สมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการภายหลังการ ฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-08

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของพนักงานระดับ ปฏิบัติการภายหลังการฝึกอบรม 2) เพื่อศึกษาถึงระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการภายหลังการฝึกอบรม 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานระดับปฏิบัติการภายหลังการฝึกอบรมจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบ ระดับของสมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการภายหลังการฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็ นพนักงานช่างใหม่ที่ผ่านการฝึ กอบรมหลักสูตร พนักงานช่างใหม่ (ช่างแก้ไฟฟ้าขัดข้อง) ประจาปี 2559 จานวน 240 คน ที่ประจาอยู่สานักงานการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จา นวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรส่วน 5 ระดับโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การ ทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะภายหลังการฝึกอบรม ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความเป็นผู้นา ด้านการจัดการความรู้ และด้านจรรยาบรรณ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.84, SD = .48) 2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้าน วิธีการปฏิบัติงาน ด้านเวลา และด้านต้นทุน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.91, SD = .49) 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพและอายุที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ระดับสมรรถนะด้านทักษะ การ จัดการความรู้ และจรรยาบรรณ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำอธิบาย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรขตชลบุรี

คำหลัก

การฝึกอบรม, สมรรถนะการทำงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

การอ้างอิง