การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563-10

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาจุฬานาครทรรศน์

เชิงนามธรรม

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 260 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ได้ทำการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha มีค่า α มากกว่า 0.7ซึ่งหมายความว่า ข้อคำถามมีความเชื่อมั่น สถิติพรรณนาที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทุนจด ทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ประกอบกิจการมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน20 ปี และมีจำนวนพนักงานน้อยกว่าหรือเทียบเท่า 50 คน และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(ROA) ส่วนใหญ่เท่ากับ 0.21 – 0.40 ขณะที่อัตราส่วนการทำกำไร (Net Profit Margin) ส่วนใหญ่เท่ากับ 6% – 10% และอัตราการใช้ประโยชน์จากความสามารถของกำลังการผลิต (Capacity Utilization) ส่วนใหญ่เท่ากับ 68% – 75% ทำให้ทราบถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ ผลการดำเนินงานทางการเงินสามารถวัดได้จากรายได้จากการดำเนินงานรายได้ หรือกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หรือยอดขายรวม นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนอาจต้องการมองลึกเข้าไปในด้านการเงิน ซึ่งนักวิเคราะห์และนักลงทุนอาจมองลึกลงไปถึง งบการเงินและอัตราการเติบโตเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เพื่อใช้ในการตัดสินใจ และกำหนดนโยบายการบริหารงานของวิสาหกิจ เพื่อสามารถได้เปรียบคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำอธิบาย

คำหลัก

ผลการดำเนินงาน, อัตราส่วนทางการเงิน, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

การอ้างอิง