มาตรการควบคุมการประกอบธุรกิจของนายประกันในชั้นศาล

dc.contributor.authorประเสริฐศักดิ์ ณรงค์รักเดชth_TH
dc.date.accessioned2021-06-10T03:10:53Z
dc.date.available2021-06-10T03:10:53Z
dc.date.issued2549
dc.description.abstractการประกอบธุรกิจของนายประกันในชั้นศาล เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากผลกฎหมายของรัฐที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาให้ได้รับอิสรภาพชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการพิสูจน์ว่ากระทำความผิดหรือไม่ บางครั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีหลักประกัน มีหลักประกันไม่เพียงพอ หรือเตรียมหลักประกันมายื่นไม่ทันในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล ทำให้มีการประกอบธุรกิจนายประกันในชั้นศาล โดยเรียกค่าตอบแทนในการใช้หลักประกันจากผู้ต้องหา จำเลย หรือบุคคลผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล แทนที่จะเป็นการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และช่วยลดงบประมาณของรัฐในการควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างถูกดำเนินคดี โดยหากพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทำความผิดจริงก็สามารถนำมาลงโทษได้ แต่กลับก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อศาล พนักงานอัยการ ทนายความ ผู้ต้องหา จำเลย หรือบุคคลอื่น จึงเห็นควรปรับปรุงหามาตรการและแนวทางในการแก้ไขเพื่อควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของนายประกัน ทำให้เกิดประโยชน์แก่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง การปล่อยชั่วคราวเป็นมาตรการของรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นการผ่อนปรนให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับอิสรภาพชั่วคราว จนกว่ามีการพิสูจน์ความผิด หากมีการควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างถูกดำเนินคดีเสมือนเป็นการลงโทษไว้ล่วงหน้า เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามที่กฎฆมายบัญญัติไว้ จึงเป็นช่องทางของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเข้าไปหาผลประโยชน์จากการรับจ้างประกันหรือปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีกฎหมายหรือมาตรการใดเข้าไปควบคุมดูแล การประกอบธุรกิจของนายประกันจึงไม่ดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างแท้จริง จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการประกอบธุรกิจของนายประกัน เนื่องจากยังขาดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เข้าไปควบคุมดูแลธุรกิจของนายประกัน และหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่นำมาใช้บังคับควบคุมแก้ไขในปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ ประการแรก การประกอบธุรกิจของนายประกันในชั้นศาลยังขาดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแล การกำหนดคุณสมบัติ การขึ้นทะเบียน อัตราค่าตอบแทน การกำหนดหลักประกัน การจัดทำสัญญา และมาตรการในการลงโทษ ประการที่สอง บทบัญญัติของกฎหมายที่นำมาใช้ในกรณีที่นายประกันอาชีพก่อให้เกิดปัญหาขึ้นว่าควรบังคับตามกฎฆมายใด ประการที่สาม หลักเกณฑ์ที่ศาลนำมาใช้บังคับในการควบคุมการประกอบธุรกิจของนายประกันยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะในการควบคุมดูแลและปรับปรุงแก้ไขการควบคุมการประกอบธุรกิจของนายประกันในชั้นศาล ดังนี้ 1) ควรออกกฎหมายให้ศาลหรือหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของนายประกัน การกำหนดคุณสมบัติของนายประกันอาชีพ การขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในการควบคุมตรวจสอบ การกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่แน่นอน การกำหนดหลักประกันที่นายประกันอาชีพนำมายื่นต่อศาล การจัดทำสัญญาว่าจ้างระหว่างนายประกันอาชีพกับบุคคลผู้ว่าจ้างเป็นนหนังสือ และมาตรการในการลงโทษนายประกันอาชีพที่ชัดเจน 2) การค้นคว้าหาหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่และนำมาบังคับใช้แก่นายประกันอาชีพที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น 3) หลักเกณฑ์และมาตรการของศาลที่ชัดเจนและบังคับใช้ได้ที่นำมาควบคุมการประกอบธุรกิจของนายประกัน โดยมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจังth_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7601
dc.language.isothth_TH
dc.subjectมาตรการควบคุมการประกอบธุรกิจth_TH
dc.subjectนายประกันในชั้นศาลth_TH
dc.titleมาตรการควบคุมการประกอบธุรกิจของนายประกันในชั้นศาลth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
ประเสริฐศักดิ์ ณรงค์รักเดช.pdf
ขนาด:
636.31 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: