สถาปัตยกรรมสำหรับผู้สูงอายุในสังคมยุคดิจิทัล : ศูนย์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และสนับสนุน ผู้สูงอายุสู่สังคมยุคดิจิทัล

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

จากข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในระดับสุดยอดคือมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าจำนวนวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวน การเกิดและการตายที่ลดลง ผู้สูงอายุจึงกลายเป็นกลุ่มประชากรหลักในสังคม แต่ด้วยสุขภาพและสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ และสนับสนุนคุณภาพชีวิต จากกลุ่มวัยอื่นๆ มากเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การเข้ามามีบทบาทของอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือก กำลังเข้ามาเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญที่ช่วยให้กลุ่มวัยอื่นๆ สามารถที่จะดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ง่ายและสะดวกขึ้น แต่จากการสำรวจข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบว่าผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำรงชีวิตประจำวันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ สื่ออนไลน์ และตัวอย่าง กรณีศึกษาต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทดลองและกำหนดแนวคิดในการออกแบบเพื่อนำไปสู่การออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมต่อไป

คำอธิบาย

ตารางและรูปภาพประกอบ

คำหลัก

สถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์, ทักษะทางด้านจิทิทัล

การอ้างอิง

ฐิติวัชร์ หงษ์ไทย. 2564. "สถาปัตยกรรมสำหรับผู้สูงอายุในสังคมยุคดิจิทัล : ศูนย์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และสนับสนุน ผู้สูงอายุสู่สังคมยุคดิจิทัล." วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.