ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2559

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาในเรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย โดยศึกษาคำนิยามที่ชัดเจนของคำว่าขยะมูลฝอยในกฎหมายต่างๆของประเทศไทย และควรจะมีข้อกำหนดความรับผิดทางอาญาอย่างไร จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยได้ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย มีกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยเจตนา มีบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดไว้โดยชัดเจน ปรากฏว่าในเรื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำความผิดโดยประมาทเอาไว้ อาจเป็นปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ และบทลงโทษในกฎหมายของประเทศไทยที่กระทำโดยเจตนา ไม่รุนแรง ไม่พอสมควรแก่เหตุ เป็นเพียงแค่ลหุโทษเท่านั้น ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และกลับมากระทำความผิดอีก จากปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เขียนขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยของประเทศไทย โดยนำความรับผิดทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทมาบังคับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย เห็นได้จากประเทศเยอรมนีได้บัญญัติกฎหมายอาญาเกี่ยวการกระทำความผิด เรื่องการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอยที่กระทำโดยประมาท ซึ่งมีบทกำหนดโทษชัดเจนว่าผู้กระทำผิดต้องรับโทษอย่างไร กฎหมายของประเทศเยอรมนีนั้นถือว่าการกระทำความผิดที่กระทำโดยประมาทจะต้องได้รับโทษด้วย เพราะผู้กระทำความผิดย่อมยอมรับในผลที่ตนได้กระทำลง จึงต้องมีบทลงโทษแก่ผู้ที่กระทำโดยประมาทบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง และเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดโดยเจตนาให้มีความรุนแรงมากอย่างขึ้น ให้มีความเหมาะสมกับการกระทำความผิด เช่นเดียวกับบทลงโทษของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ หากประเทศไทยนำเอาความรับผิดทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดโดยประมาท และเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเจตนามาปรับใช้กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเรื่องของการเพิ่มจำนวนและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำอธิบาย

บทความ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ขยะมูลฝอย, ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการลงโทษ

การอ้างอิง

ปีการศึกษา 2559