การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี
dc.contributor.author | ลดาวรรณ สว่างอารมณ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-01-09T08:54:23Z | |
dc.date.available | 2021-01-09T08:54:23Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.description.abstract | การวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมุลด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การเดินทางมาท่องเที่ยวและภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาข้อมุลด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับการเยี่ยมชมสิ่งดึงดูดใจกับ ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีทั้ง 4 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม จำนวน 400 คน โดยการคำนวณตามสูตรของ Yamane และ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) และแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t test) วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางดัยว (One-Way Analysis of Variance) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Correlation Coeffient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีโดยรวมของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีเปรียเทียบตามเหศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการเดินทางมาท่องเที่ยว พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการเยี่ยมชมสิ่งดึงดูดใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการจัดการไหลเวียนด้านข้อมูลข่าวสารในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยุ่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการจัดการไหลเวียนด้านกายภาพในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยุ่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการจัดการไหลเวียนด้านการเงินในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยุ่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7163 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การจัดการโลจิสติกส์ | th_TH |
dc.subject | ความพึงพอใจ | th_TH |
dc.subject | ความจงรักภักดี | th_TH |
dc.title | การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |