รูปแบบการส่งเสริมการรักษาแบบผสมผสานด้วยดนตรีบำบัด เพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
กำลังโหลด...
วันที่
2564-12-20
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
Sripatum University
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมการรักษาแบบผสมผสาน ด้วยดนตรีบำบัดเพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นวัตถุประสงค์สูงสุด โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากการเก็บข้อมูลภาคสนามและการวิจัยข้อมูลทางเอกสาร โดยการวิจัยภาคสนามเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มประชากร 4 กลุ่ม จำนวน 10 ราย ได้แก่ 1) ผู้บริหารทางด้านดนตรีบำบัด 2) จิตแพทย์ 3) ผู้เชี่ยวชาญหรือนักดนตรีบำบัด และ 4) กลุ่มบุคลากรสนับสนุนทางด้านจิตเวช ขณะที่การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารภายในประเทศ และเอกสารทางการปฏิบัติงานด้านดนตรีบำบัดจากสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาและวิเคราะห์ภายใต้ 4 ประเด็นสำคัญ ซึ่งยึดตามวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นหลัก ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยศาสตร์ทางด้านดนตรีบำบัดในการรักษาโรคซึมเศร้า 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานของสถาบันดนตรีบำบัดในต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัด ต่อการใช้ดนตรีบำบัดเป็นการรักษาแบบผสมผสานภายในประเทศ และรูปแบบการส่งเสริมการรักษาแบบผสมผสานด้วยดนตรีบำบัด เพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และ 4) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมการรักษาแบบผสมผสานด้วยดนตรีบำบัดเพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำอธิบาย
ตารางและรูปภาพประกอบ
คำหลัก
การกำหนดนโยบาย, การรักษาแบบผสมผสาน, ดนตรีบำบัด, โรคซึมเศร้า
การอ้างอิง
ประสิทธิ์ศุภการ พึ่งบุญ ณ อยุธยา. 2564. "รูปแบบการส่งเสริมการรักษาแบบผสมผสานด้วยดนตรีบำบัด เพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.