การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบหน่วยย่อยสามารถออกแบบร่วมกันอย่างอิสระ กรณีศึกษาการจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในพื้นที่ชนบท
กำลังโหลด...
วันที่
2561
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
งานวิจัยนี้เป็นการแก้ไขปัญหาของระบบการจัดเก็บข้อมูล การให้บริการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท
เนื่องจาก 1) ขาดการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน 2) ผู้รับบริการเป็นบุคลไร้สัญชาติ ทำให้มีความยากการสืบค้น
ประวัติและข้อมูลการรักษาที่เป็นปัจจุบัน และ 3) พื้นที่ให้บริการเป็นชุมชนชนบทไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยของหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่
ชนบท ตามความต้องการของหน่วยงาน คือ 1) แต่ละหน่วยงานสามารถออกแบบฐานข้อมูลร่วมกันได้อย่างอิสระ
และข้อมูลต้องครอบคลุมในเนื้อหาของทุกหน่วยงาน 2) ระบบฐานข้อมูลกลางต้องสามารถเชื่อมต่อและปรับปรุง
ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างอัตโนมัติ และ 3) ระบบเจ้าหน้าที่ต้องมีความง่ายในการทำความเข้าใจในการใช้งาน
ผลการวิจัยระบบต้นแบบซอฟต์แวร์พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านการทำงานได้ตาม
ฟังก์ชันงานของระบบอยู่ในระดับดี ( X =4.28) และความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านความง่ายต่อการใช้
งานระบบอยู่ในระดับปานกลาง คือ ( X =3.42)
คำอธิบาย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.(บทความ)
คำหลัก
ฐานข้อมูล, การจัดเก็บข้อมูล, การแพทย์
การอ้างอิง
เศรษฐชัย ใจฮึก, และสุรศักดิ์ มังสิงห์. 2561. "การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบหน่วยย่อยสามารถออกแบบร่วมกันอย่างอิสระ กรณีศึกษาการจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในพื้นที่ชนบท." การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 : 2558 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.