การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา กรณีศึกษา : ผู้ผลิตไม้ยางพาราแปรรูป

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตทุกประเภทกำลังเผชิญกับการแข่งขันทางด้านการผลิตเป็นอย่างสูง ผู้ประกอบการธุรกิจทุกระดับต้องพบกับคู่แข่งการค้าเสรีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และต้องคำนึงถึงการลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป เพื่อค้นหาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา และเพื่อหาแนวทางการลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา : กรณีศึกษา ABC โดยการจัดสมดุลสายการผลิตและลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อตัวผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น ความสูญเปล่าของการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การเคลื่อนไหวที่เกินจำเป็น ความสูญเปล่าเนื่องจากงานเสีย (Defect) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้โรงงานกรณีศึกษามีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากชั่วโมงงานที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงงมุ่งเน้นการหาแนวทางลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบ Lean ตามหลักการของ ECRS

คำอธิบาย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คำหลัก

แนวคิด Lean, ลดความสูญเปล่า, ECRS

การอ้างอิง

อัมพวรรณ หนูพระอินทร์. 2561. "การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา กรณีศึกษา : ผู้ผลิตไม้ยางพาราแปรรูป." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.