การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตอาหาร

dc.contributor.authorอภิรักษ์ สวัสดิ์กิจen_US
dc.contributor.authorทีปกร คุณาพรวิวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2562-06-30T02:04:53Z
dc.date.available2019-06-30T02:04:53Z
dc.date.issued2562-06-28
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการประหยัดพลังงานโดยการใช้ระบบทำน้ำเย็นแบบดูดกลืนในโรงงาน แปรรูปอาหาร ประเภทไส้กรอก และเบคอน ซึ่งมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 2,200 ตันต่อปี ชั่วโมงการทำงาน 3,720 ชั่วโมงต่อปี เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานความร้อนผลิตน้ำเย็นในระบบปรับอากาศของโรงงาน ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการหาศักยภาพทางเทคนิคของระบบการผลิต ซึ่งพบว่าการปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำร้อนจากการใช้ไอน้ำผสมโดยตรงสามารถเปลี่ยนเป็นการคายความร้อนผ่านขดท่อทำให้มีคอนเดนเสทเหลือพอที่จะนำไปใช้ในเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน โดยไม่ส่งผลกระทบกับกระบวนการผลิต การประเมินทางเศรษฐศาสตร์พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปีละ 2,661,028 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 1.33 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 27 ต่อปี หากไม่คิดมูลค่าซากของเครื่องทำน้ำเย็นเดิมจะมีระยะเวลาคืนทุน 1.93 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเป็นเพราะการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ซ้ำและค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโรงงานสูงถึง 4.11 บาทต่อหน่วย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับโรงงาน ผลของการศึกษานี้จะเหมาะกับโรงงานที่มีความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และในปัจจุบันภาครัฐฯมีเงินสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นเงินช่วยเหลือให้เปล่าร้อยละ 20 หรือ 30 สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผลตอบแทนดีซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้นen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6306
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectโรงงานแปรรูปอาหาร ระบบทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน คอนเดนเสทen_US
dc.titleการประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตอาหารen_US
dc.typeArticleen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
PAPER 1 ILI 2019.pdf
ขนาด:
38.54 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: