การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์
กำลังโหลด...
วันที่
2563
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
วิทยานิพนธ์บับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์และเพื่อการพัฒนาระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 206 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้พัฒนาคุณภาพ กลุ่มนักศึกษา/ผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอน และกลุ่มผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเพื่อการยืยยันตัวชี้วัด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ มี 4 มิติ 35 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย มิติคุณภาพด้านโครงสร้าง 22 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการศึกษา 6 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการเรียนการสอน 4 ตัวชี้วัด และมิติคุณภาพด้านเทคโนโลยี 3 ตัวชี้วัด ระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ สามารถประเมินคะแนนตามตัวชี้วัดแต่ละมิติ สามารถวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และบอกจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนาและจุดที่ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ระบบสามารถให้คำแนะนำ โดยแสดงรายละเอียดตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) นอกจากนี้ระบบยังสามารถรายงานผลคะแนนประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ เพื่อให้ทราบถึงระดับประสิทธิภาพขิงเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ รวมไปถึงคำอธิบายลักษณะของระดับคุณภาพที่ได้ และส่วนที่ควรมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
คำอธิบาย
ตาราง
คำหลัก
เลิร์นนิงอ็อบเจกต์, มิติคุณภาพ, ตัวชี้วัดคุณภาพ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ระบบประเมินคุณภาพ
การอ้างอิง
สาวิตรี จูเจี่ย. 2560. "การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.