TLC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
  • รายการ
    การพัฒนาหลักสูตรต้นแบบ สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้านการสอน สู่มืออาชีพ
    (การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 “ทิศทางการศึกษาไทยเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล”, 2567-02) สิรินธร สินจินดาวงศ์; กรกฎ ผกาแก้ว; ภาณุเดช ประทุมมา
    วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) ด้านการสอนของอาจารย์ใหม่ 2) เพื่อ พัฒนาหลักสูตร สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการสอนตามแนวทางอาจารย์มืออาชีพ กลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์ที่ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ปีการศึกษา 2566จำนวน 33คน โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) และหลักสูตร พัฒนาอาจารย์ใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมีความมั่นใจระดับมาก (x̅ = 4.33, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านความพร้อม อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.40, S.D. = 0.59) ด้านความรู้ (x̅ = 4.33, S.D. = 0.68) และด้านทักษะการสอน (x̅ = 4.25, S.D. = 0.66) ตามลำดับ 2) หลักสูตร สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่โมดูล 1 องค์ความรู้ (Knowledge) โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้และการสอน (Active Learning & Teaching) โมดูล 3 การพัฒนาคุณค่า อาจารย์ (Value Teacher) และโมดูล 4 การมุ่งเน้นผู้เรียน (Student Focus) ลักษณะการจัดการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ประกอบด้วยโค้ช หรืออาจารย์พี่เลี้ยง และการเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนรู้ในหลาย รูปแบบ ร่วมกับการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า และมีการฝึกอบรมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มีกระบวนการที่ยืดหยุ่น ระยะเวลาในการพัฒนา 2 ภาคการศึกษา
  • รายการ
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่.
    (การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ: การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดโดยอนุกรรมการสาขาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ Kensington Garden Resort Khaoyai อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา, 2562-02-09) สิรินธร สินจินดาวงศ์ เกรียงไกร สัจจะหฤทัย และกิตติภูมิ มีประดิษฐ์
    การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการบูรณาการเนื้อหาการควบคุมยาสูบในการเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน 2) ศึกษาการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร ที่ส่งเสริมสุขภาพและปลอดยาสูบโดยการมีส่วนของนักศึกษาและบุคลากร 3) ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ และ4) กำหนดรูปแบบการพัฒนาการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ขอบเขตการวิจัย การบูรณาเนื้อหาการควบคุมยาสูบในการเรียนการสอนรายวิชา GSC154 วิทยาศาสตร์และสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ภาคการศึกษาที่ 1/2560 นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรและบุคลากร จำนวน 300 คน ผู้บริหารเสนอแนะ จัดรูปแบบการพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการบูรณาการสอนรายวิชา GSC154 วิทยาศาสตร์และสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เกี่ยวกับการดูแลสภาพแวดล้อมผลกระทบจากธรรมชาติ และมีผลงานคือ บอร์ดรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่ และ VDO ในรูปแบบ YouTube 2. ผลการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร ที่ส่งเสริมสุขภาพและปลอดยาสูบโดยการมีส่วนของนักศึกษา และบุคลากร มีการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ภายในมหาวิทยาลัย 3. ผลการติดตาม ประเมินผลตามข้อบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีผลการประเมิน 92.91 คะแนน 4. กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทีส่งเสริมมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ 5 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดนโยบายการบูรณาการความรู้ด้านการควบคุมยาสูบในทุกหลักสูตร 2) ด้านวิชาการ สอดแทรกองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันยาสูบในการเรียนการสอนทุกหลักสูตร 3) ด้านกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุน ที่เกี่ยวข้องกับป้องกันยาสูบ และการดูแลและส่งเสริมสุขภาพให้คำปรึกษาชี้แนะให้เลิกสูบบุหรี่ 4) การเผยแพร่ความรู้และการจัดบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์เชิญชวนลด ละ เลิกบุหรี่ และให้ความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Social Media 5) การประเมิน การตรวจกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่