กองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

dc.contributor.authorธิติ ศรีใหญ่th_TH
dc.date.accessioned2564-06-15T07:30:46Z
dc.date.available2021-06-15T07:30:46Z
dc.date.issued2546
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน อยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นว่ากองทุนหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุ 31-40 ปี และอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี และกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศและอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง และกลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 31-40 ปี และกลุ่มอายุ 41-50 ปีth_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7622
dc.language.isothth_TH
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านth_TH
dc.subjectเศรษฐกิจชุมชนth_TH
dc.titleกองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์th_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทคัดย่อ.pdf
ขนาด:
688.82 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: