หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

Sripatum University

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการใช้ธรรมาภิบาลในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ 3) พัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประชากรสัมภาษณ์ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) รองประธานสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คน 2) ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 15 คน 3) กลุ่มผู้บริหารระดับล่างที่มีผลผูกพันต่อการดำเนินงาน จำนวน 12 คน และ 4) กลุ่มนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนด้านธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 30 คน การสัมภาษณ์ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่มีคำถาม และข้อกำหนดแน่นอนตายตัวโดยใช้แบบสัมภาษณ์ชุดเดียวกันในทุกกลุ่มตัวอย่าง และมีการรับฟังความคิดเห็น (Hearing) เพื่อยืนยันผลการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นรูปแบบหลักการบริหารกิจการที่ดีของรัฐสภาที่จะนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นหลักธรรมาภิบาลสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่มีความเหมาะสมในการบังคับใช้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณหาค่าเฉลี่ยและค่าความถี่ และวิเคราะห์เชิงคุณภาพในเนื้อหา

คำอธิบาย

ตารางและรูปภาพประกอบ

คำหลัก

ธรรมาภิบาล, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

การอ้างอิง

ณัฏฐกานต์ เวชพันธ์. 2563. "หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.