ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

dc.contributor.authorกำหนด โสภณวสุ
dc.date.accessioned2552-08-28T03:49:45Z
dc.date.available2552-08-28T03:49:45Z
dc.date.issued2552-08-28T03:49:45Z
dc.description.abstractจากการศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ทำให้ทราบว่า คนไทยทำการสมรสกับคนต่างด้าวได้ มีผลสมบูรณ์ โดยกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเช่นเดียวกับคนไทยสมรสกับคนไทย ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินสมรสหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีบทบัญญัติจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินในประเทศไทย และยังมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิบางประการของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวในการขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือถือที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ก็จะไม่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของคนไทย ทำบันทึกยืนยันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สินสมรส จึงจะรับจดทะเบียนให้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สัมพันธ์กับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทั้งยังเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาวางหลักกฎหมายไว้ว่า “ที่ดินและทรัพย์สินซึ่งได้มาในระหว่างสมรส ย่อมเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีส่วนอยู่ด้วยคนละครึ่ง และคนต่างด้าวซึ่งเป็นสามีหรือภริยาอาจขอให้แบ่งที่ดินนั้นให้แก่ตนครึ่งหนึ่งได้” ในการศึกษาสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐาน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยมุ่งประเด็นว่า คนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการขอให้ได้มาซึ่งการถือครองที่ดิน ตลอดจนเมื่อได้ถือครองที่ดินแล้ว คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรบ้าง เมื่อทราบปัญหาและอุปสรรคแล้ว จึงนำหลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลฎีกาและหลักนิติธรรมมาเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ทั้งนี้จะเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และในขณะเดียวกันจะช่วยอำนวยความยุติธรรมด้วย โดยนัยดังกล่าว พอสรุปแนวทางได้ว่า เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในประมวลกฎหมายที่ดิน ในกรณีการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ควรเชื่อได้ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดจะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว โดยกำหนดนิยามศัพท์และบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน ให้อยู่ในกรอบที่ชัดเจนสอดคล้องกับหลักแห่งความเสมอภาค และความทัดเทียมของบุคคลภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้ริดรอนสิทธิและเสรีภาพของคนไทยในการถือครองที่ดิน รวมตลอดถึงควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว ให้มีบทบัญญัติครอบคลุมชัดเจนตามระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรต่อไปen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1550
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectการถือกรรมสิทธิ์en_US
dc.subjectที่ดินen_US
dc.subjectคู่สมรสen_US
dc.subjectคนต่างด้าวen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 13
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
title.pdf
ขนาด:
60.52 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstract.pdf
ขนาด:
55.6 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
acknow.pdf
ขนาด:
29.39 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
content.pdf
ขนาด:
42.22 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
chap1.pdf
ขนาด:
64.58 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย:

คอลเลคชัน