LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 609
  • รายการ
    การนำมาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญามาใช้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดคอมพิวเตอร์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุวัฒน์ชัย สุเมธ์
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และมาตรการเกี่ยวกับการชะลอฟ้องในคดีอาญา กรณีการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีบทกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการชะลอฟ้องในคดีอาญาของต่างประเทศ นำมาใช้กับกรณีการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีบทกำหนดโทษจำคุก วิเคราะห์ปัญหาการชะลอฟ้องในคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีบทกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี กำหนดแนวทางแก้ไขกฎหมายการนำมาตรการชะลอฟ้องและการสร้างมาตรการชะลอฟ้องมาใช้กับการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีบทกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีโดยนำมาตรการชะลอฟ้องมาบังคับใช้กับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน : กรณีศึกษาความผิดที่มีโทษเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายอาญา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ทนุศิษฎ์ ถนนทอง
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และมาตรการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการมาตรการทางกฎหมาย การปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขกฎหมาย การนำมาตรการทางกฎหมายการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน กรณีศึกษาความผิดที่มีโทษเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายอาญา จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา คือ ไม่มีมาตรการในการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันและหลักประกัน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะเรียกการมีประกันและหลักประกันเกือบทุกคดี และไม่มีมาตรการกำหนดการมีประกันที่ใช้ตัวบุคคลที่ไม่ต้องใช้เงินหรือหลักทรัพย์
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นบนสังคมออนไลน์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) พงศกร จันทีนอก
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขกฎหมายการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ถูกริดรอนสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ปัญหาการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอม และการกำหนดโทษของผู้แสดงความคิดเห็นใจข่าวปลอม
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 : ศึกษากรณีผู้กระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธีรวุฒิ นกยูงทอง
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุสงค์เพื่อศึกษา ความหมาย แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 กรณีการกระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์ และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ กฎหมายไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดกรณีการกระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์ และเพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 กรณีกระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์ให้มีความเหมาะสม
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สมพงษ์ งามวิไล
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และมาตรการเกี่ยวกับการบังคับโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษเกี่ยวกับกฎหมายการจราจรในต่างประเทศ นำมาใช้กับกรณีการกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายจราจรของราชอาณาจักรไทย เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการการบังคับโทษตามกฎหมายจราจรระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรไทย เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขการบังคับโทษเกี่ยวกับกฎหมายการจราจรของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรคือ ไม่มีมาตรการในการกักขังแทนโทษจำคุก และการฝึกอบรมผู้กระทำความผิดเฉพาะหรือกักขังที่มีรูปแบบของการฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำความผิดในกรณีที่มีโทษจำคุกไม่ถึง 10 ปี
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศุภมาส นาคพันธ์
    สารนิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ และ (4) แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์
  • รายการ
    ปัญหาการควบคุมการออกกฎและการดำเนินการตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครอง
    (Sripatum University, 2567) ชาญณรงค์ ศรีเกตุ
    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายอันเกิดจากฝ่ายปกครอง (Administration) ออกกฎ (By-law) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (IIlegality) จากการศึกษา พบว่าพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (Administrative Procedure Act B.E. 2539 (1996) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999) กำหนดเพียงนิยามคำว่า "กฎ" ไว้เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการควบคุมการออกกฎ และการดำเนินการตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครองไว้แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจในการออกกฎ และมีองค์กรตุลาการทางปกครองที่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ซึ่งมีการใช้หลักการของบทบัญญัติแห่งกฎหมายแม่บท แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางกฎหมายมาพิจารณาในการออกกฎและตรวจสอบกฎของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่ก็มิอาจรับรองได้ว่ากฎที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าจะชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่งผลที่กระทบต่อสิทธิของบุคคล หรือไม่จำกัดหรือลิดรอนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้กฎที่ออกโดยฝ่ายปกครองชอบด้วยกฎหมายโดยสารนิพนธ์นี้มีการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎของฝ่ายปกครองตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหายทางแพ่ง : กรณีละเมิดสิทธิบัตร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภัทรพงษ์ รักข้อง
    ในปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหายในกรณีละเมิดสิทธิบัตรของศาลไทยยังคงเป็นปัญหาข้อกฏหมายที่สำคัญเนื่องจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 แม้วว่าได้กำหนดค่าเสียหายไว้ในมาตรา 77 ตรีว่า “ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรง อนุสิทธิบัตรตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยคำนวณถึงความร้ายแรงของความเสียหายรวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรด้วย” ประกอบกับค่าสินไหมทดแทนไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด” สำหรับมาตรการในการป้องกันและเยียวยาความเสียหายได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรการ รองรับในทางแพ่งไว้ในมาตรา 77 ทวิ ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร เรื่องของการขอให้ศาลมีคำสั่งระงับหรือละเว้นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรก่อนฟ้องคดีและตามมาตรา 77
  • รายการ
    ปัญหาเกี่ยวกับอายุความการฟ้องคดียาเสพติด การฟอกเงินและภาษีอากร : ศึกษากรณีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก
    (Sripatum University, 2567) ณฐา เนืองจิระวัฒน์
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับอายุความรับผิดทางอาญา คดียาเสพติด การฟอกเงิน และภาษีอากรที่เป็นการกระทำความผิดต่อเด็ก เพื่อศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับอายุความรับผิดทางอาญา คดียาเสพติด การฟอกเงินและภาษีอากรที่เป็นการกระทำความผิดต่อเด็ก เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาอายุความรับผิดทางอาญาคดียาเสพติด การฟอกเงิน และภาษีอากรที่เป็นการกระทำความผิดต่อเด็ก เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาอายุความรับผิดทางอาญาคดียาเสพติด การฟอกเงิน และภาษีอากรที่เป็นการกร ะทำความผิดต่อเด็กปัญหาเกี่ยวกับอายุความการฟ้องคดียาเสพดิด การฟอกเงินและภาษีอากร
  • รายการ
    ปัญหาการเยียวยาค่าสินไหมทดแทนทางด้านจิตใจในคดีข่มขืนกระทำชำเรา : ศึกษากรณีการใช้ดุลพินิจของศาล
    (Sripatum University, 2567) กุลเดช กุลเจริญ
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเยียวยาค่าสินไหมทดแทนทางด้านจิตใจในคดีข่มขืนกระทำชำเราในส่วนการใช้ดุลพินิจของศาล การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร มาตรการทางกฎหมาย คำพิพากษาศาลคำตอบที่ได้มานำไปสู่การจัดทำร่างกฎหมายต้นแบบว่าด้วยให้ศาลมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องที่เกี่ยวกับการเยียวยาค่าสินไหมทดแทนทางด้านจิตใจในคดีข่มขืนกระทำชำเรา
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 : ศึกษากรณีมาตรา 145
    (Sripatum University, 2567) พรพรรณ อุไรกุล
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเปีนมา แนวคิด ทฤษฎี และ หลักการเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 145 และ สภาพปัญหา ช่องว่างของกฎหมาย หรือข้อจำกัดกฎหมายจากการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดในการนำพฤติการณ์และบทบาทหน้าที่มากำหนดโทษในคดียาเสพดิด เพื่อศึกษาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 145 ของประเทศไทย และกฎหมายยาเสพติดของต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 145 และเพื่อศึกษาเสนอแนวทางในการปรับปรุงการบังคับใช้ประ มวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 145
  • รายการ
    ปัญหาการกำหนดโทษปรับทางปกครองแทนโทษทางอาญา : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
    (Sripatum University, 2567) สลิลทิพย์ ศรีสิงห์
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การกำหนดโทษทางอาญาและโทษทางปกครองที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโทษทางอาญาและโทษทางปกครองของกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและโทษทางปกครอง ที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและโทษทางปกครองที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการคุกคามในลักษณะการเฝ้าติดตาม
    (Sripatum University, 2567) วรลักษณ์ อุไรกุล
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย รูปแบบ ลักษณะ พฤติกรรมการคุกคามโดยการเฝ้าติดตาม และศึกษาแนวคิดทฤษฎีของการคุ้มครองผู้ที่ถูกเฝ้าติดตาม เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีการคุกคามโดยการเฝ้าติดตามในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้เกี่ยวกับกรณีการคุกคามโดยการเฝ้าติดตามในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับกรณีการคุกคามโดยการเฝ้าติดตามที่มีผลกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว
  • รายการ
    มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศิริทิพย์ ทองสมุทร
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายในกรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 กรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่มีคุณภาพไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความปลอดภัย ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพของมาตรฐานและเกิดความไม่ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีคุณภาพอีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป จากการศึกษา พบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ปัญหากฎหมายการขออนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เนื่องจากได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากยิ่งขึ้นในการลงทุน และมีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็ก และขนาดกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ค่อนข้างยาก และปัญหากฎหมายผลิตภัณฑ์จะได้รับอนุญาตได้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่จะต้องได้เกณฑ์มาตรฐานค่าความบริสุทธิ์หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนตำรับ ต้องมีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งตรวจว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องไม่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐาน และต้องไม่มีการปนเปื้อนโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกับห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ซึ่งห้องปฏิบัติการในการที่ผู้มีความประสงค์ขออนุญาตจะส่งผลิตภัณฑ์ตรวจในแต่ละครั้งมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการและทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะ: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร จังหวัดนนทบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) รพีพงศ์ วรากุลวรพันธ์
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการขยะทั้งในภาพรวมของประเทศและในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษาทั้งกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการจัดการขยะ เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะของประเทศไทยในภาพรวมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ อันรวมถึงการจัดการขยะภายในขอบเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ แต่ยังคงพบประเด็นปัญหา เนื่องจากมีกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะหลายฉบับและทุกฉบับกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติของตนเอง ทั้งนี้ การมีกฎหมายแม่บทหลายฉบับส่งผลให้เกิดความทับซ้อนและสับสนในทางปฏิบัติที่ราชการส่วนท้องถิ่นจะนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการออกข้อบัญญัติ และยังส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาด้านอื่น ๆ อีก อาทิ การนิยามคำว่ามูลฝอยที่แตกต่างกัน การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน และการกำหนดโทษที่แตกต่างกัน โดยจากการศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเครือรัฐออสเตรเลีย พบว่ามีกฎหมายหลักเพียงฉบับเดียวในการจัดการขยะและในแต่ละประเทศจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายด้านการจัดการขยะ
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดวาระของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภัทรานิษฐ์ ประสงค์สุข
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางการที่สามารถใช้บังคับและตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติในการจำกัดการดำรงตำแหน่งอันเป็นการป้องกันการผูกขาดอำนาจในมหาวิทยาลัยโดยทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ในเรื่องดังกล่าวได้มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างเป็นระบบและชัดเจนอันเป็นการแตกต่างกับของประเทศไทย ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดให้การดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาดอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในมหาวิทยาลัย ประกอบกับควรจะต้องมีการจัดตั้งองค์กรอิสระที่มีความเป็นกลางขึ้นโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ คัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบการใช้อำนาจของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาหรืออุดช่องว่างของกฎหมาย อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยอย่างสูงสุดและมีประสิทธิภาพ
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) อารยา ห่อทรัพย์
    สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน (Issuing Repeated Disciplinary Punishment Order) โดยพิเคราะห์กรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (Government Teacher and Educational Personnel Act B.E. 2547 (2004)) โดยศึกษาและวิจัยถึงความเป็นมา ความหมาย กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ในกรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกันอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ซึ่งวินิจฉัยชี้มูลความผิดทางวินัยในความผิดเดียวกันกับที่ผู้บังคับบัญชาเคยสั่งลงโทษ ไปแล้ว และมีการออกคำสั่งลงโทษใหม่เพื่อเพิ่มโทษจากคำสั่งลงโทษเดิม โดยเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่สองฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และ (2) ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งพบว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการยกเลิกหรือเพิกถอน (Cancellation or Revocation) คำสั่งลงโทษทางวินัย และแนวทางการพิจารณาการมีผลใช้บังคับของคำสั่งลงโทษฉบับเดิมยังขาดความชัดเจน จึงก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย (Gap in Law) ที่ทำให้ผู้บังคับบัญชา (Commander) อาจสั่งลงโทษทางวินัยในมูลความผิดเดียวกันได้ถึงสองครั้ง ซึ่งขัดต่อหลัก ne bis in idem หรือหลักการห้ามลงโทษซ้ำสองครั้ง (Principle Forbidding Double Jeopardy) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถูกลงโทษ และอาจขัดต่อหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วนตามนัยมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมถึงหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในแง่มุมของสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีนัยที่ให้ความเคารพต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ลัดดาวัลย์ สิทธิโชคธรรม
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของประเทศไทย, เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของไทยและต่างประเทศ, วิเคราะห์มาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 3 ประเด็นคือ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดสถานที่ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่รวมถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินการ, ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ดำเนินการและผู้สูบบุหรี่ที่ไม่ปฏิบัติตาที่กฎหมายกำหนด เพื่อหาแนวทางในการ ปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไปในอนาคต จากการศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องการคุ้มครองประโยชน์มหาชนและแนวคิดในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลถูกนำมาใช้ในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผุ้ไม่สูบบุหรี่จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีการออกมาตราการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เกิดขึ้น คือ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และมีการออกประกาศสถานที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และสถานที่สาธารณะที่อนุญาตให้จัดเขตสูบบุหรี่ได้ ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ พบว่าแต่ละประเทศมีมาตรการไม่ได้แตกต่างกัน เนื่องจากทั้ง 4 ประเทศต่างเป็นรัฐภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามกรอบของอนุสัญญาในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการของต่างประเทศ และวิเคราะห์กับมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า การกำหนดสถานที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทยนั้นยังมีบางสถานที่ ยานพาหนะบางประเภทที่ยังไม่ครอบคลุม บทบาทหน้าที่ของเจ้าสถานที่ ยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 เป็นการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดต่างๆ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รวมถึงบทกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดนั้นมีการกำหนดโทษทางอาญาที่มีโทษจากการกระทำความผิดเท่ากันทุกราย โดยไม่มีการแบ่งประเภทของผู้กระทำความผิดหรือไม่มีการนำมาตรการทางปกครองมาใช้บังคับร่วมกับโทษทางอาญา
  • รายการ
    ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ปิยพร วุยชัยภูมิ
    ข้าราชการทุกคนจะต้องมีวินัย (Discipline) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการครองตน และเป็นหลักปฎิบัติอันเป็นธรรมเนียม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเจริญของทางราชการเป็นสำคัญ แนวทางในการพิจารณาเรื่องการควบคุมความประพฤติของข้าราชการนั้น มีการพัฒนาเรื่อยมา แต่ก็ยังพบปัญหาเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ ทางวินัย ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา 85(4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่ากระทำการเช่นใดถือเป็นกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แต่ได้ให้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการตัดสินโดยอาศัยแนวทางตามคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลธรรมดาในคดีล้มละลาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) พงศกร ทองโชติ
    สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษา ปัญหาทางกฏหายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลธรรมดาในคดีล้มละลาย เนื่องจากกฏหมายล้มละลายของประเทศไทยมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลานานโดยไม่มีการแก้ไขกฏหมายให้มีความทันสมัยตามแนวความคิดเกี่ยวกับกฏหมายล้มละลายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลธรรมดายังไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะถูกกระทบเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทั้งที่บัญญัติไว้ในกฏหมายล้มละลายและกฏหมายฉบับอื่น จึงควรที่จะศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฏหมายของไทยเพื่อให้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลล้มละลายกรณีบุคคลธรรมดาได้รับการคุ้มครอง