S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 32
  • รายการ
    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี=PEOPLE’S PARTICIPATIONIN THE PREVENTION AND RESOLUTION TOWARDS DRUG ABUSE IN THE SUBDISTRICT ADMINISTRATIVEORGANIZATIONS IN THE VICINITY OF THAI-BURMESE BORDER SUAN PHUNG DISTRICT, RATCHABURI PROVINCE
    (2558-01-08T11:48:48Z) สิงห์ ปานะชา
    การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การปัจจัยพื้นฐาน ในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงผสมผสานโดยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ประชากรที่เป็นผู้บริหารและสมาชิกขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 90 คน และ 2)ประชากรทีเ่ป็นประชาชน จำนวน 380 คน จำนวน 4 ตำบลประกอบกด้วยตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลท่าเคย และตำบลตะนาวศรี ผลการศึกษาพบว่า 1)สภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี ไม่ปรากฏว่ามีการลำเลียงและลักลอบค้ายาเสพติดจากประเทศพม่าเขา้ สู่ประเทศไทยในบริเวณแถบนี้ เพราะสาเหตุสำคัญคือบริเวณ ชายแดนประเทศพม่า ที่ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง เป็นหมู่บ้านเล็กๆไม่มีชุมชนขนาดใหญ่และเป็นเขตค่ายทหารซึ่งบริเวณฝั่งพม่าไม่มี แีหล่งผลิตยาเสพติด 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากโดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (To Inform) รองลงมา ได้แก่ การให้ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรม (To Collaborate) การรับฟังความคิดเห็น (To Consult) การให้ประชาชนเขา้ มาเกี่ยวข้องในการวางแผนและตัดสินใจ (To Involve) และการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน (To Empower) 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไ้ขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาในภาพรวมทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การและปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลหรือไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไข้ปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำ บลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ นโยบายขององค์การและการบริหารองค์การ
  • รายการ
    การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร= INTEGRATED STRATEGIC MANAGEMENT OF TOURISM IN THE SAMUT SAKHON PROVINCE
    (2558-01-08T09:08:28Z) สุนทร วัฒนาพร
    การวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร จากนักท่องเที่ยวจานวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, และศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร จากผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จานวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง 25–34 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับประกาศนียบัตร ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001–20,000 บาท นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญต่อภาพรวมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาครระดับสูงทุกด้าน โดยให้ความสาคัญด้านการตลาดการท่องเที่ยวสูงที่สุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร มีโครงสร้างหน้าที่และบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ส่วนด้านงบประมาณมาจากภาครัฐเป็นหลัก ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาครพบว่า ด้านโครงสร้างหน้าที่ คือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไม่ได้ขึ้นกับสังกัดเดียวกัน และ ประเด็นสาคัญคือการไม่มีคณะกรรมการร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับจังหวัด ด้านบุคลากร คือภาครัฐยังมีบุคลากรน้อยและไม่มีความชำนาญอย่างแท้จริง ด้านงบประมาณ คือการได้รับงบประมาณจากส่วนกลางน้อยมาก และที่สาคัญขาดการบูรณาการงบประมาณของภาครัฐ ด้านการมีสถานที่ดำเนินการอย่างเหมาะสม คือการไม่มีศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยว และที่สาคัญสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสาครไม่ได้มีสถานที่ทาการของตนเอง ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงานของภาครัฐ คือไม่สามารถสั่งการข้ามสังกัดได้ ส่วนการประสานงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชนปัญหาคือ แนวทางระเบียบขั้นตอนในการทำงานที่แตกต่างกัน ด้านสมรรถนะขององค์กรภาครัฐที่จะนานโยบายไปปฏิบัติ คือการที่องค์กรภาครัฐมีสมรรถนะระดับต่า สาหรับด้านความร่วมมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติภาครัฐ คือการไม่ทราบว่าเจ้าภาพที่รับผิดชอบหลักด้านการท่องเที่ยวคือใคร แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าควรมีการบูรณาการใน 2 ระดับ คือ การบูรณาการระดับองค์กร เป็นกระบวนการบูรณาการระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัด เพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด และ การบูรณาการระดับปฏิบัติการ เพื่อนำนโยบายและยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้กำหนดไปใช้ในการดำเนินการ โดยการจัดตั้งอนุกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัด
  • รายการ
    การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการของหลักการบริหารจัดการที่ดี= QUALITY MANAGEMENT OF GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOLIN THAILAND UTILIZING GOOD GOVERNANCE DOCTRINE PROCESS
    (2558-01-08T07:49:07Z) สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกล-ยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และ การจัดการกระบวนการ 2)เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และการจัดกระบวนการ กับ หลักการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 4) เพื่อแสวงหาแนวทางของการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่และหลักการบริหารจัดการที่ดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1)ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ผู้จัดการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา 2)ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ของโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จำนวน 345 รูป /คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical correlation) ผลการวิจัยที่สำคัญในครั้งนี้ มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง พบว่า หลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักความคุ้มค่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 ส่วนด้านอื่น ๆ จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ หลักความพร้อมรับผิด ค่าเฉลี่ย 3.76, หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ค่าเฉลี่ย 3.72, หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าเฉลี่ย 3.71, หลักการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ย 3.64, และ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.24 ประการที่สอง พบว่า การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การนำองค์การ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 ส่วนด้านอื่น จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ค่าเฉลี่ย 3.96การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าเฉลี่ย 3.78, การมุ่งเน้นผู้เรียน ค่าเฉลี่ย 3.77, การมุ่งเน้นบุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.76, และการจัดการกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 3.74 ประการที่สุดท้าย พบว่า การบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จะต้องมีกระบวนการดังต่อไปนี้คือ 1)หลักความพร้อมรับผิด ในด้าน การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการวางแผนเชิง กลยุทธ์ 2) หลักความคุ้มค่า ในด้านการประหยัดและศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 3)หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการพัฒนาความสามารถของบุคลากรและการจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นผู้เรียน 4)หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ในด้านการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและการนำองค์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 5)หลักการบริหารจัดการ ในด้านการคาดคะเนความเสี่ยงและการทบทวนภารกิจ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 6)หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านการจัดการชุดข้อมูล การเชื่อมโยงเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้จริง ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้าน การจัดการกระบวนการ
  • รายการ
    การพัฒนา การบริหารนโยบายสุขภาพของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านจัดการสุขภาพอำเภอเมืองชลบุรี=COMMUNITY, S HEALTH POLICY MANAGEMENT DEVELOPMENT : A CASE STUDY OF HEALTH MANAGEMENT VILLAGEMUANG-CHONBURI DISTRICT
    (2558-01-07T12:46:44Z) สมประสงค์ ปิวไธสง
    การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารและการนำนโยบายสาธารณสุขของหมู่บ้านไปปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผสมผสานกัน ผลการศึกษาพบว่า กลไกการกำหนดนโยบายของหมู่บ้าน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาของหมู่บ้าน โดยใช้ดัชนีชี้วัดสุขภาพและข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม เป็นข้อมูลทุติยภูมิ สำหรับการประชุม ระดมสมอง เพื่อวิเคราะห์ และลงความเห็น เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของหมู่บ้าน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน ขั้นตอนต่อมาคณะกรรมการหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้นำปัญหาสุขภาพทั้งหมด มากำหนดเป็นนโยบายและแผนแม่บทสุขภาพของหมู่บ้านส่วนในขั้นตอนของการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น พบว่าลักษณะองค์การเครือข่ายหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จะมีลักษณะเป็นองค์การอรูปนัย ปราศจากสายการบังคับบัญชา การบริหารองค์การทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ จึงใช้การประสานงานผ่านสื่อต่างๆ เป็นหลัก ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาองค์การเครือข่ายจัดการสุขภาพของหมู่บ้านนั้นมีบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการเครือข่ายต่างๆ ทั้ง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายได้เน้นการอบรมการจัดทำแผน การประชุม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของชุมชน และงานบริการสุขภาพที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้ ในส่วนของการพัฒนาด้านเงินทุน มีการระดมทุนที่เป็นงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณด้านการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ จากหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาเรื่องนี้ในภาพรวม
  • รายการ
    ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจและบริการกับประเทศกัมพูชา = POTENTIALITIES OF SA KAEO PROVINCIAL ADMINISTRATIVEORGANIZATION IN MANAGING ECONOMIC AND SERVICEISSUES WITH CAMBODIA
    (2558-01-07T12:25:37Z) ณัฐณิชานันท์ เดชอำไพ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (อบจ.สระแก้ว)ที่สัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและบริการกับประเทศกัมพูชา เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วระหว่างผู้ประกอบการค้าคนไทยกับคนกัมพูชา และเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจและบริการ ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณโดยการนำอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจและด้านบริการอย่างละ 10 ด้านมาเป็นตัวแปรพยากรณ์ศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่น และศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วโดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือที่เป็นคนไทยและเป็นคนกัมพูชา จำนวน 3,500 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรยามาเน่ได้จำนวน 306 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2.ผู้ประกอบการค้าคนไทยกับผู้ประกอบการค้าคนกัมพูชามีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วทางด้านเศรษฐกิจว่ามีความแตกต่างกัน 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา การบริหารจัดการตลาดโรงเกลือ และ การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้จากทรัพย์สินและการประกอบกิจการท้องถิ่น และความคิดเห็นทางด้านบริการแตกต่างกัน 7 ด้าน คือ การให้บริการของ อบจ. สระแก้ว การบริการด้านสังคมสงเคราะห์ การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ การบริการด้านสาธารณูปโภค การบริการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการบริการด้านการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ตัวแปรปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านบริการ มีความสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรปัจจัยทุกตัว และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำถึงทางบวกในระดับสูงกับศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 4.การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ (x1-x10) พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ ด้านการบริหารจัดการสินค้าขาเข้าจากประเทศกัมพูชา (x5) ด้านการบริหารจัดการด้านสินค้าอุตสาหกรรม (x6) และด้านการบริหารจัดการด้านการพาณิชย์ (x8) เข้าสู่สมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร่วมกันส่งผลต่อศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นของ อบจ. สระแก้ว ทางด้านเศรษฐกิจโดยรวม มีค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) = .284 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = .081 และด้านบริการ (x11-x20) พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ ด้านการบริการด้านการขนส่งมวลชนและวิศวกรรมจราจร (x13) การบริหารจัดการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (x18) และด้านการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (x15) ที่เข้าสู่สมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร่วมกันส่งผลต่อศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่นของ อบจ. สระแก้ว ทางด้านบริการโดยรวม มีค่าสหสัมพันธ์พหุ (R) = .346 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = .120
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในจังหวัดนครปฐม=FACTORS AFFECTING THE PROGRESS OF MISSION TRANSFER TO LOCAL GOVERNMENT : A CASE STUDY OF SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION IN NAKHONPATHOM PROVINCE
    (2558-01-07T08:45:02Z) รังสรรค์ อินทน์จันทน์
    การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจของ อบต.ตามภารกิจหลัก 6 ด้าน 2)ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการของ อบต.3)วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างกับความก้าวหน้าของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.4)วิเคราะห์แบบถดถอย พหุคูณระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้ากับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต. และ 5) ค้นหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนภารกิจที่เหมาะสมให้แก่ อบต. การวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย (1) พนักงาน อบต. จำนวน 300 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และ (2) นายก อบต. ปลัด อบต. และข้าราชการในสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจ จำนวน 21 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มากที่สุดคือ นโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจ (ขั้นตอนระดมพลัง) รองลงมาคือทรัพยากรทางการบริหาร (งบประมาณ), วัฒนธรรมองค์การ (การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม) โดยมีภาวะผู้นำ (เผด็จการแบบมีศิลป์) มีค่าน้อยที่สุด โดยความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความ สงบเรียบร้อยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว และด้านศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจน้อยที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า มีเพียงระดับการศึกษา และรายได้ เท่านั้นที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการถ่ายโอนภารกิจ สาหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ มีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้น คือ ภาวะผู้นำและนโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจที่สามารถทำนายความเป็นไปได้ที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทุกด้าน การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ 1)ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ (1)ต้องศึกษาเงื่อนไขของแต่ละบริบทและแต่ละปัจจัยอย่างถ่องแท้ (2)นำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบในการวางกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนภารกิจให้ประสบผลสำเร็จเป็นลำดับ และ (3)มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอบต.อย่างสม่าเสมอทั้งในด้านปัจจัยภายในและภายนอกองค์การ 2)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)รัฐบาลต้องจัดทำโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจทั้งในฝ่ายของผู้รับโอน ผู้ให้โอน และผู้รับผลกระทบให้เข้าใจได้ตรงกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันทาทำงาน (2)ปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความทันสมัยและสอดคล้องกับการทำงาน (3)ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขการทำงานที่รัดตัวผู้ปฏิบัติจนเกินไป (4)รัฐบาลต้องสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้บริหาร อบต.ที่ต้องมีการฝึกให้มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์การ อันจะช่วยให้มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย และนำมากำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การได้ รวมถึง แสวงหาเทคนิคการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม อันจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 3)ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิค (1)สร้างวัฒนธรรมองค์การแบบการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (2) สร้างผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่สามารถบริหารงานได้อย่างยืดหยุ่นตลอดเวลาตามสถานการณ์ (3)อบต. ต้องมีการเตรียมวางแผนเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  • รายการ
    บทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา=ADVISORY ROLE IN LEGISLATION OF THE SECRETARIAT OF THE SENATE
    (2558-01-07T08:19:15Z) มานะ ชัยวงศ์โรจน์
    การศึกษาบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีวัตถุประสงค์สามประการคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานฯ แก่วุฒิสภา 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานฯ แก่วุฒิสภา และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การแก่สำนักงานฯ ในอนาคต การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสัมมนา รวมทั้งการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สำนักงานฯ มีความเป็นองค์การเชิงระบบปิด โดยที่ผู้บริหารซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้ความสำคัญต่อวุฒิสภา และได้กำหนดระบบงานและโครงสร้างองค์การเพื่อทำให้การบริการมีความสอดคล้องกับความต้องการของวุฒิสภา ส่งผลให้สมาชิกวุฒิสภามีความพึงพอใจต่อการประชุมและการเป็นเลขานุการ ซึ่งถือเป็นบริการขั้นพื้นฐาน แต่เมื่อสมาชิกวุฒิสภามีความคาดหวังต่อสำนักงานฯ ในการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติเพื่อสนับสนุนการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ของวุฒิสภา การวิเคราะห์สภาพของสำนักงานฯ ตามกรอบการวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว สภาพแวดล้อมการดำเนินงานมุ่งให้สำนักงานฯ มีรูปแบบเป็นองค์การเชิงระบบเปิด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเชิงองค์การอันได้แก่ ตรรกะเชิงองค์การ โดยรวม โครงสร้างองค์การ บุคลากร การแสดงบทบาทของผู้บริหาร และการบริหารจัดการ มีความจำกัดในหลายด้าน สภาพเช่นนี้ส่งผลให้สำนักงานฯ ขาดความสามารถหลักด้านการจัดการความรู้และการพัฒนารูปแบบบริการใหม่ ตลอดจนความจำกัดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารและบุคลากร รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายใน ดังนั้น ความคาดหวังของวุฒิสภาต่อบทบาทดังกล่าวของสำนักงานฯ จึงมีอุปสรรคหลายประการ การวิจัยตามกรอบการวิเคราะห์ได้ค้นพบประเด็นการบริหารจัดการซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและการวิจัยต่อไปในอนาคต ได้แก่ 1. บริบทของสถานการณ์เชิงนิติบัญญัติ 2. การสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการอย่างบูรณาการ 3. ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. จุดมุ่งหมายขององค์การ 5. โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถหลัก 6. ขีดความสามารถด้านองค์ความรู้ของบุคลากรและผู้บริหาร และ 7. กลไกการสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ โดยข้อเสนอแนะนั้นได้แสดงรายละเอียดที่เป็นไปตามตัวแปรเหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะด้านการเปลี่ยนแปลงองค์การไปสู่สภาพที่ควรจะเป็นในอนาคต และข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาองค์การซึ่งแสดงแนวทางการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ภายในสำนักงานฯ เพื่อจะสามารถปรับสภาพตนเองเป็นองค์การเชิงระบบเปิดมากขึ้นในการเป็นองค์การที่มีความสามารถหลักด้านการจัดการความรู้ จากนั้น ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะตามตัวแปรทั้งหมดมาบูรณาการ โดยได้ทำการสรุปข้อเสนอแนะทั้งหมดระเบียบวิธี ซึ่งจัดแบ่งเป็นแนวทางด้านกลยุทธ์ ด้านกระบวนการทรัพยากรบุคคล ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้าง รวมทั้งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อแสดงการพัฒนาองค์การอย่างเป็นกระบวนการ และให้เกิดความชัดเจนในภาคปฏิบัติ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้แสดงวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือ ตลอดจนการยืนยันผลการวิจัยซี่งใช้วิธีการแบบสามเส้า โดยการเทียบเคียงข้อเสนอแนะตามข้อค้นพบทั้ง 7 กับข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาที่ปรึกษาหรือวุฒิสภาของประเทศต่างๆ ที่มีรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภาที่ประกอบด้วยสภาคู่ มีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีข้อมูลด้านการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการฯ ที่เพียงพอแก่การศึกษาเปรียบเทียบ โดยคัดเลือกจากประเทศในกลุ่ม OECD (The Organization for Economic Co-operation and Development) ทำให้ได้ประเทศคู่เทียบเป้าหมายได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ และออสเตรเลีย การศึกษาเปรียบเทียบนี้ช่วยให้ข้อสรุปที่ยืนยันว่า ข้อเสนอแนะข้างต้นมีความสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาหรือสภาที่ปรึกษาในประเทศดังกล่าว ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่น รวมทั้งโอกาสของความเป็นไปได้ในการที่สำนักงานฯ จะสามารถแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติและการนำข้อเสนอแนะการพัฒนาองค์การเพื่อสนับสนุนบทบาทดังกล่าวไปปฏิบัติในอนาคต
  • รายการ
    เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง จังหวัดสุโขทัย = COLLABORATIVE NETWORKS IN ADMINISTRATION ON THE CONSERVATION OF EXPRESSIVE CULTURES AND LOCAL WISDOM AT BANG KLANG DISTRICT SHUKOTHAI PROVINCE PROJECT
    (2558-01-06T12:56:28Z) มนตรี นุ่มนาม
    การวิจัยเรื่อง “เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการก่อตัวของเครือข่ายความร่วมมือ กระบวนการสร้างความร่วมมือ และกระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง รวมทั้งศึกษาถึงผลลัพธ์ความร่วมมือที่นำไปสู่ความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายความร่วมมือของโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง จำนวน 20 ท่าน รวมทั้งการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง ตามกรอบและประเด็นในการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยและการวิเคราะห์ มีดังต่อไปนี้ กระบวนการก่อตัวของเครือข่ายความร่วมมือโครงการประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองบางขลัง มีความเป็นมาที่นำไปสู่ความร่วมมือภายใต้การนำขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง โดยปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการสร้างความร่วมมือ ประกอบด้วย 1. นโยบายการกระจายอำนาจจากส่วนกลางที่ต้องการให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อนำมาสนับสนุนงานในด้านนี้ 2. ความต้องการที่จะสร้างจุดแข็งให้กับชุมชน เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลได้ทำการศึกษาเพื่อหาจุดเด่นของท้องถิ่นพบว่าภายในท้องถิ่นมีโบราณสถานและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ โดยกรมศิลปากรและผู้ที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ได้เคยเข้ามาทำการศึกษาก่อนหน้านี้แล้ว 3. ความต้องการในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น เนื่องจากที่ผ่านมาบางขลังเป็นเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยดีนัก ทำให้คนในท้องถิ่นละเลยความสำคัญของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะโบราณสถาน ส่งผลให้เกิดการทำลาย โดยมุมมองของภาคส่วนต่างๆที่มีต่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย มุมมองของภาครัฐ เห็นว่าเครือข่ายความมือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการที่จะขับเคลื่อนเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มุมมองของภาคประชาสังคม มองว่า เครือข่ายความร่วมมือเป็นเรื่องที่ดีและมีความสำคัญ เพราะการมีเครือข่ายถือเป็นการนำเอาคนซึ่งมีความถนัดที่แตกต่างกันมาช่วยกันในการทำงาน ทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จได้ ขณะที่มุมมองของภาคเอกชน มองว่า เครือข่ายถือว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบัน เพราะการจะทำกิจกรรมอะไรต่างๆให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนที่เข้ามาร่วมกันเป็นเครือข่าย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ พบว่า โดยภาพรวมแล้วโครงการประวัติศาสตร์ฯ เมืองบางขลังยังไม่บรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ซึ่งยังคงเป็นได้แค่เพียงระดับการประสานงาน(Coordination) และการร่วมปฏิบัติการ (Cooperation) โดยความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างเครือข่ายยังไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือประกอบด้วย 1.ทำให้ท้องถิ่นกลายเป็นที่รู้จัก 2.เกิดความตื่นตัวของชาวบ้านที่มีต่อท้องถิ่นของตัวเอง 3. เกิดความรักและสามัคคีของคนในท้องถิ่น ขณะที่ปัญหาและอุปสรรค ประกอบด้วย 1. ปัญหาจากประสบการณ์และทักษะการทำงานของบุคลากรในเครือข่าย 2.ปัญหาจากความต่อเนื่องในการประสานงานโดยเฉพาะหน่วยงานของภาครัฐ 3.ปัญหาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ 4. ปัญหาจากงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 5.ปัญหาจากวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกัน
  • รายการ
    การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด = NEW PUBLIC ORGANIZATION DEVELOPMENT OF THEOFFICE OF THE NARCOTICS CONTROL BOARD
    (2558-01-06T12:47:01Z) พีรพงศ์ รำพึงจิตต์
    การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ใน 2 ประเด็น คือ (1.1) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ (1.2) ศึกษาการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามแนวทางการพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ และ (3) แสวงหาแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาวิธีการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้บรรลุเป้าหมายในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยนำการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ในการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการวิจัยแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชากรกลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ มีจำนวน 240 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) กลุ่มหัวหน้างาน (3) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (4) กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ และ (5) กลุ่มแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจัยการบริหารองค์การที่จะช่วยเสริมสร้างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมองค์การแบบ Apollo) รองลงมาคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (การมีอิทธิพลต่ออุดมการณ์) และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (พัฒนาจากภายนอกภาคราชการ) ตามลำดับ ส่วนระดับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีมิติด้านประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิผล และมิติด้านการพัฒนาองค์การมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยการบริหารองค์การทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สามารถพยากรณ์ความเป็นไปได้ที่มีผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ มีความสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารองค์การกับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • รายการ
    การบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม=BUDDHISM DISSEMINATION ADMINISTRATION OF THE SANGHA SUPREME COUNCIL IN THE GLOBALIZATION
    (2558-01-06T12:37:53Z) พระมหานงค์ อับไพ
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุค โลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของมหาเถรสมาคม และ4) เป็นข้อเสนอแนะการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสงฆ์ในสังกัดของมหาเถรสมาคมในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 รูป ทำการเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบ สอบถามเป็นเครื่องมือ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุปรวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 25 – 34 ปี พรรษาไม่เกิน 5 การศึกษาอยู่ ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ด้านระดับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และประเด็นย่อยทุกประเด็นได้แก่ การอุปถัมภ์บุคลากรผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของชุมชน เป็นศูนย์การเรียนรู้หลักพุทธธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกมิติ การจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ส่วนผลการวิจัยความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม พบว่า ปัจจัยการบริหารทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านปัญหาและอุปสรรคการบริหารของมหาเถรสมาคม พบว่า มหาเถรสมาคมมีการบริหารตามระบบโครงสร้างการปกครองทางคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นการบริหารในแนวดิ่ง ทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้าง เกิดระบบอุปถัมภ์ ระบบสมณศักดิ์เป็นปัญหาต่อการบริหาร งานคณะสงฆ์ส่วนใหญ่เน้นงานด้านการปกครองและการศึกษา ส่วนการเผยแผ่เป็นประเด็นรอง ทำให้ขาดงบประมาณและสื่อการเผยแผ่ จนพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่มีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพระสงฆ์และชาวพุทธทั้งประเทศ พระสงฆ์ขาดความเข้าใจในโลกสมัย ไม่อาจประตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนข้อเสนอแนะพบว่า กรรมการมหาเถรสมาคมควรเกษียณอายุเมื่อครบ 70 ปี ไม่ควรบริหารในแนวดิ่ง ควรสร้างระบบเครือข่ายองค์กรด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาให้มากขึ้น ควรปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องทันสมัยกับการบริหารสมัยใหม่ เน้นให้พระสงฆ์ทำงานด้านการเผยแผ่ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำรงมั่นของพุทธศาสนา
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางแและอิเล็กทรอนิกส์ละขนาดย่อม :กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ =FACTORS INFLUENCING PERFORMANCE OF SMALL AND MEDIUMENTERPRISES: A CASE STUDY OF ELECTRICALAND ELECTRONIC INDUSTRIES
    (2558-01-06T08:45:48Z) ปภพพล เติมธีรกิจ
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อนาเสนอแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการที่แน่นอน สามารถติดต่อได้และจดทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,707 บริษัท(สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, 2554) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จำนวน 325 บริษัท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพมีจำนวน 16 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบพรรณนาและใช้โปรแกรม LISREL8.72 ในการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ตัวแปรต้น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ ตัวแปรภายในประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการ มี 4 ตัวแปร คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ 3) การรับรู้โอกาสทางธุรกิจ และ 4) การบริหารจัดการโอกาส ปัจจัยด้านการเงิน มี 1 ตัวแปร คือ แหล่งเงินทุน ปัจจัยด้านการผลิต มี 3 ตัวแปร คือ 1) วัตถุดิบและแรงงานของการผลิต 2) การควบคุมการผลิต และ 3)คุณภาพการผลิต ปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด มี 4 ตัวแปร คือ 1) ผลิตภัณฑ์ 2) ราคา 3) ช่องทางการจัดจำหน่าย และ 4) การส่งเสริมการตลาด ตัวแปรตาม คือ ผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ 1) การเติบโต 2) การทำกำไร และ 3) ความมั่นคงทางธุรกิจปัจจัยด้านนโยบายส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าปัจจัยด้านนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในระดับค่อนข้างมาก คือ มีการเก็บภาษีต่างๆ ซับซ้อน รองลงมาคือ การเตรียม SMEs ก้าวสู่ ประชาคม ASEN และการอบรมพัฒนาทักษะของบุคลากร ตามลำดับ ปัจจัยด้านนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ในระดับปานกลาง คือ ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานบริษัทขนาดใหญ่ รองลงมาคือ การพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ เทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องถึงสถานการณ์ของไทยตามลำดับ สาหรับปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการ ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านการผลิต และปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรงต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการดาเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการ ปัจจัยด้านการเงิน และปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มี 1 ปัจจัย คือปัจจัยด้านนโยบายโดยส่งผ่านปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการและปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มี 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการ และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการผลิต การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประกอบการมีความเห็นโดยรวมได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะมาตรวจเรื่องการเสียภาษีต่างๆ และการผลิตเพื่อให้ได้การรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านภาวะผู้ประกอบการโดยสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพิ่มความรับผิดชอบให้กับตำแหน่งงาน ปัจจัยด้านการเงิน คือ ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะขาดหรือมีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอที่จะขอกู้ตามที่ต้องการ หรือการบริหารงานยังไม่เป็นมืออาชีพเท่าที่ควร ปัจจัยด้านการผลิตมีโรงงานผลิตสินค้าเองปัญหาทางการผลิตมีมาก เช่น คุณภาพสินค้าไม่สม่าเสมอ ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน อัตราการสูญเสียสูง ไม่สามารถผลิตสินค้าส่งมอบได้ตามกาหนด ปัญหาเครื่องจักรเสียบ่อย ต้นทุนการผลิตสูง เป็นต้น ผู้ประกอบการจึงมีแผนกตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐานทำให้ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าที่ออกจากโรงงานหมดไป ปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด เกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น สินค้าที่ผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ไม่สวยงาม ตราสินค้าไม่เป็นที่รู้จัก เป็นต้น ทำให้การตลาดทำได้ยากลำบาก
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพ การศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    (2557-12-04T10:21:14Z) กานต์ เสกขุนทด
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ เพื่อหาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ และ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง 15 แห่ง จำนวน 689 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยด้านการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยด้านศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2.บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยด้านการสนับสนุนการปฏิบัติ ปัจจัยด้านศักยภาพหน่วยปฏิบัติ และความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน 3.ปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ และปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.สมการพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ เขียนในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ =1.360+.673X10+.410X7+ .217X9+ .170X2+ .117X12+ .098X8+ .066X3-.055X1 จากสมการแสดงว่า เมื่อเพิ่มหรือลดการบริหารจัดการในหน่วยปฏิบัติ (X10)การพัฒนาบุคลากร (X7) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X9) ความสอดคล้องของแนวปฏิบัติ (X2) ระบบการทำงาน (X12) โครงสร้างองค์การ (X8) มาตรฐานนโยบาย (X3) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางเดียวกัน และเมื่อเพิ่มหรือลดวัตถุประสงค์นโยบาย (X1) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางตรงกันข้าม และ = .803+.800ORG+.192POL+ .167SUP จากสมการแสดงว่า เมื่อเพิ่มหรือลดปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติ(ORG)ปัจจัยสาระนโยบาย (POL)และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน(SUP) จะมีผลทำให้ความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติเพิ่มหรือลดในทิศทางเดียวกัน 5.การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยว่า ปัจจัยสาระนโยบาย ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติ และปัจจัยศักยภาพหน่วยปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ
  • รายการ
    ปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมี ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจใน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    (2557-12-03T12:49:29Z) สำเริง ไกยวงค์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์กรธุรกิจจำนวน 476 องค์กรถูกเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกโดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการเผยแพร่ความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อพนักงาน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่ ผลิตภาพการผลิต พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี และการรักษาพนักงานไว้ในองค์กร 2. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการแสวงหาความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อนวัตกรรม 3. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาดและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าและพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี 4. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น แต่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อ ผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไร แต่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อผลิตภาพการผลิต 5. วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด การแสวงหาความรู้ และการเผยแพร่ความรู้ในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อชุมชน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อชุมชนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กร 6. วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง การตีความหมายของความรู้ และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลิตภาพการผลิต นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางอ้อม เชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่และผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถ ในการทำกำไรโดยมีความภักดีของลูกค้าเป็ นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงลบต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรกการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก
  • รายการ
    แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ ประเมิน คุณภาพรัฐวิสาหกิจกรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    (2557-12-03T08:44:41Z) กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1)เพื่อศึกษาสถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) 2)เพื่อการศึกษาปัจจัยแหง่ ความสำเร็จเพื่อ ความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal :SEPA) 3) เพื่อทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์ของการนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคาระห์การความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลการจัดการกระบวนการ การมุ่งเน้นนวัต กรรม และผลลัพธ์ทางธุรกิจ 4)เพื่อ นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใีช้ในการวิจัย คือพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 844 คน เก็บข้อมูลได้จำนวน 773 คน คิดเป็น 91.6 % สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา ประกอบด้วย ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตอ้างอิงเพื่อ การทดสอบสมมติฐาน และแบบจำลอง คือ การวิเคราะห์รูปแบบสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model :SEM)โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) พบว่า ส่วนใหญ่แต่ละหมวดขององค์การมีจุดแข็ง ยกเว้นเรื่องหมวดการจัดทำกลยุทธ์และการวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุงผลการดำเนินการ 2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ได้แก่ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์,การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร,การสื่อสารที่มีประสิทธิผล โดยใช้การสื่อสาร 2ทางเพื่อ ให้พนักงานทุกระดับได้รับข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายบริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม, การเป็นองค์กรที่ทำงานเป็นทีม ,ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการโดยใช้ข้อเท็จจริงเพื่อ การตัดสินใจขององค์กร มีค่าเฉลี่ยี (X) = 4.19, 4.17, 4.16, 4.15, 4.14 และ 4.08 ตามลำดับ 3. แบบจำลองเพื่อ ความเป็น เลิศตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยที่ค้นพบได้ผลการตรวจความตรงของแบบจำลองมีคา่ ดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้อง (GFI) เทา่ กับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับรับแก้แล้ว(AGFI)เท่า กับ0.96 ค่า RMR เท่ากับ 0.012 มีค่า Chi-Square = 98.53 df =81 P-value = 0.09009 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์(Chi-Square / df)มีค่าเท่ากับ 1.22 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 และ RMSEA = 0.017 4. แนวทางการพัฒนาสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อความเป็น เลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ พบว่า ปัจจัยสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่ การนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจ การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้้ การมุ่ง เน้นทรัพยากรบุคคลการจัด การกระบวนการและการม่งุมุ่ง เน้นนวัตกรรม มีความสำคัญต่อ ด้านการบริหาร ความเป็นเลิศกล่าวได้ว่า องค์การต้องมีการสื่อสารนโยบายเพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลลัพธ์ความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  • รายการ
    การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    (2557-11-26T09:07:25Z) เพ็ญนภา ชูพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 374 คน จาก 38 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้อำ นวยการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการ สัมภาษณ์ ทั้งยังดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายระดับสูงของกระทรวงและระดับสูงของกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เครือข่ายเพื่อการศึกษาเด็กและการสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้นำ ชุมชนผู้ปกครอง กลุ่มองค์กรนอกระบบ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เช่น ปัญหาทางวิชาการค่อนข้างตำด้านบุคลากรขาดแคลนครูและไม่สามารถจัดครูให้ตรงวิชาเอกให้ ตรงกับสาระวิชาการเรียนการสอนได้ ด้านงบประมาณ ยังมีการจัดงบประมาณตามรายหัวนักเรียนซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบการแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ทั้งด้านนิเทศติดตามผลและขวัญกำลังใจ ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจรูปแบบในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้มีการ ดำเนินการในหลายรูปแบบทั้งการแสวงหาความร่วมมือ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือจัดรถรับ –ส่งนักเรียน ตลอดถึงการจัดตั้งโรงเรียนดีในชุมชนใกล้บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนา ลูกมาเข้าเรียนใน ทั้งยังไม่ประสบความสาเร็จขาดความต่อเนื่องในดำเนินนโยบายทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพยังไม่ดีพอยังคงอยู่ ทำให้ผู้ปกครองบางส่วนยังต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองอยู่ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนรูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การแก้ไขปัญหาต้องมีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วัฒนธรรม และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีนโยบายให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องในการแสวงหาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติ งานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกัน เช่น ส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดระบบการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนหรือการสอนแบบคละชั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการจัดงบประมาณในรูปแบบของกองทุนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูที่เกษียณอายุราชการแล้วมาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้ถึงโรงเรียนขนาดเล็กอย่างทั่วถึง ทั้งการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพให้เกิดการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เกิดความอิสระและคล่อง ตัวให้เป็นโรงเรียนดีในชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่แต่ละแห่งจะมีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นสภาพภูมิศาสตร์และบริบทอื่นๆ ที่ แตกต่างกัน ตลอดถึงการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในเรื่องการจัดการศึกษาของตนเอง และการกระจายอานาจไปสู่ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กให้มากขึ้น
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    (2557-11-26T08:49:22Z) วัชรินทร์ สุทธิศัย
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปรับปรุงพัฒนาในการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบุคลากรสายวิชาการหรือผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบุคลากรสายปฏิบัติงานหรือสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 308 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสาหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก 2 ปัจจัย คือ ด้านความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านการติดตามการดำเนินงาน ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 7 ปัจจัย คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านการเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสาร และด้านสมรรถนะขององค์การ 2. ปัจจัยภายนอกเหนือการควบคุมที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3 ปัจจัย คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ และด้านสภาพทางสังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ปัจจัย คือ ด้านการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3. การนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติระดับความสาเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4 ด้าน คือ ด้านการทานุบารุงศิลปและวัฒนธรรมด้านผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ด้านการสอน และด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลาง 1 ด้าน คือ ด้านการวิจัย 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายวิชาการและสายผู้สอน คือ ปัจจัยการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยการติดตามการดำเนินงานขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้ำหนักสูงสุด 5. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายสนับสนุนหรือสายปฏิบัติ คือ ปัจจัยสมรรถนะขององค์การ ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการ ติดตามการดำเนินงาน และปัจจัยเทคโนโลยี อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้าหนักสูงสุด 6. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏประสบความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล รายงานผล และทบทวนอยู่เป็นประจำ นโยบายต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม ที่สำคัญผู้บริหารสูงสุดต้องเข้าใจและสนับสนุนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศให้ได้ และจัดทำนโยบายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีเป้าหมายชัดเจนสู่ทุกระดับ ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เป็น โครงการที่สามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนจากรัฐได้ นโยบายแนวทางที่มีประโยชน์ ต้องมีงบประมาณดูแล ควบคุมอย่างต่อเนื่อง วางแผน พัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มรูปแบบ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงความเจริญก้าวหน้า อยู่ตลอดเวลา ฯลฯ วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ มีกรอบการดาเนินงานชัดเจน และมีมาตรการสำหรับกำกับควบคุมการทำงานเลือกคนให้เหมาะกับงาน บูรณาการ การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ มีเครือข่าย
  • รายการ
    การนำนโยบายการศึกษาของสงฆ์ไปปฏิบัติ : วิเคราะห์การดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    (2557-11-25T08:28:00Z) พระมหามหรรถพงศ์ ศรีสุเมธิตานนท์
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาถึงระดับการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 2)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 4)เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในระดับผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายปฏิบัติการ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย จำนวน 250 รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ทุกขั้นตอนพบว่า จากการศึกษาสภาพการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างการดำเนินการนโยบายการศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมุ่งให้การศึกษา การวิจัยทางพระพุทธศาสนา การให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการดำเนินการการนำ นโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่กำหนดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ด้านการให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการดำเนินการการนำนโยบาย การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติโดยรวม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านขอบข่ายนโยบาย ด้านทรัพยากรนโยบายด้านการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมีผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยก็พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยยังมีบุคลากรด้านการวิจัยไม่เพียงพอและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนของมหาวิทยาลัยยังมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีไม่มากพอ เป็นต้น ประเด็นปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้เพื่อให้การดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มที่ขาดทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง รวมทั้งการแสวงหาวิธีการให้บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบของการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เพื่อนำเสนอให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
  • รายการ
    ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม
    (2557-11-25T07:50:39Z) เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจ
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (2)เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (4)เพื่อศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (5)ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม และ (6)ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาข้อมูลจากพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 304 คน และประชาชน จำนวน 200 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวมจำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า (1)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านปัจจัยภายนอกมีปัจจัยกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับปัจจัยภายในมีปัจจัยภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2)ระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการสาธารณะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับ ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจมากที่สุด (4)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านภาวะผู้นำ วิธีการบริหารงาน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยที่สามารถนำนำมาสร้างเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ (5)ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ค้นพบ ประกอบด้วย 1)ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 2)กฎ ระเบียบข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 3)พนักงานมีทัศนคติเชิงลบต่อนโยบายใหม่ๆ 4)ให้ความสำคัญกับการขอปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้นมากกว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เหมาะสมกับการเลื่อนตำแหน่ง 5)การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และกฎระเบียบขาดความเหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน 6)พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา 7)พนักงานขาดศักยภาพในการเรียนรู้ และ 8)จำนวนพนักงานไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และ (6) แนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานมีดังนี้1)ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2)จัดทำแผนให้ครอบคลุมครบทุกมิติ 3)การจัดทำข้อตกลงเพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน (MOU) กับหน่วยงานอื่นๆ 4)การจัดประชุมพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน 5)มีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของนโยบายต่อพนักงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องทั้งองค์การ 6)การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และการปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้น 7)นำความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชนเป็นตัวตั้งในการกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย 8)พิจารณาถึงผลกระทบต่อท้องถิ่น/ชุมชน และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นก่อนกำหนดกิจกรรมในพื้นที่ 9) กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานในการขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม 10) เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และส่วนราชการอื่นๆ ได้เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 11)จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานสมัยใหม่ให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง 12)จัดทำระบบพี่เลี้ยงเข้ามาให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานแก่พนักงาน 13)สนับสนุนให้มีการนำวิธีการบริหารงานสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และ 14) จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามนโยบาย
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
    (2557-11-25T06:49:44Z) ฉัตรา โพธิ์พุ่ม
    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)(2)ศึกษาการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารทรัพยากรบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล (3)ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)(4)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)และ (5)ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชนกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 3 ท่าน โดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และบุคลากรระดับผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วยระดับปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 287 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.960 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจภาครัฐ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 และด้านประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 การบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านความแตกต่างตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารงานบุคคล มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านภาวะผู้นำ และด้านบริหารทรัพยากรบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่า ตัวแปรตำแหน่งตามวิชาชีพ (เทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ และเภสัชกร) ตัวแปรอายุงาน(น้อยกว่า 1ปี)ตัวแปรรายได้ต่อเดือน (ระหว่าง 15,001- 25,000 บาท) ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล ปัจจัยอีก 6 ด้าน พบว่ามีเพียง 5 ปัจจัย ได้แก่ ตัวแปรด้านโครงสร้างองค์การ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านภาวะผู้นำ มีอิทธิพลต่อการบริหารงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ปัญหาอุปสรรค พบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 36.36 รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมองค์การ คิดเป็นร้อยละ 27.28 ส่วนด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านโครงสร้างองค์การ มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 18.18 ผู้บริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้รูปแบบองค์การมหาชนในการบริหารสาธารณสุขไทย แต่ควรได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายอย่างจริงจังจากรัฐบาล และการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆในการบริหารองค์การ รวมไปถึงการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ
  • รายการ
    กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงิน ให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาในอนาคต
    (2557-11-25T06:35:58Z) จารุวรรณ เป็งมล
    การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในอนาคต” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอว่าควรนำกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาใช้ในการบริหารจัดการกยศ.ในอนาคต กยศ. ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาไปแล้วกว่า 3.7 ล้านราย และใช้งบประมาณแผ่นดินไปกว่า 3 แสนล้านบาท แต่นับว่ายังไม่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและ CSR เป็นหน่วยวิเคราะห์ เพื่อนำมวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) จากผลศึกษา กยศ. ควรนำแนวคิด CSR มาใช้ในการบริหารจัดการมากกว่าเดิม และควรอยู่ในกระบวนการทำงานหลักขององค์กร เป็น“CSR in-process" โดยปรับปรุงข้อกำหนด ข้อบังคับ หรือกฎหมาย และควรมีกลยุทธ์ด้าน CSR ที่เป็นที่ยอมรับเป็นเครื่องมือ อาทิ นโยบายการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ (Good governance) มาตรฐาน ISO 26000 การกำหนดให้ CSR เป็นยุทธศาสตร์หลักของ กยศ. เชื่อได้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อ นักเรียน นักศึกษา และสังคมโดยรวม ทำให้กยศ.ประสบความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา และขับเคลื่อนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง