LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศุนงค์นุช ศรีวิพันธ์จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ครั้งต่อมาปี พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2557, พ.ศ. 2560 และ การสำรวจในปี พ.ศ. 2564 นี้ นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 7 ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged Society) มานานมากกว่า 10 ปี ซึ่งหมายถึงการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า (Super Aged Society) เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงขึ้นถึงร้อยละ 20) ต่อไปรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธีรวัฒน์ วีระวัฒน์การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (2) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (3) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย (4) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เปมิกา วิวัฒนพงศ์พันธ์การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของระหว่างประเทศต่างประเทศ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (4) การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งอาจารย์ในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วัฒนา คณาวิทยาการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (4) แนวทางจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อนุราช เพิ่มสินการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (4) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มรายการ การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อัษฎางค์ เชี่ยวธาดาการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทย (3) การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ (4) แนวทางการพัฒนาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มรายการ การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาค 2(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปภิณวิช รอดบางยางการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาค 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิจัยหลักการ ทฤษฎี และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 (2) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพการณ์ของปัญหาและผลกระทบการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 (3) ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ของต่างประเทศ (4) จัดทำรูปแบบโปรแกรมการป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับรถยนต์ในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต(Sripatum University, 2567) นิติ เนื่องจำนงค์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ทางวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูงและผู้แทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลในเชิงนโยบาย นักวิชาการในระดับโรงเรียนแพทย์ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และ นักกฎหมายมหาชนรายการ ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการป่าชายเลน(Sripatum University, 2567) ศิริชัย กุมารจันทร์ทรัพยากรป่าชายเลน เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชนและยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด แต่ในปัจจุบันพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกและใช้พื้นที่ทำประโยชน์อื่น ๆ ทำให้ทรัพยากรป่าชายเลนลดน้อยลง การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืนโดยการจัดทำเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการป่าชายเลน โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบในการบริหารจัดการป่าชายเลน (2) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลน (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการป่าชายเลน วิทยาการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเจาะจงรายการ การพัฒนากฎหมายว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของโครงสร้างหน้าที่และอำนาจของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏตามหลักธรรมาภิบาล(Sripatum University, 2567) เกรียงศักดิ์ โชควรกุลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลและทฤษฎีของสภามหาวิทยาลัย 2) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากการประกาศใช้หน้าที่และอำนาจของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 3) ศึกษาหน้าที่และอำนาจและความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และ 4) การพัฒนากฎหมายว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ำของโครงสร้างหน้าที่และอำนาจ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มรายการ การพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ณยศ วิจารณ์ภูธรการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มบทบัญญัติกฎหมายให้มีการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า เด็กเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกละเมิดสิทธิของเด็กหลายประการที่แฝงด้วยการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กอยู่ด้วย แต่ก็ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้และแม้จะได้มีกฎหมายคุ้มครองเด็กหลายฉบับ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและป้องกันแก้ไขปัญหาการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโครงสร้างกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติม ประกอบด้วย คำนิยาม องค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก มาตรการในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก มาตรการในการฟื้นฟูและเยียวยาเด็กซึ่งถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่มีบทบัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กจากผลการวิจัยนี้ไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเพื่อที่จะทำให้ผู้ละเมิดได้รับโทษรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) เลิศ เทือกแสงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณณา ผลการวิจัยพบว่า สัตว์พันธุ์พื้นเมืองของไทยมีปัญหาการสูญพันธ์ และกลายพันธุ์ ที่ต้องคุ้มครองเพื่อเป็นสัตว์เอกลักษณ์ของไทย โดยใช้กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย คำนิยามคณะกรรมการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขอใช้ประโยชน์จากสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขออนุญาตและให้ใบอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง และ บทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอกฎหมายต้นแบบนี้ต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของสัตว์พันธุ์พื้นเมืองแก่คนไทยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยองค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ศศิร์อร อินโตการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยองค์การอิสระด้านการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการจัดตั้งองค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (2) เพื่อศึกษารูปแบบองค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเปรียบเทียบกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประเทศไทย (4) เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยองค์การอิสระด้านการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า การจัดตั้งและการดำเนินงานขององค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเทศไทยนั้นไม่มีกฎหมายรับรองสถานภาพและกำหนดรูปแบบองค์การอิสระด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างองค์การ การคัดเลือกและคุณสมบัติของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาความเป็นอิสระและความโปร่งใสในการดำเนินงาน และปัญหาความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่กับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ ส่งผลให้การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถคุ้มครองและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57 (2) ได้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กมลยศ พันธุมาศโกมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ติดตัวมาตั้งแต่เกิดซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญแต่ก็ไม่มีการบัญญัติถึงองค์ประกอบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ประเทศไทยมีการบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เมื่อมีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กลับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติองค์ประกอบที่เป็นฐานความผิดเพื่อใช้ในการฟ้องร้องได้ การวิจัยนี้จึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยมีโครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วยคำนิยาม องค์ประกอบความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการใช้บังคับรายการ การพัฒนากฎหมายเพื่อการจัดตั้งแผนกคดีบัญชี ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ณัฐกานต์ มณีรัตน์การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากฎหมายในการจัดตั้งแผนกคดีบัญชีในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ปัญหารูปแบบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามารถนำเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่ทุจริตประพฤติมิชอบในการใช้จ่ายเงินแผ่นดินไปลงโทษได้เนื่องจากขอบเขตแห่งหน้าที่และอำนาจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่ครบวงจรของการตรวจเงินแผ่นดินจึงได้จัดทำกฎหมายจัดตั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใหม่เป็นรูปแบบตุลาการและจัดทำบทบัญญัติเพิ่มแผนกคดีบัญชีในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 เพื่อรองรับการจัดตั้ง การวิจัยเสนอแนะให้นำเอาบทบัญญัติที่ได้เพิ่มเติมแผนกคดีบัญชีในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไปสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และให้ปรับโครงสร้างศาลโดยการเพิ่มแผนกคดีบัญชีขึ้นในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดระเบียบว่าด้วยการเลือกสรรผู้พิพากษาสมทบในแผนกคดีบัญชีรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) สว่าง กันศรีเวียงการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงามหวิทยาลัย ซึ่งมีวัตถุประสงเพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล (2) วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในเรื่องสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และ กฎหมายของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทยให้เกิดความเสมอภาคกัน (3) วิเคราะห์สภาพการณ์การคุ้มครองสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (4) วิเคราะห์รูปแบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่เหมาะสมสำหรับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดในการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยพบว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่เปิดช่องนำหลักการความมีอิสระในการบริหารจัดการมาใช้กับมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารงานด้านบุคลากรจึงให้อำนาจและหน้าที่แก่สภามหาวิทยาลัยในการกำหนดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งพบว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีการกำหนดอัตราสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลแตกต่างกัน ทั้งที่การเข้ามาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของทุกมหาวิทยาลัยถูกกำหนดคุณสมบัติเหมือนกัน จึงเกิดการเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยเดียวกันหรือระหว่างมหาวิทยาลัยทำให้เห็นได้ชัดถึงความไม่เสมอภาค เหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันทั้งที่ต่างก็ทำหน้าที่เหมือนกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการให้ความรู้แก่บุคลากรของชาติ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. .... ซึ่งประกอบด้วย (1) นิยามศัพท์ (2) การศึกษา (3) ความมั่นคงในชีวิต (4) หลักประกันสุขภาพ และ (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานรายการ รูปแบบหลักเกณฑ์การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) วิรยศ เรียมแสนการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องรูปแบบหลักเกณฑ์การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักการและแนวคิด เกี่ยวกับการกำกับดูแลและการกระจายอำนาจ (2) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคด้านการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย (4) จัดทำรูปแบบหลักเกณฑ์การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายรองรับโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเกิดจากการใช้อำนาจกำกับดูแล ทั้งจากองค์กรกำกับดูแลที่อยู่ในระบบการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) และจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาที่เกิดจากบทบัญญัติในกฎหมายรวมถึงจากองค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจากตัวผู้ใช้อำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบด้วย ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการและไม่เกื้อหนุนระบบการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นข้อค้นพบสำคัญของการศึกษาวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กฤตนัย ลิขิตจิตถะการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหารให้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของทหารมีกาพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่ทหารยังขาดการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ ทำให้กฎหมายว่าด้วยวินัยทหารฉบับ พ.ศ. 2476 ไม่ทันสมัย การวิจัยได้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้และจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหารใหม่ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย การรักษาจรรยาบรรณทหาร วินัยและการรักษาวินัยทหาร การดำเนินการทางวินัยทหาร คณะกรรมการวินัยทหาร การอุทธรณ์ การฟ้องคดี และบทเฉพาะกาล การวิจัยเสนอแนะให้นำร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่รัฐสภา เพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ศาลทหารจัดตั้งแผนกคดีวินัยทหารขึ้นในศาลทหารรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สหัส ไพภักดิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน และไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะอยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล การวิจัยจึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 10 หมวด 43 มาตรา ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ให้มีนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายไปตราเป็กฎหมายตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ(Sripatum University, 2565) พงศกร ถิ่นเขาต่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น