การใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุง

dc.contributor.authorสมเกียรติ กรวยสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorธัญกร คำแวงth_TH
dc.contributor.authorเติมสิน พิทักษ์สาลีth_TH
dc.date.accessioned2565-08-01T07:50:30Z
dc.date.available2022-08-01T07:50:30Z
dc.date.issued2565-06-16
dc.descriptionงานวิจัยนี้เป็นทดลองการใช้แก๊สโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Escherichia coli (E.coli) เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวสารที่ผ่านแก๊สโอโซนภายในระยะเวลา ข้อกำหนดที่เหมือนกันกับการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และดูลักษณะทางกายภาพของเมล็ดข้าวสาร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาหาความเหมาะสมของโอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยปกติกระบวนการข้าวบรรจุถุงเป็นการนำเมล็ดข้าวสารผ่านมาตามระบบสายพานลำเลียงเพื่อบรรจุลงในถุง ซึ่งขั้นตอนกระบวนการผลิตนี้อาจจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ อันส่งผลทำให้เกิดความเสียหายและเสียความมั่นใจของผู้บริโภค จากผลการวิจัยพบว่าโอโซนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Escherichia coli (E.coli) ได้ แต่การทดลองในครั้งนี้ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ให้หมดไปได้ เนื่องจากการกำหนดเวลาทดสอบไว้ที่ระยะเวลา 5 นาที 10 นาที 15 นาที และ 20 นาที จึงทำให้ไม่สามารถหาระยะเวลาที่เชื้อจุลินทรีย์หมดไปได้ เชื้อแต่ละขวดมีจำนวนจุลินทรีย์ในขวดอยู่ที่ 1,300,000,000 CFU/mL ทำการทดลองฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยแบ่งเป็น 4 ช่วงระยะเวลา มีอัตราการไหลของแก๊สโอโซนอยู่ที่ 10 ลิตรต่อนาที เพื่อให้ใกล้เคียงกับกระบวนการบรรจุถุงข้าวสารมากที่สุด จึงได้นำเมล็ดข้าวสารมาผ่านโอโซนเช่นเดียวกับกระบวนการฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใดเช่น การแตกหักของเมล็ดข้าว ขนาดที่เปลี่ยนไป สี กลิ่นและอื่นๆ พบว่าเมื่อนำข้าวสารมาผ่านโอโซนไม่ทำให้กายภาพของเมล็ดข้าวเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงขยายภาพหารอยร้าวและกายภาพอื่นๆ การลดลงของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์หลังจากผ่านโอโซนที่ระยะเวลาต่างๆ พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการโอโซนอยู่ที่ 1,300,000,000 CFU/mL เมื่อนำไปผ่านกระบวนการ โอโซนที่ระยะเวลา 5 นาที พบจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ลดลง 620,000,000 CFU /mL และที่ระยะเวลา 20 นาที พบจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ลดลงเหลือ 4,800,000 CFU /mL สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไปได้ถึง 1,295,200,000 CFU/mL ซึ่งถือว่าลดจำนวนไปได้ตรงตามเป้หมายที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแก๊สโอโซนที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ เมื่อนำมาทดลองเปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวสารที่ผ่านแก๊สโอโซนภายในระยะเวลาและข้อกำหนดที่เหมือนกัน เพื่อดูลักษณะทางกายภาพของเมล็ดข้าวสาร ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาหาความเหมาะสมของโอโซน เพื่อใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยใช้เครื่องกำเนิดโอโซนชนิดโคโรนาดิสชาร์จกำลังผลิต 2,000 มิลลิกรัมโอโซนต่อชั่วโมง พ่นแก๊สโอโซนใส่จุลินทรีย์และเมล็ดข้าวสาร จากการศึกษาพบว่า แก๊สโอโซนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีจำนวนเริ่มต้นที่ 1,300,000,000 CFU/ml หลังผ่านแก๊สโอโซน เชื้อลดลงเหลือ 4,800,000 CFU/ml ที่ระยะเวลา 20 นาที โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สโอโซนที่ 10 ลิตรต่อนาที และมีแนวโน้มในการลดลงของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์เมื่อเพิ่มระยะเวลาในการทดสอบ ทั้งนี้ได้นำเมล็ดข้าวสารพันธุ์หอมมะลิ 105 มาผ่านกระบวนการเช่นเดียวกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ผลคือไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดข้าวสาร เช่น ความเปราะ การแตกหักและสีที่เปลี่ยนไป การทดลองด้วยวิธีนี้ทำให้เห็นความแตกต่างในการลดจำนวนจุลินทรีย์ภายในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับกระบวนการบรรจุถุงของข้าวสารที่นำเม็ดข้าวลำเลียงมาตามสายพานก่อนบรรจุถุง เพียงแต่เพิ่มกระบวนการผ่านแก๊สโอโซนเข้ามาเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดข้าวสารให้ลดลงหรือหมดไปโดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในเมล็ดข้าวสาร เพราะโอโซนไม่เสถียรโดยสลายตัวเป็นออกซิเจนจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citation1. คมแข พิลาสมบัติ (2540) การลดปริมาณการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์บนผิวซากสุกรที่ผ่านขบวนการฆ่ามาตรฐานและไม่มาตรฐานโดยการใช้สารละลายกรดแลกติกและคลอรีน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพมหาคร. 2. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช http://www.biothai.net/node/18535: สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 60 3. ถวัลย์ศักดิ์ สมรรคะบุตร (2556).http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374818852 : สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 2560 4. สุแพรวพันธ์ โลหะลักษณาดช และ ชุตินุส สุจริต (2556). แก่นเกษตร 41 ฉบับพิเศษ 1 ผลของการใช้โอโซนต่อคุณภาพของเนื้อปูม้านึ่งในระหว่างการเก็บรักษาโดยการแช่เย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 5. ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี http://www.chemtrack.org/Board Detail asp?TID=0&ID=7808: สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 2565th_TH
dc.identifier.issn-
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8355
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมth_TH
dc.relation.ispartofseries-th_TH
dc.relation.ispartofseries-th_TH
dc.subjectโอโซน เชื้อจุลินทรีย์ ข้าวหอมมะลิth_TH
dc.subjectOzone Microorganisms Jasmine riceth_TH
dc.titleการใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงth_TH
dc.title.alternativeThe Use of Ozone to Disinfect Contaminated Microorganisms in Packaged Jasmine Riceth_TH
dc.typePresentationth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความวิจัยระดับชาติ ม.ราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 5.pdf
ขนาด:
516.24 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
เอกสาร (proceeding)งานวิจัยระดับชาติ ม.ราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 5.pdf
ขนาด:
3.38 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: