เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง จังหวัดสุโขทัย = COLLABORATIVE NETWORKS IN ADMINISTRATION ON THE CONSERVATION OF EXPRESSIVE CULTURES AND LOCAL WISDOM AT BANG KLANG DISTRICT SHUKOTHAI PROVINCE PROJECT
กำลังโหลด...
วันที่
2558-01-06T12:56:28Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การวิจัยเรื่อง “เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการก่อตัวของเครือข่ายความร่วมมือ กระบวนการสร้างความร่วมมือ และกระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง รวมทั้งศึกษาถึงผลลัพธ์ความร่วมมือที่นำไปสู่ความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายความร่วมมือของโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง จำนวน 20 ท่าน รวมทั้งการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง ตามกรอบและประเด็นในการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยและการวิเคราะห์ มีดังต่อไปนี้
กระบวนการก่อตัวของเครือข่ายความร่วมมือโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง มีความเป็นมาที่นำไปสู่ความร่วมมือภายใต้การนำขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง โดยปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการสร้างความร่วมมือ ประกอบด้วย 1. นโยบายการกระจายอำนาจจากส่วนกลางที่ต้องการให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อนำมาสนับสนุนงานในด้านนี้ 2. ความต้องการที่จะสร้างจุดแข็งให้กับชุมชน เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลได้ทำการศึกษาเพื่อหาจุดเด่นของท้องถิ่นพบว่าภายในท้องถิ่นมีโบราณสถานและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ โดยกรมศิลปากรและผู้ที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ได้เคยเข้ามาทำการศึกษาก่อนหน้านี้แล้ว 3. ความต้องการในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น เนื่องจากที่ผ่านมาบางขลังเป็นเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยดีนัก ทำให้คนในท้องถิ่นละเลยความสำคัญของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะโบราณสถาน ส่งผลให้เกิดการทำลาย โดยมุมมองของภาคส่วนต่างๆที่มีต่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย มุมมองของภาครัฐ เห็นว่าเครือข่ายความมือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการที่จะขับเคลื่อนเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มุมมองของภาคประชาสังคม มองว่า เครือข่ายความร่วมมือเป็นเรื่องที่ดีและมีความสำคัญ เพราะการมีเครือข่ายถือเป็นการนำเอาคนซึ่งมีความถนัดที่แตกต่างกันมาช่วยกันในการทำงาน ทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จได้ ขณะที่มุมมองของภาคเอกชน มองว่า เครือข่ายถือว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบัน เพราะการจะทำกิจกรรมอะไรต่างๆให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนที่เข้ามาร่วมกันเป็นเครือข่าย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ พบว่า โดยภาพรวมแล้วโครงการประวัติศาสตร์ฯ เมืองบางขลังยังไม่บรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ซึ่งยังคงเป็นได้แค่เพียงระดับการประสานงาน(Coordination) และการร่วมปฏิบัติการ (Cooperation) โดยความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างเครือข่ายยังไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือประกอบด้วย 1.ทำให้ท้องถิ่นกลายเป็นที่รู้จัก 2.เกิดความตื่นตัวของชาวบ้านที่มีต่อท้องถิ่นของตัวเอง 3. เกิดความรักและสามัคคีของคนในท้องถิ่น ขณะที่ปัญหาและอุปสรรค ประกอบด้วย 1. ปัญหาจากประสบการณ์และทักษะการทำงานของบุคลากรในเครือข่าย 2.ปัญหาจากความต่อเนื่องในการประสานงานโดยเฉพาะหน่วยงานของภาครัฐ 3.ปัญหาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ 4. ปัญหาจากงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 5.ปัญหาจากวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกัน
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการ, ศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญา
การอ้างอิง
มนตรี นุ่มนาม. 2558. "เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง จังหวัดสุโขทัย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.