กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบในการบริหารจัดการ มาตรการส่งเสริม และสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมเกษตรกรให้ทำการเกษตรอินทรีย์ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้นำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ปัญหานโยบายการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ยั่งยืน ขัดแย้งและซ้ำซ้อนในการจัดการ การส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติ คณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการระดับพื้นที่โดย มีมาตรการส่งเสริมด้านการจัดหาตลาด และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์ การกำหนดและตรวจสอบมาตรฐานผลผลิต จัดตั้งเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ และมาตรการทางภาษี โดยมีกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ มีบทบัญญัติ 23 มาตรา แบ่งเป็น หมวด 1 คณะกรรมการ หมวด 2 การบริหารจัดการ หมวด 3 มาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ และหมวด 4 การเพิกถอนการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ ข้อเสนอแนะการวิจัย คือให้ตรากฎหมายฉบับนี้เพื่อใช้บังคับกับออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจประเมินแปลง มาตรฐานผลผลิตและการตรวจสอบ การพิจารณาให้และเพิกถอนสิทธิประโยชน์ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย

คำอธิบาย

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การเกษตรอินทรีย์, การส่งเสริม, เกษตรกร, กฎหมายต้นแบบ

การอ้างอิง

ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล. 2563. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.