ปัญหาทางกฎหมายในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2554-08-14T09:10:30Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการ ในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองมีปัญหาว่าบุคคลดังกล่าวจะมีอำนาจใช้สิทธิได้มากน้อยเพียงใด จากการศึกษาพบว่าแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 45 และมาตรา 50 จะได้ให้อำนาจแก่บุคคลใด ๆ ไว้ในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองก็ตาม แต่ปรากฏว่ายังมีกฎหมายลำดับรองได้กำหนดจำกัดสิทธิแก่บุคคลดังกล่าวในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ยังคงจำกัดสิทธิ ดังนั้นในส่วนของนักวิชาการเองเป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาในทางกฎหมายที่ยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าความหมายของนักวิชาการควรที่จะรวมในความหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าว เพราะนักวิชาการก็คือบุคคลใด ๆ ดังนั้นจึงควรได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายด้วย เช่นนี้ ผู้ศึกษาเห็นว่าควรให้ปรับปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมถึงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินให้บัญญัติยกเว้นการจำกัดการแสดงความคิดเห็นของผู้เป็นนักวิชาการโดยชัดเจน ควรให้เสรีภาพแก่นักวิชาการในการแสดงความคิดเห็นโดยธรรมอย่างเสรี กำหนดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงสื่อซึ่งเป็นสื่อของตัวผู้เป็นนักวิชาการเอง เพื่อให้นักวิชาการได้ทำหน้าที่และประชาชนได้รับรู้ข่าวสารข้อเท็จจริง โดยไม่มีข้อจำกัด การเซ็นเซอร์โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ได้แสดงวิธีการและเนื้อหาของความคิดหรือความเห็นเป็นการละเมิดของกฎหมายและประเพณีของหรือกลุ่มที่อนุญาตให้เสรีภาพในการแสดงออกมาพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกน่าจะเกิดขึ้นได้โดยมีขอบเขตที่ยุติธรรมและเป็นกลาง

คำอธิบาย

คำหลัก

การแสดงความคิดเห็น, นักวิชาการ, การจำกัดสิทธิเสรีภาพ, สิทธิเสรีภาพ

การอ้างอิง