การพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้ต้องขังในเรือนจำโดยกิจกรรม”ปั้นดิน”สู่โลกหลังกำแพง
กำลังโหลด...
วันที่
2565-03-20
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
เชิงนามธรรม
พระพุทธปฏิมาเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธเป็นการเชื่อมโยงจิตใจให้น้อมนำไปทางใฝ่จิตที่เป็นกุศการทำความดี การได้มีส่วนร่วมหรือการสร้างพระพุทธรูปที่เป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการกระทำที่มีกุศลและได้บุญจากการสร้างองค์พระ จากการได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์พระไม่ว่าจะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมก่อเกิดผลทั้งทางรูปธรรมและทางนามธรรมใน ทางรูปธรรมคือการได้องค์พระพุทธรูป ทางนามธรรมคือความสุขทางใจที่ได้รับและการมีสมาธิจากการที่ได้ลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งงานพุทธศิลป์ในการสร้างองค์พระปฏิมานั้นได้ไปทดลองกับผู้ที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางการปฏิบัติงานด้านนี้มาก่อนได้แก่ผู้ต้องขังชั้นดีในเรือนจำจากการสมัครและได้ผู้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีกระบวนการในการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังผ่านการปฏิบัติงานทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จนสำเร็จลุล่วงได้ชิ้นงานที่ผู้ต้องขังได้ร่วมกันกันก่อเกิดความภาคภูมิใจและการเห็นคุณค่าของตนเองและบุคคลอื่นจากชิ้นงานที่ได้มาสู่การเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ในกิจกรรม นิทรรศการ "จากมือที่เปื้อนบาปสู่มือที่ปั้นบุญ" ทำให้เกิดความสนใจจากจากบุคคลและหน่วยงานภายนอกที่จะขยายผล จากกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้ต้องขังในเรือนจำโดยกิจกรรม”ปั้นดิน” ซึ่งมีการขยายผลต่อยอดอบรมให้กับผู้ที่สนใจภายนอกที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและอบรมเพิ่มเติมระยะสั้น ณ.ทัณฑสถานหญิงกลางขอนแก่นรวมถึงกลุ่มครูอาจารย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานวิจัยของหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จากกระบวนการดังกล่าวอนุมานได้ว่าการสร้างงานปั้นดิน(ปฏิมากรรม)นั้นเป็นการพัฒนาคุณภาพจิตใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าในตัวเองและมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางบวกมากขึ้น และยังก่อให้เกิดความสงบ และมีสมาธิเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่ไปในทางบุญจากการที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
คำอธิบาย
-
คำหลัก
กระบวนการพัฒนาจิตใจ, พระปฏิมา, พุทธศิลป์
การอ้างอิง
http://lpn.mcu.ac.th/mculpn/?page_id=3462