ปัญหาการลงโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิด
กำลังโหลด...
วันที่
2559
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
สารนิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาการดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (State Official) ที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปก่อนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 57 โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อการดำเนินคดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัยต่อไปได้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจะพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปแล้วด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถึงแก่ความตาย ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยงานนิพนธ์นี้จะมุ่งศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (Control and Examination of the Exercise of State Power) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง (Principle of Legality of Administrative Act) การดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (Disciplinary Procedure against State Official) โดยพิเคราะห์ถึงปัญหาการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย (Discretion of Disciplinary Sanction) แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการไปแล้ว และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไป
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
การลงโทษทางวินัย/คณะกรรมการ ป.ป.ช., การชี้มูลความผิด, การพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการ, Discipline, Disciplining, The National Counter Corruption Commission, Office leaving, Office removing
การอ้างอิง
มานัส สุดตะพรม. 2559. ปัญหาการลงโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิด.