การสร้างเครือข่ายนวัตกรรมทางสังคมผู้สูงวัย ด้วยชุมชนเป็นฐานราก: กรณีศึกษา ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
กำลังโหลด...
วันที่
2566-09
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
วารสารราชพฤกษ์
เชิงนามธรรม
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้บริบทพื้นที่ สังคม วัฒนธรรมของผู้สูงวัย 2) สังเคราะห์องค์ความรู้ สังคม วัฒนธรรมของผู้สูงวัย และ 3) สร้างเครือข่ายนวัตกรรมทางสังคมของผู้สูงวัย ด้วยชุมชนเป็นฐานราก ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ลงพื้นที่ศึกษาองค์ความรู้ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะที่ 2 สังเคราะห์องค์ความรู้ สังคม วัฒนธรรม จากปราชญ์ชาวบ้าน ระยะที่ 3 การสร้างเครือข่ายนวัตกรรมทางสังคมของผู้สูงวัย จากตัวแทนผู้สูงวัย และเยาวชน โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่หรือแบบก้อนหิมะ
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้บริบทพื้นที่ สังคม และวัฒนธรรม แบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้าน
อาหารและสุขภาพ ด้านศิลปหัตถกรรม ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ด้านเกษตรกรรม และด้านวิถีชีวิตชุมชน 2) ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ บริบทพื้นที่ สังคม วัฒนธรรม โดยการใช้แนวคิด P.O.I.N.T พบว่า 2.1) ปัญหา (P) ขาดเวทีในการแสดงศักยภาพของผู้สูงวัย 2.2) โอกาส (O) มีเครือข่ายของผู้สูงวัยในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา 2.3) ข้อมูลเชิงลึก (I) ผู้สูงวัยในชุมชนขาดปฏิสัมพันธ์กัน 2.4) ความต้องการ (N) พื้นที่ในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย 2.5) ประเด็นที่น่าสนใจ (T) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยคนในพื้นที่ 3) ผลการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมทางสังคมของผู้สูงวัย ได้ช่องทางสื่อสารเครือข่ายนวัตกรรมทางสังคมของผู้สูงวัยด้วยชุมชนเป็นฐานรากอย่างยั่งยืน
คำอธิบาย
คำหลัก
การสร้างเครือข่าย, นวัตกรรมทางสังคม, ผู้สูงวัย
การอ้างอิง
21(3) ก.ย.-ธ.ค. 2566