โปรแกรมหาความเป็นไปได้ในการเลือกลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาด้วยไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล
dc.contributor.author | กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์ , ชัยรัตน์ วิสุทธิรัตน์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2565-04-01T10:38:26Z | |
dc.date.available | 2022-04-01T10:38:26Z | |
dc.date.issued | 2565-02-18 | |
dc.description | ในปัจจุบันรูปแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับมากขึ้น การจัดหาอุปกรณ์และบริษัทติดตั้งได้หลากหลาย มีส่วนช่วยอย่างมากในการประหยัดค่าไฟฟ้าเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายพลังงานที่จ่ายไปในแต่ละเดือน เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว ดังนั้นการจัดทำข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องภาระทางไฟฟ้า ที่จะต้องทราบเพื่อนำไปคำนวณความเหมาะสมในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอินเวอร์เตอร์ พร้อมทั้งได้รับข้อมูลค่าใช้จ่ายและระยะเวลาการคืนทุน [1] บทความนี้นำเสนอโปรแกรมหาความเป็นไปได้ในการเลือกลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาด้วยไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล เพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจและศึกษาความรู้ทางด้านราคา ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าและระยะเวลาการคืนทุน ของการติดตั้งระบบ โดยใช้ฐานค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ใช้ในการคำนวณคือ 4.42 บาทต่อหน่วย 2. การหาจุดคุ้มทุน ศึกษาภาระทางไฟฟ้า สำหรับที่อยู่อาศัย ร้านค้า ส่วนการผลิตกำลังไฟฟ้าของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยต่อปี ใช้โปรแกรม PVWatts’ Calculator ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (ตามข้อกำหนดของ กฟน. ที่ไม่ต้องขออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน) เขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ข้อมูลราคาอุปกรณ์ที่ทางการไฟฟ้านครหลวงอนุมัติให้ใช้และเป็นอุปกรณ์ที่บุคคลทั่วไปสามารถหาได้ในท้องตลาด มีมาตรฐานอุตสาหกรรมทุกชนิด และเป็นราคากลางที่สามารถซื้อได้ ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา [3] 2.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าของระบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ [2] 2.1.1 การประเมินพื้นที่ในการติดตั้ง ทิศทางในการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ประเทศไทยตั้งอยู่ซีกโลกเหนือ แผงจึงควรหันรับแสงอาทิตย์ไปทางทิศใต้ โดยความลาดเอียงของแผงควรมีความลาดชัน 15-20 องศากับพื้นดินเพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงให้มากที่สุด 2.1.2 อุณหภูมิ ระบบการระบายอากาศให้แผง มีผลกับประสิทธิภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้า อุณหภูมิของแผงยิ่งสูงจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าลดลง โดยทั่วไปผลกระทบด้านความร้อนของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงเหลือประมาณ 89 % ของค่า STC (ftemp = 0.89) แผงพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีฝุ่นละอองหรือคราบสกปรกมาเปื้อนบนหน้าแผง ซึ่งปัจจัยนี้ส่งผลให้ความสามารถในการรับแสงอาทิตย์ลดลงทำให้ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย โดยทั่วไปผลกระทบที่เกิดจากสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลงเหลือประมาณ 98 % ของค่า STC (fdirt=0.98) | th_TH |
dc.description.abstract | บทความนี้นำเสนอ โปรแกรมหาความเป็นไปได้ในการเลือกลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาด้วยไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับภาระทางไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีแสงแดด เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาและอินเวอร์เตอร์ ในรูปแบบเชื่อมกริด โดยใช้โปรแกรม PVWatts’ Calculator ในการผลิตกำลังไฟฟ้าของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยต่อปี ให้ค่ากำลังงานกระแสตรงด้านออก คิดเป็นประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์ของกำลังงานติดตั้ง ความสูญเสียของระบบที่ใส่ในแบบจำลองกระแสสลับที่ 20 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างจากค่าประมาณกำลังงานด้านออกที่แนะนำทั่วไป โดยบริษัทรับติดตั้งอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ ผลการทำงานของโปรแกรมจะคำนวณความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับที่อยู่อาศัย ร้านค้า ที่มีการใช้งานเครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน ของพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีข้อมูลความแตกต่างในการติดตั้งทั้งหมด 6,016 ชุดข้อมูล | th_TH |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8206 | |
dc.publisher | การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 14 ECTI-CARD 2022 | th_TH |
dc.title | โปรแกรมหาความเป็นไปได้ในการเลือกลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาด้วยไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล | th_TH |
dc.type | Working Paper | th_TH |