สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปืนในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490: ศึกษากรณีนำเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์(2555-10-11T07:55:08Z) ธีระชัย สรรเสริญสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 เกี่ยวกับการนำเอาสิ่งเทียมอาวุธปืนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจาก ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดออกมาควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน ทั้งในเรื่องของการซื้อสิ่งเทียมอาวุธ ปืน การครอบครองและการพกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ประเภทของสิ่งเทียมอาวุธปืนที่ต้องการควบคุม และด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการอาศัยช่องว่างของกฎหมายนำเอาสิ่งเทียมอาวุธปืนไปใช้ผิด วัตถุประสงค์ โดยนำเอาไปใช้เป็นอาวุธในการกระทำความผิด เนื่องจากสิ่งเทียมอาวุธปืนเป็นสิ่งซึ่ง มีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการแก้ไข กฎหมายโดยต้องมีการกำหนดมาตรการในการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน เกี่ยวกับการกำหนด ความหมายและประเภทของสิ่งเทียมอาวุธปืน ว่าสิ่งใดที่ต้องการควบคุมไว้ในประกาศกระทรวง รวมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ในการมีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครองให้ชัดเจน เรื่องการ นำเข้าหรือส่งออกสิ่งเทียมอาวุธปืน โดยกำหนดบทลงโทษให้หนักขึ้นทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ในเรื่องของการนำเข้าหรือส่งออกสิ่งเทียมอาวุธปืนที่ผิดกฎหมาย การกำหนดหลักเกณฑ์การขอ อนุญาตครอบครองและพกพาสิ่งเทียมอาวุธปืนและควรกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีสิ่งเทียม อาวุธปืนไว้ในครอบครองหรือพกพาหากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตโดยให้ถือว่ามี ความผิดเท่ากับมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง เพื่อควบคุมจำนวนผู้ครอบครองหรือพกพาให้อยู่ ในวงจำกัดและเพื่อให้การควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดรายการ ปัญหาการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง: ศึกษากรณีคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นคนต้องห้าม(2555-10-11T07:45:26Z) วีระชัย ถิ่นกมุทสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกรณีคนต่างด้าวที่ตก เป็นคนต้องห้ามเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรไทย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กรณี บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางเข้ามาและออกนอกราชอาณาจักรไทย และเมื่อได้รับอนุญาตให้ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว หากคนต่างด้าวนั้นมีพฤติการณ์ที่สมควรเพิกถอนสิทธิที่ได้รับ อนุญาต กรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจจะมีอำนาจในการสั่งให้คนต่างด้าวดังกล่าวออกนอก ราชอาณาจักรได้หรือไม่ อย่างไร เนื่องจากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่ บังคับใช้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ที่ได้วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศโดยมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองสามารถใช้ดุลพินิจออกคำสั่งทางปกครองได้อย่างกว้างขวาง การบังคับ ใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ฉบับนี้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากเป็นการออก คำสั่งทางปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมาย ถูกต้องตามระเบียบ เหมาะสมและในกรณีเฉพาะรายจะต้องไม่ใช้อำนาจอย่างไร้ซึ่งเหตุผลหรือเกินสมควรแก่เหตุ จาก ปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการกำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจอย่าชัดเจน เกี่ยวกับกรณีใดที่สมควรให้เพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และการที่ กฎกระทรวงให้อำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็น อำนาจเสร็จเด็ดขาดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงเสนอแก้ไขว่าควรให้คณะกรรมการ พิจารณาคนเข้าเมืองโดยการเสนอของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใกล้ชิดกับ ปัญหาและเป็นอำนาจโดยแท้ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพื่อเป็นการควบคุมการใช้อำนาจ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองควรมีอำนาจจับกุมและส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายก่อนที่จะทำการผลักดันออก นอกประเทศ เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวในการกระทำความผิดซ้ำอีก การห้ามบุคคลต่างด้าวที่ไม่มี ปัจจัยยังชีพหรือไม่มีเงินติดตัวเข้ามาเป็นภาระของประเทศควรจะต้องมีการปรับปรุงจำนวนเงินให้ เพิ่มมากขึ้นจากเดิมและบัญญัติโรคต้องห้ามเพิ่มเติมจากที่กฎกระทรวงกำหนดไว้เดิม เนื่องจากใน สถานการณ์ปัจจุบันโรคต่าง ๆ มีการพัฒนาไปตามสภาวการณ์ของโลก และผู้ศึกษาเห็นว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย ควรเป็นหน่วยงานที่มีเอกภาพในการออกหนังสือเดินทางและ มีอำนาจในการตรวจลงตราให้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้เอง ซึ่งหาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจเต็มในการดำเนินการดังกล่าวแล้วโอกาสในการพัฒนาระบบ การตรวจผ่านแดนให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขุดดินถมดิน บ่อดิน(2555-10-11T07:39:07Z) ไชยดิษฐ์ ปัญญาเหมือนสกุลในการค้นคว้าครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ขุดดินหรือทำบ่อดิน และการถมดิน ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ายังมี หลักเกณฑ์และข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม และบทบัญญัติของกฎหมายซ้ำซ้อนกับบทกฎหมาย อื่น เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และข้อบัญญัติท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้เป็นอุปสรรคในการ ธุรกิจดังกล่าว จึงเห็นควรศึกษาและนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อขจัดปัญหาให้หมดไปดังนี้ 1. ปรับปรุง บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ที่เป็นอุปสรรค ในการประกอบกิจการหรือธุรกิจการขุดดินหรือทำบ่อดิน ถมดิน ที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับบทกฎหมาย อื่น เพื่อรวมและบังคับใช้ตามพระราชบัญญัตินี้ 2. แก้ไข หลักเกณฑ์ที่เป็นปัญหา อุปสรรค เพื่อลดขั้นตอน และเพื่อความสะดวกในการขอ การลงทุนประกอบกิจการหรือธุรกิจ การขุดดินหรือทำบ่อดิน และถมดิน เพื่อให้เอื้อต่อการส่งเสริม การลงทุนของภาคเอกชน ตามนโยบายของรัฐบาล 3. ปรับปรุงเพิ่มเติม มาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจหรือ การประกอบกิจการ ขุดดินหรือบ่อดิน และถมดิน ให้รัดกุม ไม่ก่อผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน 4. จำกัดอำนาจการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเพิ่มบทบาทอำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ และเพิ่มมาตรการบทกำหนดโทษบางประการเพื่อ ให้สามารถบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ให้ได้ผลดีอย่างขึ้นรายการ ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมสถานที่(2553-05-18T08:31:00Z) ยุทธพล บุญเกิดการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมสถานที่การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมสถานที่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ มาตรการ และนโยบาย ต่างๆ ที่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บทกำหนดโทษ ที่มีทั้งโทษจำคุก และโทษปรับ ซึ่งถือเป็นมาตรการทางกฎหมายในลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรงต่อผู้ที่ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายกลับมีผลที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง ยังไม่มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันเท่าที่ควร ผลจากการศึกษาพบว่า ปัญหาของการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามที่รัฐบาลได้วางนโยบายในการแก้ไขปัญหา ยังไม่มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ไม่สามารถที่จะควบคุมปัญหาให้ตรงตามวัตถุประสงค์และตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ ด้วยเหตุจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลายประการ ทั้งจากตัวบทกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ สภาพแวดล้อมของสังคมในแต่ละภูมิภาค วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมท้องถิ่นชนบทและสังคมเมืองที่มีความแตกต่างกัน ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ในการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเสมอภาค ยุติธรรม และทัดเทียมกันในสังคม การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย รวมถึงนโยบายของรัฐยังมีประเด็นปัญหาตามนโยบายเปิดประเทศเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนวมาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมาควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังไม่มีผลการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2535 พระราช- บัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2546 เป็นต้น แต่กฎหมายเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ลดการบริโภคและรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่างใด การบังคับใช้กฎหมายยังมีผลประโยชน์แอบแฝงของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานบันเทิง ผับ บาร์ต่างๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบในสถานบริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงไม่มีความเกรงกลัวต่อตัวบทกฎหมายที่จะลงโทษต่อผู้ที่ฝ่าฝืนแต่อย่างใด จากผลของการศึกษานี้ควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการบังคับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 รวมถึงบทกำหนดโทษ ที่กำหนดไว้ทั้งโทษจำคุก และโทษปรับ และควรมีการลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้ที่ฝ่าฝืนตามบทบัญญัติดังกล่าวรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างการสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา(2553-05-18T08:24:25Z) ชัชญาภา พันธุมจินดาการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้น มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจและให้เด็กกลับคืนสู่สังคมต่อไป มิใช่การดำเนินคดีเพื่อลงโทษให้หลาบจำดังเช่นผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการให้ทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำในชั้นสอบสวน การให้ผู้ที่เด็กไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบปากคำ การแยกการสอบสวนที่ให้กระทำเป็นสัดส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก ต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้อธิบายคำถามของพนักงานสอบสวนมิให้เด็กต้องได้รับการกระทบกระเทือนใจจากคำถามที่พนักงานสอบสวน แต่การดำเนินการในการสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหายังมีปัญหาข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนสิทธิของเด็กที่เป็นผู้ต้องหาดังนี้ 1.ปัญหาการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ทำให้ยังมีการนำผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก นำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน อันเป็นการประจานเด็กและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำวินิจฉัยว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีไม่ใช่การสอบถามปากคำและไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติโดยเฉพาะจึงไม่ต้องมี สหวิชาชีพเข้าร่วมในการดำเนินการดังกล่าว 2. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 /2ประกอบมาตรา 133 ทวิ จะกำหนดให้การสอบปากคำเด็กที่เป็นผู้ต้องหาต้องมีบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ เพื่อให้เด็กมีความอุ่นใจและผ่อนคลายในขณะถูกถามปากคำ แต่เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดว่าบุคคลที่เด็กร้องขอจะเป็นผู้ใด ซึ่งต่างจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การสอบสวนเด็กต้องกระทำต่อหน้าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง 3. แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะกำหนดให้มีทนายความเข้าร่วมการสอบสวนแต่ก็มิได้มีระยะเวลาในการพบและให้คำปรึกษากับเด็กเพื่อให้เด็กทราบถึงสิทธิหน้าที่ของเด็กในการสอบปากคำ ทำให้เห็นว่าการมีทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำเด็กในปัจจุบันได้กระทำเพื่อให้ครบองค์ประกอบตามกฎหมายเท่านั้นไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีการกำหนดไม่ให้การนำชี้ที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหาในที่สาธารณชนและในกรณีที่มีการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา ต้องมีสหวิชาชีพและทนายความเข้าร่วมดำเนินการด้วย และบุคคลที่เด็กร้องขอให้เข้าร่วมการสอบสวนควรจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก นอกจากนี้ต้องกำหนดระยะเวลาให้เด็กที่เป็นผู้ต้องหาได้พบและปรึกษาทนายความก่อนการสอบสวนด้วยรายการ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550(2553-05-18T07:08:24Z) พิศาล หงษ์ฝาแก้วการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีประเด็นในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมาย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตการชุมนุมและปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ในการชุมนุม ผลการศึกษา พบว่า การชุมนุมในพื้นที่สาธารณะนั้น ยังไม่มีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้ ภาครัฐควรหามาตรการที่สำคัญเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ควรมีมาตรการการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมฝูงชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมเกิดขึ้น มีมาตรการการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากประชาชนในการหาข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มมาตรการในการกำชับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่ขยายขอบเขตการชุมนุม มีมาตรการในการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความรู้สึกความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชุมนุมของประชาชน และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ได้ที่หน่วยงานของภาครัฐในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ควรออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้เกี่ยวกับการควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ซึ่งได้แก่ ห้ามมีการชุมนุมใกล้กับสถานที่สำคัญของราชการและชุมชนเป็นระยะทางที่ห่างไกลพอสมควรเพื่อมิให้เกิดอันตรายจากการชุมนุมได้ ห้ามมิให้มีการชุมนุมในช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ลงจนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ ในการชุมนุมในแต่ละครั้งจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการชุมนุม เมื่อประชาชนมีประสงค์ที่ต้องการจะชุมนุมจะต้องมีการแสดงความจำนงด้วยการยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมด้วยระบุเหตุผลที่ต้องการชุมนุม ระบุจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมการชุมนุม รายชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน โดยยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มิให้ผู้ชุมนุมสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือประชาชนที่ผ่านไปมา มิให้มีการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะในลักษณะที่กีดขวางต่อการจราจรและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ในการชุมนุมของประชาชนในแต่ละครั้งผู้ชุมนุมควรใช้สถานที่หรือบริเวณที่ทางราชการจัดไว้ให้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยของผู้ชุมนุม และเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถการควบคุมการชุมนุมมิให้เกิดความรุนแรง เมื่อผู้ชุมนุมมีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับชุมนุมสามารถที่จะสั่งระงับการชุมนุมได้รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(2553-05-16T08:25:09Z) พัลลภ นาคทรัพย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเกิดการบังคับใช้ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เช่น การจำหน่ายโดยคิดอัตราค่าเสื่อมสภาพร้อยละ 20 จากราคาซื้อหรือได้มาครั้งแรกเป็นราคาประเมิน ขั้นต่ำในการขายทอดตลาดเพราะปัจจุบันราคาพัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในราชการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติได้ปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจจึงต้องมีการกำหนดคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นใหม่ ปัญหาการสืบราคาจากผู้ประกอบอาชีพซื้อขายจริงระเบียบกำหนดให้เพียง 3 รายรวมถึงการเช่า อสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) เพื่อใช้เป็นที่เก็บสิ่งของหลวงเพื่อความปลอดภัยของพัสดุเนื่องจากสถานที่ เก็บคับแคบไม่เพียงพอและปัญหาการอนุมัติว่าจะใช้ตำแหน่งใดเป็นผู้อนุมัติเพราะกฎหมายไม่ได้ ระบุตำแหน่งใดไว้เป็นการโดยเฉพาะตลอดจนการประกาศเผยแพร่ในการปิดประกาศการประมูล ขายทอดตลาดที่จำกัดเฉพาะในวงแคบเพียงสถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาดและปัญหาสุดท้ายสิ่ง ที่จำเป็นที่สุดคือบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเองในการใช้อำนาจไปในทางที่ มิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้มีการเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้องตนเองมีการล็อคสเป็คในการ จำหน่ายพัสดุ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายอย่างละเอียดพบว่า ควรแก้ไขปรับปรุง ระเบียบเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีการคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเสียใหม่เป็นร้อยละ 30 จากราคาที่ซื้อหรือได้มาครั้งแรกตามภาวะเศรษฐกิจเพื่อให้การจำหน่ายพัสดุรวดเร็วยิ่งขึ้นราคาไม่แพงเกินไปและ ให้กำหนดผู้สืบราคาประเมินพวกที่มีอาชีพซื้อขายอย่างน้อย 6 รายขึ้นไปจะทำให้มีการจำหน่ายที่ สะดวกขึ้น ตามด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) ถ้าระบบจำหน่ายที่รวดเร็วถูกต้องตามระเบียบ แล้วการเช่าสถานที่ก็จะใช้พื้นที่เก็บสิ่งของหลวงน้อยลงค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงน้อยลงด้วยจากเดือนละ 20,000 บาท กำหนดให้เหลือ 10,000 บาท ทำให้ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการเช่าดังกล่าว การจำหน่ายพัสดุในหน่วยงานของรัฐมีการกำหนดวงเงินของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจ ไว้หลายตำแหน่งวงเงินสมควรที่จะกำหนดเพียงตำแหน่งเดียวคือ ผู้บังคับการซึ่งเป็นหัวหน้าส่วน ราชการเป็นผู้สั่งให้มีการจำหน่ายเพียงตำแหน่งเดียวเพื่อให้พัสดุที่มีราคาสูงมากๆ ได้จำหน่ายไปใน คราวเดียวกันตามวงเงินที่ได้คือไม่เกิน 1,000,000 บาท และการประกาศเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัสดุที่จะขายทอดตลาดควรกำหนดให้มีมากกว่าหนึ่งสถานที่ อาจรวมถึงลงเว็บไซด์เพื่อให้มี ผู้สนใจมาสู้ราคามากขึ้นเกิดผลดีต่อหน่วยราชการทำให้มีการขายทอดตลาดได้คล่องตัวมากขึ้น ปัญหาสุดท้ายที่พบและสำคัญที่สุดที่ต้องมีบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เพื่อ มิให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเกี่ยวกับพัสดุใช้อำนาจไปทางที่มิชอบไม่เป็นธรรมและโปร่งใสในการ จำหน่ายพัสดุที่ต้องวางตัวเป็นกลางไม่เห็นแก่สินบนผลประโยชน์สิ่งอื่นใดรายการ ปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอบสวน: ศึกษากรณีที่ผู้เสียหาย และหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก(2552-08-28T07:56:57Z) ชุติวัฒน์ ทนทานด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีกรณีที่เด็กตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดทางเพศ หรือการถูกทำร้ายในด้านต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของเด็กอย่างรุนแรง สารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี สิทธิมนุษยชนตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 26 พ.ศ.2550 และปัญหาที่มีผลกระทบจากการสอบสวนเด็กในคดีอาญา ซึ่งได้นำเอาแนวความคิดจากการสอบสวนเด็กในต่างประเทศมากำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยมีการกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน และรวมถึงวิธีการให้มีลักษณะแตกต่างจากวิธีการสอบสวน การฟ้องร้องและการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป จากการศึกษา พบว่าวิธีการสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น มีการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากความไม่พร้อมในด้านบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ และวิธีการทำงานตลอดจนรูปแบบองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างเหมาะสม จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลตามเจตนารมณ์อย่างชัดเจน จึงเห็นควรจัดให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติร่วมกันอย่างชัดเจน มีระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหายและพยานที่เป็นเด็ก และหน่วยงานพิเศษในแต่ละองค์กร มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ต่อไปรายการ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545(2552-08-28T07:44:41Z) คำรณ รอดมาการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดยมีประเด็นในการศึกษาว่าการกำหนดหน้าที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการจัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 และ มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้น มีความชัดเจนในการบังคับใช้หรือไม่ โดยวิเคราะห์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ข้อบังคับในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 และ หลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 นั้น ขาดความชัดเจนที่จะนำมาใช้บังคับใช้ได้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดความหมายของคำว่าบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง 2. ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหน้าที่ของสถานประกอบการ 3. ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา 4. ปัญหาเกี่ยวกับข้อยกเว้นหน้าที่ของบิดา มารดา5. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบการเข้าเรียนของการศึกษาภาคบังคับ 6. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ ส่งผลให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหกไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับอย่างเสมอภาคกันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก สามารถได้รับการศึกษา ภาคบังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับต่างๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้แก่ 1.1 กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้ปฏิบัติตาม หน้าที่ในการส่งบุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 1.2 กำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดชอบของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดสาเหตุที่จะขอผ่อนผันหรือขอยกเว้นหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอนและไม่นานเกินไป 1.3 กำหนดความหมายของบิดา มารดา หรหือผู้ปกครองให้ชัดเจน 2. กำหนดความหมายของสถานประกอบการให้ชัดเจนว่าหมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบ- การใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ในที่นี้ เป็นการกล่าวถึงสถานประกอบการที่ไม่ใช้สถานศึกษาและกำหนดหน้าที่ของสถานประกอบการที่ชัดเจนต่อการรับผิดชอบผู้เข้าทำงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ 3. กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาภาคบังคับและผู้มีสิทธิจัดการศึกษาให้ชัดเจน 4. กำหนดหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดย 4.1 กำหนดวิธีการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.2 กำหนดโทษในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบของพนักงาน เจ้าหน้าที่ 5. กำหนดให้มีมาตรการบังคับรัฐ และสถานศึกษารายการ ปัญหาการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร(2552-08-28T07:33:08Z) สุพรรษา ศิลปเสริฐการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนั้น กำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยภาษีใดต้องนำเงินได้ที่ตนก่อให้เกิดขึ้นในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว มาคำนวณยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีโดยวิธีการประเมินตนเอง (Self–assessment) ตามแบบและวิธีการที่กฎหมายกำหนด และบทบัญญัติแห่งมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้นำเงินได้ของภรรยาตามมาตรา 40 (2)–(8) มารวมกับเงินได้ของสามีเพื่อคำนวณภาษี การนำเงินได้ของภรรยามารวมกับสามีโดยให้ถือเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี ทำให้เงินได้ของสามีซึ่งเป็นฐานภาษีมีจำนวนสูงขึ้น และมีภาระภาษีสูงขึ้น เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นใช้อัตราก้าวหน้า แม้ตามประมวลรัษฎากรให้สิทธิภรรยาสามารถแยกยื่นรายการและภาษีต่างหากจากสามีแต่ตามมาตรา 57 เบญจ จะให้สิทธิภรรยาแยกยื่นรายการและภาษีเงินได้พึงประเมินเฉพาะตามมาตรา 40 (1) อันเป็นรายได้จาก เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นรายได้จากการใช้น้ำพักน้ำแรง แม้ตามมาตรา 57 ตรี ให้สิทธิภรรยาแยกยื่นรายการและภาษีจากสามีก็ตาม แต่ตามมาตรา 57 ตรี วรรค-สอง การแยกยื่นของภรรยาท้ายสุด ก็ไม่ต่างจากการนำเงินได้ของภรรยาไปถือเป็นเงินได้ของสามี เนื่องจากเงื่อนไขของการแยกยื่นรายการจะต้องไม่ทำให้ภาษีต้องเสียเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นสิทธิบางประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของคู่สมรสในประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการที่ประเทศไทยใช้หลักการรวมเงินได้ (Income Aggregation) บุคคล 1 บุคคล กับคนโสดหรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรส ของคู่สมรส ก็เท่ากันกับ คนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหมือนกันกับ คนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือสิทธิบางอย่างเป็นการไปลดสิทธิของคู่สมรสลง เช่น ในเรื่องของค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นผลให้คู่สมรสต้องรับภาระภาษีหนักขึ้นอีก เนื่องจากการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้การหักค่าใช้จ่ายลดหย่อนนั้น จะทำให้เงินได้ที่ต้องเสียภาษีลดลง แต่คู่สมรสซึ่งต้องรวมเงินได้เข้าด้วยกันนั้นกลับไม่ได้รับสิทธิ แตกต่างกับคนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียน เป็นผลให้คู่สมรสไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งในต่างประเทศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี และประเทศสิงคโปร์ นั้นได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิบางประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อให้ประสงค์จะยื่นรวมกันนั้นได้รับสิทธิ ที่แตกต่างจากคนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่จดทะเบียนสมรส เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่สมรสในการเสียภาษี อีกทั้งการใช้อัตราก้าวหน้าในการคำนวณภาษี การใช้หลักรวมเงินได้คำนวณภาษีเงินได้ของสามีภรรยาได้นำแบบอย่างของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับ แต่ปัจจุบันประเทศอังกฤษได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีภรรยาโดยได้นำหลักการรวมเงินได้แบบมีค่าลดหย่อนพิเศษมาใช้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีภรรยา โดยให้สิทธิกับภรรยาที่มีเงินได้มีสิทธิในการหักค่าลดหย่อนได้มากกว่า ภรรยาที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งอาจเป็นมาตรการทางภาษีที่มีส่วนในการส่งเสริมให้ผู้หญิงของประเทศอังกฤษมีบทบาทในสังคมสูงขึ้น แต่ประเทศไทยไม่ได้ให้สิทธิดังกล่าว หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ นอกจากจะไม่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ยังทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในการเสียภาษีระหว่างหน่วยภาษีด้วยกัน ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคู่สมรสเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากคู่สมรสกับหน่วยภาษีอื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมของสิทธิระหว่างชายและหญิง เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับความเป็นธรรมมากขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายในการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า(2552-08-28T03:59:27Z) เอกวิทย์ สารการแม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเมื่อมีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาทางกฎหมายหลายประเด็นด้วยกันสืบเนื่องมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกันและมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมาย จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาที่พบได้ ดังนี้ 1. ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าระหว่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 กับประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องของความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 2. ปัญหาเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษทางอาญา เกี่ยวกับความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งในและนอกราชอาณาจักร 3. ปัญหาจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาซึ่งให้เหตุผลในคำพิพากษาแตกต่างกับเหตุผลของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเนื่องมาจากการนำมาตรการทางอาญามาบังใช้ในความรับผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของบทบัญญัติตามกฎหมายและเพื่อให้การบังคับใช้ของกฎหมายมีความชัดเจนและมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ควรยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273-275 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนการบังคับใช้ของกฎหมายและการลงโทษทางอาญา เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนภายในราชอาณาจักร และจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางเดียวกันกับต่างประเทศ 2. บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 มาตรา 108-109 กรณีเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากควรเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “การปลอมเครื่องหมายการค้า” และ “การเลียนเครื่องหมายการค้า” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความสับสนเมื่อเกิดกรณีความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า หรือหากไม่มีการเพิ่มเติมความหมายก็ควรพิจารณารวมบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 108-109 ไว้ด้วยกัน เพื่อขจัดปัญหาความสับสนระหว่างความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 3. หน่วยงานภาครัฐควรมีการพิจารณาประเด็นปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายอย่างจริงจัง ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสภาพการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อไป 4. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ควรยกเลิกความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด แล้วแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายและเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าโดย การกำหนดโทษทางอาญาให้ผู้กระทำความผิดที่มีสถานะของการกระทำความผิดมีความร้ายแรงไม่เท่ากันได้รับโทษต่างกันรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว(2552-08-28T03:49:45Z) กำหนด โสภณวสุจากการศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ทำให้ทราบว่า คนไทยทำการสมรสกับคนต่างด้าวได้ มีผลสมบูรณ์ โดยกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเช่นเดียวกับคนไทยสมรสกับคนไทย ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินสมรสหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีบทบัญญัติจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินในประเทศไทย และยังมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิบางประการของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวในการขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือถือที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ก็จะไม่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของคนไทย ทำบันทึกยืนยันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สินสมรส จึงจะรับจดทะเบียนให้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สัมพันธ์กับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทั้งยังเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาวางหลักกฎหมายไว้ว่า “ที่ดินและทรัพย์สินซึ่งได้มาในระหว่างสมรส ย่อมเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีส่วนอยู่ด้วยคนละครึ่ง และคนต่างด้าวซึ่งเป็นสามีหรือภริยาอาจขอให้แบ่งที่ดินนั้นให้แก่ตนครึ่งหนึ่งได้” ในการศึกษาสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐาน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยมุ่งประเด็นว่า คนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการขอให้ได้มาซึ่งการถือครองที่ดิน ตลอดจนเมื่อได้ถือครองที่ดินแล้ว คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรบ้าง เมื่อทราบปัญหาและอุปสรรคแล้ว จึงนำหลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลฎีกาและหลักนิติธรรมมาเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ทั้งนี้จะเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และในขณะเดียวกันจะช่วยอำนวยความยุติธรรมด้วย โดยนัยดังกล่าว พอสรุปแนวทางได้ว่า เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในประมวลกฎหมายที่ดิน ในกรณีการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ควรเชื่อได้ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดจะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว โดยกำหนดนิยามศัพท์และบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน ให้อยู่ในกรอบที่ชัดเจนสอดคล้องกับหลักแห่งความเสมอภาค และความทัดเทียมของบุคคลภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้ริดรอนสิทธิและเสรีภาพของคนไทยในการถือครองที่ดิน รวมตลอดถึงควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว ให้มีบทบัญญัติครอบคลุมชัดเจนตามระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรต่อไปรายการ ปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี(2552-08-28T03:39:38Z) ทัยเลิศ ลือปือสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี เนื่องจากธุรกิจการค้าประเวณีซึ่งมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพการด้อยการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกระจายรายได้สู่ประชาชน สู่ชนบทเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการชะลอตัว และปัญหาที่ตามมาคือปัญหาความยากจนของคนในประเทศ จนถูกมองว่าเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเกิดกลุ่มผู้แสวงหาประโยชน์การค้าประเวณี จึงกลายเป็นแหล่งธุรกิจตลาดสินค้าอุตสาหกรรมบริการ หรือช่องทางสร้างรายได้ที่ลงทุนต่ำได้กำไรสูง ก่อให้เกิดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาในการหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการค้า การใช้บริการ หรือการแสวงหากำไรจากธุรกิจการค้าประเวณี ก็ยังไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีจะเป็นผลสำเร็จได้ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมาย ที่ชัดเจน จากการศึกษากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันนั้น ใช้แนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีตามแนวคิดแบบปรามการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่า มีการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และในทางกลับกันกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการลักลอบเปิดสถานค้าประเวณีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้น ดังนั้นปัญหาทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้าประเวณี จึงไม่ใช่การที่ ประเทศไทยขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับปัญหาที่มีอยู่ เป็นแต่เพียงว่ากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบัน ที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันไม่ได้ผลเท่าที่ควรรายการ มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองธุรกิจค้าปลีกรายย่อย(2552-08-28T03:24:36Z) วิเชียร ตั้งธรรมสถิตย์ธุรกิจค้าปลีกเป็นกลไกสำคัญในระบบตลาดการค้าเสรี ถ้าหากตลาดการค้าปลีกมีการแข่งขันที่หลากหลาย มีการกระจายผู้ประกอบธุรกิจให้มีจำนวนยิ่งมากยิ่งมีการแข่งขัน และจะทำให้เกิดกลไกทางการตลาดที่จะถ่วงดุลกันในเรื่องราคา คุณภาพ ปริมาณ กับความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบและมีทางเลือกได้มากขึ้น ไม่เกิดการผูกขาด หรือมีอำนาจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือผู้ใดกำหนดราคาเอง หรือกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกต่างชาติ หรือธุรกิจที่มีทุนจากต่างชาติได้เข้ามาขยายธุรกิจในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จนมีผลทำให้ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยต้องเลิกกิจการไปมากกว่า 150,000 ราย และยังมีการเลิกกิจการมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้งเช่นกัน เป็นที่เกรงกันว่าในไม่ช้าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดจะอยู่ในมือของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่เพียง 4-5 ราย ของทั้งประเทศเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เศรษฐกิจของประเทศก็จะตกอยู่ในอำนาจของกลุ่มเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นทุนต่างชาติ หากเข้ามาครอบงำโดยสิ้นเชิงและมีอำนาจกำหนดราคารับซื้อจากเกษตรกร ผู้ผลิต หรือซัพพลายเออร์ในราคาต่ำ หรือมีเงื่อนไขที่เอาเปรียบต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรก็จะขายผลผลิตได้ในราคาต่ำ ส่วนผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าในราคาแพง สร้างผลกำไรมหาศาลส่งกลับประเทศผู้ลงทุน ทำให้ต้องขาดดุลเงินตราต่างประเทศ ดูดทรัพย์เม็ดเงินจากระบบการเงินของประเทศไทย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยยิ่งยากจนลงไปอีก คงไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ายินดี ถ้าหากใครๆ จะเห็นว่าประเทศเจริญรุ่งเรืองเต็มไปด้วยศูนย์การค้าและห้างขนาดใหญ่ แต่คนไทยส่วนใหญ่ต้องยากจนลงไปยิ่งกว่านี้อีก ถ้าหากมีมาตรการคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายย่อยแล้ว ทำให้ธุรกิจรายย่อยประกอบธุรกิจอยู่ได้ เงินตราจะหมุนเวียนกระจายลงไปในระบบธุรกิจรายย่อย ซึ่งจะมีหลายระดับ ตั้งแต่ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายย่อย ตลอดไปถึงเกษตรกร หรือผู้ผลิต จะมีรายได้เพิ่ม มีเม็ดเงินหมุนเวียน มีสภาพคล่อง รายได้กระจายไปทุกส่วน เป็นผลให้เศรษฐกิจของชุมชน ของเมือง ของเกษตรกร ตลอดจนประเทศไทย ดีขึ้นมีความมั่นคงขึ้น ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยแต่เดิมมีมากก็เป็นการดีอยู่แล้ว เพราะเราไม่ต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศ และยังเป็นแนวพระราชดำริ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่รัฐจะต้องนำมาใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ปัจจุบันมาตรการคุ้มครองธุรกิจค้าปลีกรายย่อยยังไม่มีเป็นรูปธรรม ประกอบกับประเทศไทยรับข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก (WTO) ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายเข้ามาขยายกิจการเอาเปรียบทางการค้าและการลงทุน โดยที่ไม่ได้มีมาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยของไทย ทำให้ธุรกิจรายย่อยต้องเลิกกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงสมควรที่ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการทางกฎหมาย ที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้ประกอบธุรกิจการค้าปลีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไปถึงความมั่นคงด้านอื่นๆ ของประเทศไทยด้วยรายการ ความเป็นไปได้ในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยองค์กรทนายความ(2552-08-28T03:08:42Z) ธเนศ ทรงธนวงศ์การนำข้อพิพาททางธุรกิจขึ้นสู่ศาลทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันอีกด้วย หากจะมีวิธีแก้ปัญหาการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่าก็จะเกิดประโยชน์แก่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความเป็นไปได้ในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยองค์กรทนายความ” นี้ คือ ต้องการหาความเป็นไปได้ว่าทนายความสามารถมีส่วนร่วมในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการนำข้อพิพาทสู่ศาลหรือไม่ วิธีการศึกษาเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ทนายความ ศาล และบุคคลที่กำลังอยู่ระหว่างการพิพาททางธุรกิจ เพื่อทราบว่าเห็นด้วยกับวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยองค์กรทนายความหรือไม่ และภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง จากการทำการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบว่า ทนายความส่วนมากเต็มใจเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทโดยทางเลือกใหม่นี้ ถ้าหากเขามีรายได้คุ้มกับการเข้าไปมีส่วนร่วมนี้ ศาลทุกท่านเห็นด้วยกับวิธีทางเลือกนี้ เพราะว่าเป็นการลดภาระคดีจากศาล แต่ความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีกฎหมายบังคับให้คู่กรณีปฏิบัติตามข้อตกลง ผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิพาทพร้อมที่จะใช้บริการนี้ หากเขาเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับการนำข้อพิพาทสู่ศาลและมีวิธีการบังคับให้คู่พิพาทปฏิบัติตามข้อตกลงได้จริง ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบว่า มีความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ที่จะมีองค์กรทนายความทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางธุรกิจรายการ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเงิดทดแทน: ศึกษากรณีการจ่ายเงินทดแทนให้แก้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน(2552-08-28T02:55:34Z) อนันตญา เนียมคล้าย อนันตญา เนียมคล้ายสารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ฉบับปัจจุบัน ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่อง จากการทำงาน ในบทบัญญัติมาตราที่ 18 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีสูญเสียอวัยวะ กรณีทุพพลภาพ กรณีตายหรือสูญหาย ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับ ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นหลัก เกณฑ์ที่มีการจ่ายเงินทดแทนในอัตราที่น้อยเกินไปจากการศึกษาการจ่ายเงินของต่างประเทศ เช่นประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ พบว่าต่างประเทศจะมีวิธีการคำนวณการจ่ายเงินทดแทนแยกเป็นประเภทออกไป เช่น กรณีทุพพลภาพจะคำนวณการจากความ สำคัญของอวัยวะ กรณีตายจะคำนวณจากอายุของลูกจ้างที่จะสามารถทำรายได้ต่อไป เป็นต้น แต่ในประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินทดแทนไว้ทุกกรณีในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเท่านั้น กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องรับภาระทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างโดยตรงที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน โดยจ่ายทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทน จึงเห็นว่าพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมาพิจารณาปรับปรุงแก้ ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนตามความเหมาะสมกับการที่ลูกจ้างได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ให้กับงานของนายจ้างได้บรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งนี้การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานนั้น จะไม่ส่งผลกระทบแก่นายจ้างแต่อย่างใดในการที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าสถานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนได้นำเงินไปลงทุนเป็นการสร้างรายได้ เพื่อให้กองทุนมีความมั่นคงและสามารถดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประ-กันตนได้มากขึ้น และผลจากการนำเงินไปลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนเป็นผลกำไร จากการลงทุนมากขึ้นทุกปี โดยคำนวณหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ทำให้กอง ทุนมีความมั่นคงมากขึ้นและสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้ปรับค่าทำศพจาก 30,000 บาท เป็น 40,000 บาท ปรับเพิ่มอัตราค่า บริการทางการแพทย์ และปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญเพื่อให้ผู้ประกัน ตนได้รับเงินบำนาญมากขึ้นเมื่อเกษียณ อายุ และสำนักงานประกันสังคมจะทยอยปรับเพิ่มสิทธิประ- โยชน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นก็เพราะสำนักงานประกัน สังคมได้ดอกผลจากการลงทุนมากขึ้น ทำให้สามารถ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องจัดเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตน ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไข พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 ในกรณี ลูกจ้างเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จากเดิมในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นอัตราร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน และค่าทดแทนการเสียเวลาการทำงาน จากเดิมจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน เป็นการจ่ายค่าทดแทนตั้งแต่วันแรกที่ลูก- จ้างไม่สามารถทำงานได้ และการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากเดิมจ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 35,000 บาท เป็นเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 45,000 บาท และกรณีตายจากเดิมจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนแต่ไม่เกิน 8 ปี เป็นไม่เกิน 12 ปี ฉะนั้นเหตุผลที่มีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนนี้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ของผู้ประกันตนที่มีความเสี่ยงการประสบอันตรายในหน้าที่การงาน และให้สอดคล้องกับสถานการปัจจุบันและในอนาคตรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้า(2551-08-26T08:41:05Z) เฉลิมวัฒน์ วิมุกตายนปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบังคับใช้ การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจึงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อจำกัดการคุ้มครองหลายประการ จึงได้มีการนำหลักกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิดแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ ในการฟ้องร้องคดีเพื่อให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้รับความเสียหาย ได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าและบริการ แต่การให้คุ้มครองผู้บริโภคตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวก็ยังมีประเด็นปัญหาหลายประเด็น คือ 1. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามรูปแบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ที่ยังมีความ แตกต่างกัน เกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์และการนำหลักความรับผิดมาใช้ 2. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เกี่ยวกับข้อจำกัดอยู่เฉพาะคู่กรณีสัญญา ทำให้ผู้เสียหายที่ไม่ใช่คู่กรณีสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ได้กำหนดสิทธิของผู้บริโภคให้มีผู้รับผิดและชดใช้เยียวยาต่อความเสียหาย 3. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด ซึ่งตามกฎหมายลักษณะสัญญาก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ส่วนกฎหมายลักษณะละเมิดก็มีความยุ่งยากเกี่ยวกับภาระพิสูจน์ 4. ปัญหาการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ แม้จะสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมายลักษณะละเมิด แต่ก็มีภาระและค่าใช้จ่ายและไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับการชดใช้ความเสียหายหรือไม่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น การศึกษาในครั้งนี้เห็นว่ากฎหมายที่ใช้ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลบังคับใช้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวทางและหลักการที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขในรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายหรือสิทธิที่จะได้มีผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายจากสินค้าหรือบริการนั้น โดยการนำหลักความรับผิดเด็ดขาดมาใช้ หรือการขยายขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการโดยตรง และลดภาระในกรณีที่ต้องนำพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ผลิตหรือผู้ขายของโจทก์ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับกฎหมายในต่างประเทศ หรือหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติที่มีอยู่แล้วเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก็ควรที่จะผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์มาใช้บังคับ เพื่อใช้เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมดุลระหว่างผู้ผลิตสินค้าและหรือผู้ให้บริการกับผู้บริโภคด้วย ซึ่งถ้าหากสามารถผลักดันจนประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถเป็นกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีหลักประกันเกี่ยวกับการคุ้มครองและการชดใช้เยียวยาความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์นั้น อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภครายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต(2551-08-26T08:07:25Z) อนุชา เอี่ยมมีแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์โดยตรงแล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ นำมาใช้เพื่อป้องกันการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการสิทธิของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบันหรือจะมีขึ้นในอนาคต จากการศึกษา พบว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เกิดขึ้นเนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ตลอดจนพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ผู้ศึกษาเห็นว่ายังไม่มีมาตรการทางกฎหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายฉบับใด ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์นำมาใช้เพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรง ถึงแม้ว่างานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ไม่สามารถจัดเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดอันถือได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่หากได้มีการพิจารณาความหมายของงานอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยละเอียดแล้ว พบว่าประเภทงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ได้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังไม่ใช่ตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด กลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาความหมายของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ กับการให้ความคุ้มครองตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ผู้ศึกษาเห็นว่าหากเกิดกรณีการทำลายหรือหลีกเลี่ยงกลไกทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานลิขสิทธิ์ สามารถนำหลักความผิดตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... มาบังคับใช้ในการฟ้องร้องเพื่อชดใช้และเยียวยาความเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่ได้ให้บทนิยามของคำว่ากลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีไว้แต่อย่างใด ผู้ศึกษามีความเห็นว่าหากจะมีการปรับปรุงหรือกำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรเลือกปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์มากที่สุด เพียงแต่บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้มากว่าสิบปี ทำให้ไม่สามารถนำมาปรับใช้และไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคที่มีการสร้างสรรค์และจัดเก็บผลงานในรูปข้อมูลดิจิตอลและมีการเผยแพร่งานบนโลกอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย หรือหากจะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่กลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรงแล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมานั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และควรกำหนดบัญญัติให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้การกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนกว่าการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอื่นๆ ซึ่งผู้กระทำความผิดมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการกระทำความผิด ผู้ที่จะมีส่วนในการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการปกป้องการละเมิดงานลิขสิทธิ์ ด้วยเช่นกันรายการ ปัญหาในการกำหนดมาตรฐานค่าจ้างว่าความในคดีแพ่ง(2551-08-26T06:27:52Z) ยงยุทธ อัตโตหิสารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวทางในการแก้ไขตารางอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.2521 (ฉบับที่7) มาตรา8 ซึ่งเป็นค่าทนายความที่รัฐกำหนดให้แก่ทนายความ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับดังกล่าว ได้ใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี อัตราค่าทนายความจึงไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยในที่มีผลต่อการเรียกค่าจ้างทนายความแต่อย่างใด ตลอดจนศึกษาถึงวิธีการและรูปแบบแนวทางในการกำหนดมาตรฐานค่าจ้างว่าความในคดีแพ่งในส่วนที่ทนายความและลูกความตกลงค่าจ้างกันเอง เนื่องจากในปัจจุบันพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ไม่ได้กำหนดรูปแบบ วิธีการการเรียกค่าจ้างว่าความที่ชัดเจนไว้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายอื่นใดกำหนดรูปแบบการเรียกค่าจ้างว่าความไว้ที่ชัดเจน การเรียกค่าจ้างว่าความระหว่างทนายความและประชาชนผู้มีอรรถคดีจึงเป็นไปตามความต้องการและการตกลงกัน ซึ่งหาได้เป็นมาตรฐานไม่ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการเรียกค่าจ้างว่าความของทนายความในคดีแพ่ง ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือค่าจ้างว่าความที่รัฐกำหนดให้ ตามตารางอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง และค่าจ้างว่าความที่ทนายความและลูกความตกลงกันเอง และจากการศึกษาพบว่าปัญหาในการกำหนดมาตรฐานค่าจ้างว่าความในคดีแพ่งในส่วนค่าทนายความที่รัฐจัดให้มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับอัตราค่าทนายความตามตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับมาเกือบ 30ปี ยังล้าสมัยไม่ได้คำนึงสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นอันมีอิทธิพลต่อการเรียกค่าจ้างว่าความ อีกทั้งอัตราค่าทนายความดังกล่าวให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นต่ำขั้นสูง ซึ่งอาจมีปัญหาในเรื่องของการใช้ดุลพินิจเนื่องจากผู้พิพากษา แต่ละคนมีดุลพินิจที่แตกต่างกัน ในส่วนของค่าจ้างว่าความที่ทนายความและลูกความตกลงกันเองนั้นพบว่าปัญหามาจากการที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 และข้อบังสภาทนายความ พ.ศ.2529 ไม่ได้กำหนดวิธีการหรือรูปแบบการเรียกค่าจ้างว่าความไว้ชัดเจน จากปัญหาดังได้กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆดังกล่าวคือ ในส่วนของค่าจ้างที่รัฐกำหนดให้นั้นควรแก้ไขตารางอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยการกำหนดตารางอัตราค่าทนายความขึ้นใหม่ ทั้งนี้โดยคำนวณจากอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์โดยรวมในประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงปัจจุบัน และกำหนดแนวทางในการควบคุมการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดค่าจ้างว่าความให้ชัดเจน ส่วนค่าจ้างที่ทนายความและลูกความตกลงกันเองนั้น ให้แก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 หรือข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 โดยกำหนดตารางอัตราค่าทนายความในอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำไว้ และกำหนดให้ชัดเจนว่าการเรียกค่าทนายความตามตารางอัตราค่าทนายความดังกล่าวให้พิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้เขียนเห็นว่าสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมตามความเป็นจริงในปัจจุบัน และจะเป็นมาตรฐานทางกฎหมายที่ถูกต้องและชอบธรรมในการเรียกค่าจ้างว่าความในคดีแพ่งอันเป็นหลักการสำคัญที่เป็นประโยชน์และอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี และทนายความอย่างแท้จริงรายการ ความรับผิดชอบในทางละเมิดกรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ถึงมาตรา 437(2551-08-26T03:46:09Z) ภูวนัย นันทเวชในองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิดกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นต้องมีลักษณะที่เป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ และการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น กฎหมายให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นธรรมเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคคลนั้น หรือเป็นการรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 ดังนั้นบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายจึงต้องรับผิชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าการที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น มิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เกิดจากเหตุอื่นที่เข้ามาแทรกแซงหรือเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นละเมิดอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย ถ้าจะให้บุคคลนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจจะไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้ได้ประสบเหตุนั้น ในกรณีของการกระทำความผิดในทางละเมิดของบุคคลอื่น แต่ให้บุคคลหนึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากบุคคลที่กระทำความผิดเป็นบุคคลที่ตนเองต้องรับผิดชอบในการดูแลหรือว่ามีหน้าที่ในการอบรมและรับผิดชอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เรียกว่าความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น ตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 และมาตรา 430 กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักประกันการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับผลของการกระทำละเมิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น จึงเป็นความรับผิดที่ไม่มีการกระทำความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด แต่เกิดจากข้อสันนิษฐานของความรับผิดทางกฎหมายที่ต้องการปกป้องผู้เสียหาย เนื่องจากกฎหมายถือว่าบุคคลที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแล การควบคุม การสั่งการหรือการใช้ความระมัดระวังไม่ดีพอ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ แต่ถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เกิดจากสาเหตุเหล่านั้น แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้บุคคลนั้นจักได้ใช้ในความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ได้แก่ เมื่อลูกจ้างได้กระทำละเมิดการจะนำเรื่องเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ ยกเว้นความรับผิดสามารถนำมาอ้างได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับความรับผิดทางละเมิดทั้งที่เป็นหลักทั่วไปหรือเป็นความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 และความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 มาตรา 429 และมาตรา 430 รวมทั้งความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 433 มาตรา 434 และมาตรา 436 ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ ไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าเหตุสุดวิสัยสามารถที่จะนำมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับคดี ดังนั้นการที่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้จึงเป็นการยืนยันได้ว่าเหตุสุดวิสัยใช้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้ทั้ง 3 ลักษณะของความผิด แม้จะไม่มีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิดไว้ ดังนั้นการพิจารณาที่เกิดจากความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเป็นต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนโดยต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งนักกฎหมายไทยมีความเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับเหตุสุวิสัย จากกรณีที่มีการนำเอาความหมายของเหตุสุวิสัยที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศมาใช้เพื่อการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่จำเลยจากความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »