มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2553-05-18T07:08:24Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีประเด็นในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมาย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตการชุมนุมและปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ในการชุมนุม ผลการศึกษา พบว่า การชุมนุมในพื้นที่สาธารณะนั้น ยังไม่มีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้ ภาครัฐควรหามาตรการที่สำคัญเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ควรมีมาตรการการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมฝูงชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมเกิดขึ้น มีมาตรการการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากประชาชนในการหาข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มมาตรการในการกำชับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่ขยายขอบเขตการชุมนุม มีมาตรการในการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความรู้สึกความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชุมนุมของประชาชน และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ได้ที่หน่วยงานของภาครัฐในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ควรออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้เกี่ยวกับการควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ซึ่งได้แก่ ห้ามมีการชุมนุมใกล้กับสถานที่สำคัญของราชการและชุมชนเป็นระยะทางที่ห่างไกลพอสมควรเพื่อมิให้เกิดอันตรายจากการชุมนุมได้ ห้ามมิให้มีการชุมนุมในช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ลงจนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ ในการชุมนุมในแต่ละครั้งจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการชุมนุม เมื่อประชาชนมีประสงค์ที่ต้องการจะชุมนุมจะต้องมีการแสดงความจำนงด้วยการยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมด้วยระบุเหตุผลที่ต้องการชุมนุม ระบุจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมการชุมนุม รายชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน โดยยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มิให้ผู้ชุมนุมสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือประชาชนที่ผ่านไปมา มิให้มีการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะในลักษณะที่กีดขวางต่อการจราจรและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ในการชุมนุมของประชาชนในแต่ละครั้งผู้ชุมนุมควรใช้สถานที่หรือบริเวณที่ทางราชการจัดไว้ให้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยของผู้ชุมนุม และเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถการควบคุมการชุมนุมมิให้เกิดความรุนแรง เมื่อผู้ชุมนุมมีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับชุมนุมสามารถที่จะสั่งระงับการชุมนุมได้

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, รัฐธรรมนูญ, การชุมนุม, พื้นที่สาธารณะ

การอ้างอิง

คอลเลคชัน