ปัญหากฎหมายในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง

dc.contributor.authorอรรถพล มณีโชติen_US
dc.date.accessioned2562-10-05T07:13:27Z
dc.date.available2019-10-05T07:13:27Z
dc.date.issued2562
dc.descriptionอรรถพล มณีโชติ. ปัญหากฎหมายในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.en_US
dc.description.abstractการศึกษาปัญหากฎหมายในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองตามสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเป็นการศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองตามกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายและศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในเรื่องการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองในประเทศไทย ในสารนิพนธ์ฉบับนี้เมื่อทำการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองตามกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศแล้ว พบว่า ในการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองนั้นเป็นความผิดที่ยังไม่มีการกำหนดให้เป็นความผิดเฉพาะตามกฎหมายไทย เมื่อมีการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องนำเอาความผิดฐานอื่นอันเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้ามาปรับใช้ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองนั้นแม้จะมีลักษณะวัตถุแห่งการกระทำความผิดเช่นเดียวกับความผิดฐานอื่นที่นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่กลับมีเจตนาและจุดมุ่งหมายในการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน ซึ่งแตกต่างจากในกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมลรัฐ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ใน § 161.252 ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยสุขภาพและความปลอดภัยแห่งมลรัฐเท็กซัส, เครือรัฐออสเตรเลีย ตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายว่าด้วยยา, สารพิษและยารักษาโรคของเครือรัฐออสเตรเลีย ปี 2008 (Medicines, Poisons and Therapeutic Goods Act 2008) และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในมาตรา 16 แห่งกฎหมายควบคุมการขายและการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า (บทที่ 309) ที่มีการบัญญัติในการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองให้เป็นความผิดเฉพาะไว้อย่างชัดเจนทั้งในส่วนของความรับผิด ลักษณะการกระทำ เงื่อนไขแห่งการรับผิดและอัตราโทษ จากการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นใหม่ ในเรื่องของการห้ามมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองขึ้นเฉพาะ โดยกำหนดให้มีความผิดฐานมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองขึ้น ซึ่งผู้วิจัยเห็นควรให้มีการกำหนดลักษณะของความรับผิด เจตนาในการกระทำความผิดและการกำหนดอัตราโทษสำหรับผลของการกระทำความผิดฐานมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองขึ้นให้มีความเหมาะสม จึงจะเป็นการทำให้การแก้ไขในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองนั้นสามารถบังคับใช้ได้จริง และทำให้การออกนโยบายในการควบคุมและกำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้านั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.citationอรรถพล มณีโชติ. 2562. "ปัญหากฎหมายในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6415
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_อรรถพล มณีโชติ_T184587_2562en_US
dc.subjectบุหรี่ไฟฟ้าen_US
dc.subjectการมีไว้ในครอบครองen_US
dc.titleปัญหากฎหมายในกรณีการมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS OF THE POSSESSION OF ELECTRONIC CIGARETTEen_US
dc.typeOtheren_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
รวม Pdf..pdf
ขนาด:
2.42 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: