08. ผลงานนักศึกษา

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 126
  • รายการ
    การเคลื่อนไหวของบาสเกตบอลสู่สถาปัตยกรรม : ศูนย์ฝึกทักษะและแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
    (Sripatum University, 2565) กวิกาญ อบอุ่น
    ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2562 กีฬาบาสเกตบอลมีอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากบาสเกตบอลมีการขยายตลาดที่จะเข้าสู่เอเชียมากขึ้น ทั้งด้านของสินค้าและการแข่งขัน ซึ่งกีฬาบาสเกตบอลได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ ทำให้เมื่อได้รับชมหรือตัวเล่นบาสเกตบอลเราจะรู้สึกได้ถึงการทำงานของร่างกายที่มีจังหวะสับเปลี่ยนไปในทุกจังหวะของลักษณะการเล่น จึงส่งผลให้นักออกแบบสนใจที่จะทำโครงการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกีฬาบาสเกตบอล ด้วยรูปแบบของการเคลื่อนไหวในบาสเกตบอลนั้นจะสร้างรูปแบบของสถาปัตยกรรมและแนวคิดการสร้างสถาปัดยกรรมที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ท่วงท่าต่าง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอล
  • รายการ
    สถาปัตยกรรมในบ่อดิน : สทึงเจราคลับ
    (Sripatum University, 2565) ชัยวัฒน์ อยู่วัฒนา
    รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ จากการสร้างเพื่อการดำรงชีวิต และ การสร้างเพื่อตอบสนองในการใช้ชีวิต ตามวิถีชีวิตของพื้นที่นั้น ๆ ที่ดินถือเป็นส่วนสำคัญต่อการเกิดสถาปัตยกรรม จึงเห็นว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีพื้นที่หลุมลึกที่เกิดจากการขุดดินมาใช้ หรือ การขุดเพื่อทำเหมืองเอาแร่ธาตุ เมื่อหมดประโยชน์จึงถูกปล่อยทิ้งร้างจำนวนมากสร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ มีการใช้พื้นที่หลุมลึกแบบผิด ๆ อีกทั้งยังไม่มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำมาสู่การออกแบบตัวสถาปัตยกรรมให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและพื้นที่ โดยนำเอาหลักการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในบ่อลึกใช้เป็นแนวความคิดในการออกแบบ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • รายการ
    การออกแบบสถาปัตยกรรมแนวปรัชญาญี่ปุ่น วะบิ ซะบิ : รีสอร์ท
    (Sripatum University, 2565) ทิพวรรณ ปิ่นทอง
    การศึกษาเรื่องปรัชญาญี่ปุ่น วะบิ ซะบิ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในพื้นที่ตั้งของประเทศไทยแนวคิดปรัชญานี้มีผลทำให้เกิดความรู้สึกการยอมรับความสวยงามในความไม่สมบูรณ์ความเสื่อมสภาพของวัสดุที่มีผลไปตามกาลเวลาและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีผลต่อการออกแบบหรือต่อโครงการ
  • รายการ
    สถาปัตยกรรม / ปฏิสัมพันธ์ / ปรากฎการณ์ธรรมชาติ : กรณีศึกษาลานกางเต้นท์ภูสอยดาว
    (Sripatum University, 2565) พีรสา สลัยรัมย์
    มนุษย์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมานาน ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการที่จะดำรงอยู่ มนุษย์จึงได้ปรับตัวและพัฒนารูปแบบ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหรือกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อการเจริญเติบโตทางกายภาพและการเจริญเติบโตทางความคิด รวมทั้งในสิ่งแวดล้อมก็เช่นกันที่ได้สร้างลักษณะของปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อการดำรงอยู่ของตน แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์มีจำนวนที่มากขึ้นและมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้มีการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ธรรมชาติปรับสมดุลของตัวมันเองไม่ได้ ความเป็นอยู่ของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดความรุนแรงขึ้น ทำให้มีการเสียสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติไป ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
  • รายการ
    สถาปัตยกรรมส่งเสริมการบำบัดความเครียด : ศูนย์บำบัดความเครียด
    (Sripatum University, 2565) ชาลีวัฒน์ ฉ่ำผล
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเครียดการรักษาและความเกี่ยวข้องทางสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงการรับรู้ในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์และการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา ให้เกิดรูปแบบของกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะส่งผลต่อการบำบัดรักษาให้มนุษย์ได้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • รายการ
    อัตลักษณ์เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และที่ว่าง กรณีศึกษาบางรัก : ศูนย์ส่งเสริมวิถีชีวิตบางรัก
    (Sripatum University, 2565) ศุภธัช ชมจำปี
    วิถีชีวิตของคนเมืองในการดำรงชีวิตในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เมืองต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย วิถีชีวิตเก่าของคนในอดีตถูกบดบังโดยความรุ่งเรืองทางเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ขาดความเข้าใจหรือสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของวิถีชีวิตในอดีตที่ถือเป็นรากฐานแห่งปัจจุบันและอนาคต
  • รายการ
    ตึกแถวสยามสแควร์ : อาคารศูนย์บันเทิงสยามสแควร์
    (Sripatum University, 2565) อภิสิทธิ์ เอื้อมงคลานนท์
    การเกิดของย่านทันสมัยในแต่ละยุคนั้น ต่างมีปัจจัยสำคัญมาเป็นตัวผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มขึ้นในแง่ของทำเลพื้นที่ก็ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเกิดและการดำรงอยู่ของย่านในทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ในอดีตที่จุดเริ่มต้นของแหล่งการค้าหรือย่านการค้าสมัยก่อนมักเกิดขึ้นตามบริเวณริมน้ำและจุดเชื่อมต่อคูคลองต่าง ๆ เพราะคนในสมัยก่อนนิยมสัญจรทางน้ำเป็นทางที่นิยมกันเยอะในสมัยก่อนจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มสร้างถนนขึ้น เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองออกไปอย่างรวดเร็วและเกิดเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยตามเส้นถนนต่าง ๆ
  • รายการ
    วิถีชีวิตเกลือสินเธาว์ : ศูนย์การเรียนรู้เกลือสินเธาว์ร่วมกับวิถีชีวิตชุมชน
    (Sripatum University, 2565) ฉัตรชัย แสงดี
    โครงการวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษากระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับกระบวนการทำนาเกลือสินเธาว์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณของวิถีชีวิตชาวนาเกลือในแต่ช่วงการเวลาที่การใช้งานในการโภชนาการและอุตสาหกรรมที่มีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติเพื่อไปศึกษาในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมโดยเปลี่ยนบทบาทเกลือสินเธาว์
  • รายการ
    ปรากฏกลางตลาด : โครงการพัฒนาปรับปรุงชุมชนตลาดสดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
    (Sripatum University, 2565) ชนิสร นันทรัตนพงศ์
    โครงการวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษากระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความสำคัญของภูมิทัศน์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชนตลาดสดมหาชัย โดยมุ่งเน้นให้ตลาดสดมหาชัยเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่า ให้กลับมามีความสำคัญขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นคำถามแรกของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ จะเป็นอย่างไรหากมีปรากฏการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ณ ตลาดสดมหาชัยแห่งนี้
  • รายการ
    การออกแบบจากวัฒนธรรมอิสลาม : ศูนย์การค้าชุมชนอิสลาม
    (Sripatum University, 2565) จิรายุ แสงอาทิตย์
    การศึกษารูปแบบวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมอิสลาม ซึ่งสถาปัตยกรรมอิสลามเป็นศาสตร์ที่สะท้อนการดำรงชีวิตของคนมุสลิม สถาปัตยกรรมอิสลามส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมศาสนา "มัสยิด" ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกิจกรรมของชาวมุสลิม โดยสถาปัตยกรรมอิสลามมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่ถูกใช้ต่อ ๆ กันมา จนเกิดเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอิสลาม เช่น โดม หออาซานลวดลายเรขาคณิต โค้งอาร์ก สวนอิสลาม เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดในสถาปัตยกรรมอิสลาม
  • รายการ
    เด็กพิเศษ : สถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ
    (Sripatum University, 2565) วุฒิพงษ์ การะฐา
    เด็กพิเศษในขอบเขตของงานวิทยานิพนธ์นี้หมายถึง เด็กที่มีความพิการทางร่างกายสติปัญญา ออทิสติกหรือทางการเรียนรู้ซึ่งมีความต้องการเฉพาะในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ศูนย์การศึกษาพิเศษคือพื้นที่เฉพาะเพื่อรองรับกิจกรรมด้านการฟื้นฟูและเสริมสร้างพัฒนาการเพื่อให้เขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ พึ่งพาตนเองได้และลดภาระในการดูแลของผู้ปกครอง ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการกระจายอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้พบรูปแบบพฤติกรรมของเด็กที่แตกต่างกัน ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรจึงมีความสำคัญ เพื่อนำความรู้ไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมเด็ก
  • รายการ
    การศึกษานวัตกรรมไม้ : บ้านไม้เพื่อผู้ลี้ภัย
    (Sripatum University, 2565) อภิสิทธิ์ มาสะโถ
    โครงการนวัตกรรมไม้ เป็นแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ไม้ ที่เป็นวัสดุที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยในอดีตจวบจนปัจจุบันได้มีงานสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างสรรค์มาจากไม้หลากหลายรูปแบบทั้งการสร้างเป็นที่พักอาศัย สถานที่ท่องเที่ยว หรือเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นบางอย่าง โดยทั้งหมดนี้ผู้ออกแบบก็ได้มีความสนใจในงานสถาปัตยกรรมเรือนไทยเป็นอย่างมากจึงได้นำเอาความเป็นไทยในด้านนี้มาพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
  • รายการ
    สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ไทยประยุกต์ : โรงแรมไม้ไผ่
    (Sripatum University, 2565) กนกวรรณ แสงสุวรรณดี
    ไผ่ วัสดุก่อสร้างที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ในปัจจุบันมีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์น้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างเยอะแยะมากมาย ซึ่งวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นล้วนแล้วแต่ทำร้ายธรรมชาติ ส่งผลให้นักออกแบบ เริ่มมองหาวัสดุใหม่ ๆ ที่คงทนแข็งแรง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไผ่ จึงเป็น วัสดุทางเลือกในอนาคตที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง ด้วยความคงทนแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงส่งผลให้ไผ่สามารถนำมาประยุกต์ตามโครงสร้างต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึง สามารถปลูกทดแทนได้ภายระยะเวลา 3 ปี การดูแลก็ไม่ยากนัก
  • รายการ
    จังหวะในสถาปัตยกรรม : สถาบันดนตรีเพื่อผู้พิการทางสายตา
    (Sripatum University, 2565) ปริยาภัทร เอติยัติ
    ดนตรีเป็นสิ่งจรรโลงใจที่ทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย สร้างความสุขให้แก่ผู้พิการทางสายตา ถึงแม้ว่าดวงตาจะพิการแต่ก็มิได้มีผลต่อประสาทสัมผัสทางการได้ยินผู้พิการทางสายตา ยังคงสามารถรับรู้ถึงความงามของดนตรีได้ไม่น้อยไปกว่าคนปกติทั่วไปและยิ่งกว่านั้น คือ ผู้พิการทางสายตา จะมีประสาทสัมผัสส่วนอื่นที่ถูกใช้งานจนเกิดความเคยชินและเชี่ยวชาญมากกว่าคนปกติ เช่น ประสาทสัมผัสทางการได้ยินเสียง การรับรู้ และหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง ซึ่งรวมไปถึงทักษะในการคิดและการฟังจะมีสมาธิมากเป็นพิเศษ
  • รายการ
    การศึกษารูปทรงทางสถาปัตยกรรมจากวัสดุโครงสร้างไม้ไผ่ : กรณีศึกษา การออกแบบปรับปรุงค่ายลูกเสือสาลิกา
    (Sripatum University, 2565) ปนัดดา แก้วบัวระภา
    วิทยานิพนธ์เรื่องการก่อรูปทรงทางสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการเกิดรูปทรงในรูปแบบรูปทรงเรขาคณิตและศึกษาความเป็นไปได้ของการรับน้ำหนักต่อกิจกรรมที่ต้องใช้งานกับไม้ไผ่โดยตรงเพื่อหาข้อด้อยของไม้ไผ่และหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาในจุดที่ไม้ไผ่ไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้
  • รายการ
    ศูนย์การเรียนรู้ภัยพิบัติสึนามิจังหวัดพังงา
    (Sripatum University, 2565) สุทธิชน สีทวนฐาน
    มนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติโดยการรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติมากจนเกินไปทำให้โลกเกิดสภาวะโลกร้อน และทำให้เกิดภัยพิบัติต่างตามมามากมาย เช่น ภัยพิบัติสึนามิ แผ่นดินไหว เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้ประสบภัยพิบัติสึนามิครั้งร้ายแรงที่สุดที่เคยมีมา ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งชีวิต และสิ่งก่อสร้าง เพราะประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องสึนามิ โครงการศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติสึนามิจังหวัดพังงาจึงมีจุดประสงค์อยากให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความน่ากลัวของภัยพิบัติสึนามิ
  • รายการ
    อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานเชียงใหม่
    (Sripatum University, 2565) เบญจพร พงษ์กลาง
    ปัจจุบันการเดินทางโดยอากาศยานถือเป็นการเดินทางที่สะดวกและลดระยะเวลาในการเดินทางรวมไปถึงในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว ธุรกิจ และ อื่นๆ ท่าอากาศยานจึงเป็นสถานที่ที่ใช้การบริการด้านอากาศยานที่สำคัญที่สุดสำหรับการเดินทางโดยอากาศยานในปัจจุบัน รวมไปถึงการเชื่อมต่อระบบคมนาคมอื่นๆ ที่ในปัจจุบันได้มีการเชื่อมต่อเข้ากับท่าอากาศยาน อาคารผู้โดยสารถือเป็นอาคารที่ผู้โดยสารทุกคนต้องมาใช้บริการและในการใช้บริการอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานในแต่ละที่อาจจะไม่ได้ให้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาต่างๆ ของอาคารผู้โดยสาร
  • รายการ
    โครงการตลาดสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้อย
    (Sripatum University, 2565) ยุทธวิชัย เอี่ยมสงคราม
    แนวโน้มการเกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการผลักดันของกรุงเทพมหานคร เพื่อไปสู่เวทีเมืองหลวงแห่งการออกแบบโลก (World Design capital) โดยปัจจัยหลักคือการพัฒนาพื้นที่ในกรุงเทพมหานครให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างทางเลือกในการท่องเที่ยวอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • รายการ
    เสื่อกกกับงานสถาปัตยกรรม : โรงแรมต้นกกเพื่อการพักผ่อน
    (Sripatum University, 2565) ลลิตา บรรจงการ
    วิทยานิพนธ์โครงการโรงแรมเสืือกกเป็นการท่องเที่ยวที่ดำเนินการภายใต้ขีดจำกัดความสามารถของธรรมชาติ และต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ประเพณี ที่มีต่อการท่องเที่ยว อีกทั้งต้องให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องเป็นความปรารถนาของประชาชนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เพื่อสนองตลาดการท่องเที่ยวเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรมที่แสวงหาความรู้และอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านทั้งทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินและ ความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น รวมทั้งให้ประโยชน์กลับคืนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น
  • รายการ
    สถาปัตยกรรมโกธิค : พิพิธภัณฑ์มิสซังสยาม
    (Sripatum University, 2565) ธนภร ธนาไพศาลสุข
    การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา "โบสถ์หรืออาสนาวิหาร" ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวคริสต์, เป็นสถานศึกษาเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้าและใช้เป็นที่พักพิงสำหรับผู้ยากไร้ โดยลักษณะเด่นของสิ่งก่อสร้างในยุคนี้คือ Point Arch, Rio Vault, Flying Buttress, Large Windows, Towers, Buttresses, Rose Windows ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่เห็นได้ชัดจากสถาปัตยกรรมโกธิค