การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-08

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการ ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามา มีบทบาททางธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ซึ่งเป็นการ ซื้อขายสินค้าที่ผู้ซื้อตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์โดยไม่ได้สัมผัสกับตัวสินค้าหรือ ผู้ขายโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ทำให้เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเพราะผู้ประกอบ กิจการบางรายแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยที่ผู้ซื้อไม่อาจทราบได้ว่าการ เสนอขายสินค้านั้นเป็นความจริงหรือไม่ ผู้ขายส่วนใหญ่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจกับ หน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถควบคุมดูแลและ คุ้มครองผู้บริโภคได้ แม้การจดทะเบียนจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับแต่การบังคับใช้ กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีผลใช้บังคับอย่างจริงจัง รวมถึงกฎหมายมีอัตราโทษค่อนข้าง ต่ำจึงทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัว และเมื่อมีการผิดสัญญา ผู้บริโภคไม่สามารถเรียกร้องให้ผู้ขาย รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เพราะผู้ขายไม่มีหลักประกันในการค้ำประกันความเสี่ยง ให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้การซื้อขายในรูปแบบดังกล่าวผู้ซื้อต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงนั้นเอง ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องนี้โดยตรงทำให้เกิดปัญญาว่าสิทธิของ ผู้บริโภคจะได้รับความคุมครองเพียงใด ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกำหนดให้ ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐก่อนจึงจะสามารถเช่าพื้นที่เครือข่ายเพื่อประกอบ ธุรกิจได้ และควรมีการออกกฎหมายให้มีการวางหลักประกันสำหรับชดชยความเสียหายให้แก่ ผู้บริโภค เพื่อให้การซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือ เกิดความเป็นธรรม ลดภาระ ความเสี่ยงของผู้บริโภคและส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การคุ้มครองผู้บริโภค, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขาย

การอ้างอิง