ปัญหาการออกโฉนดที่ดินในเขตหวงห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ข้อ 14
dc.contributor.author | จักรกฤษ แก้วหอมคำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2554-09-03T07:22:03Z | |
dc.date.available | 2554-09-03T07:22:03Z | |
dc.date.issued | 2554-09-03T07:22:03Z | |
dc.description.abstract | การออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งในปัจจุบันคือโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีวัตถุประสงค์ตรงกันในการให้รัฐเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ให้กับประชาชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยเร่งด่วน เพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของที่ดิน เป็นการป้องกันการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินและเพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการประกอบอาชีพและการขอสินเชื่อของประชาชน แต่ด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ประกอบกับกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาในการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชน ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาปัญหาการออกโฉนดที่ดินในเขตสงวนหวงห้าม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าว ตามข้อ 14 กำหนดเงื่อนไขเด็ดขาดว่าห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินในที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่เขา ที่ภูเขา พื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา 9(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่เกาะ และที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 (ที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 หรือตามกฎหมายอื่นก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ) ที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 20 (3) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาเพื่อจัดให้แก่ประชาชน) ที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 20 (4) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครองที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน) และที่หวงห้ามตามกฎหมายอื่นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่น เช่น ป่าชายเลน ป่าไม้ถาวร จึงเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองที่ดินในบริเวณดังกล่าว ก่อนมีการประกาศสงวนหวงห้ามโดยชอบด้วยกฎหมายและมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการออกโฉนดที่ดินได้ ต้องประสบปัญหาความเดือดร้อนจากความล่าช้าของขั้นตอนและกระบวนการในการออกโฉนดที่ดินในบริเวณสงวนหวงห้าม ซึ่งมีอยู่หลายประการด้วยกัน จนเป็นเหตุให้ราษฎรเกิดความไม่เข้าใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานที่ดินและนำไปสู่ปัญหาการร้องเรียนตลอดจนมีกรณีพิพาทกับทางราชการ ประกอบกับบางพื้นที่ที่รัฐได้ประกาศกำหนดเขตสงวนหวงห้ามไว้แล้วแต่ทางราชการมิได้ทำประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการประกาศสงวนหวงห้ามไว้จนมีราษฎรเข้าครอบครองใช้สอยในที่ดินนั้นเป็นเวลานาน จนกลายเป็นชุมชน หรือเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกินจึงสมควรมีกฎหมายกำหนดวิธีการยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินของทางราชการที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เข้าครอบครองที่ดินได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นการกระจายการ ถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และเป็นหลักประกันในการดำรงชีพของราษฎรต่อไป | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2605 | |
dc.subject | โฉนดที่ดิน | en_US |
dc.subject | เขตหวงห้าม | en_US |
dc.subject | หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน | en_US |
dc.subject | กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) | en_US |
dc.title | ปัญหาการออกโฉนดที่ดินในเขตหวงห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ข้อ 14 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: