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องของประเทศไทย ที่พัฒนาขึ้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณว่า การดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทยมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อประสิทธิภาพของสภาวะการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทยที่ส่งผลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจในระยะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)