แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ ประเมิน คุณภาพรัฐวิสาหกิจกรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กำลังโหลด...
วันที่
2557-12-03T08:44:41Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1)เพื่อศึกษาสถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise
Performance Appraisal : SEPA) 2)เพื่อการศึกษาปัจจัยแหง่ ความสำเร็จเพื่อ ความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal :SEPA) 3) เพื่อทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์ของการนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคาระห์การความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลการจัดการกระบวนการ การมุ่งเน้นนวัต กรรม และผลลัพธ์ทางธุรกิจ 4)เพื่อ นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใีช้ในการวิจัย คือพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 844 คน เก็บข้อมูลได้จำนวน 773 คน คิดเป็น 91.6 % สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
พรรณนา ประกอบด้วย ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตอ้างอิงเพื่อ การทดสอบสมมติฐาน และแบบจำลอง คือ การวิเคราะห์รูปแบบสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model :SEM)โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) พบว่า ส่วนใหญ่แต่ละหมวดขององค์การมีจุดแข็ง ยกเว้นเรื่องหมวดการจัดทำกลยุทธ์และการวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุงผลการดำเนินการ
2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ได้แก่ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์,การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร,การสื่อสารที่มีประสิทธิผล โดยใช้การสื่อสาร 2ทางเพื่อ ให้พนักงานทุกระดับได้รับข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายบริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม, การเป็นองค์กรที่ทำงานเป็นทีม ,ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการโดยใช้ข้อเท็จจริงเพื่อ การตัดสินใจขององค์กร มีค่าเฉลี่ยี (X) = 4.19, 4.17, 4.16, 4.15, 4.14 และ 4.08 ตามลำดับ
3. แบบจำลองเพื่อ ความเป็น เลิศตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยที่ค้นพบได้ผลการตรวจความตรงของแบบจำลองมีคา่ ดัชนีวัดระดับ
ความสอดคล้อง (GFI) เทา่ กับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับรับแก้แล้ว(AGFI)เท่า กับ0.96 ค่า RMR เท่ากับ 0.012 มีค่า Chi-Square = 98.53 df =81 P-value = 0.09009 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์(Chi-Square / df)มีค่าเท่ากับ 1.22 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 และ RMSEA = 0.017
4. แนวทางการพัฒนาสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อความเป็น เลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ พบว่า ปัจจัยสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่ การนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจ
การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้้ การมุ่ง เน้นทรัพยากรบุคคลการจัด การกระบวนการและการม่งุมุ่ง เน้นนวัตกรรม มีความสำคัญต่อ ด้านการบริหาร ความเป็นเลิศกล่าวได้ว่า องค์การต้องมีการสื่อสารนโยบายเพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลลัพธ์ความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
แบบจำลองความเป็นเลิศ, เกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ, สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ลิสเรล
การอ้างอิง
กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์. 2557. "แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ ประเมิน คุณภาพรัฐวิสาหกิจกรณีศึกษา: ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ วิทยาคารพญาไท.