การศึกษาการใช้แบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน
กำลังโหลด...
วันที่
2547
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการจำแนกกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงิน ( Failed ) กับธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอด ( Nonfailed ) และพัฒนาตัวแบบ ( Model ) สำหรับใช้ทำนายลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงินของธุรกิจ หรือแนวโน้มของความอยู่รอดของวิสาหกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อม ข้อมูลการศึกษาได้จากงบการเงินของธุรกิจ SMEs ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทที่ประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน จำนวน 36 บริษัท และกลุ่มบริษัทที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดจำนวน 36 บริษัท จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และบริษัทบิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมิถุนายน 2546 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ใช้สถิติการจำแนกประเภท ( Discriminant Analysis ) สำหรับการพัฒนาแบบจำลองสำหรับการจำแนกประเภทกลุ่มธุรกิจว่าจะประสบปัญหาทางการเงินหรือไม่
ผลจากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญและได้ถูกนำมาอยู่ในแบบจำลอง 3 อัตราส่วน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) กำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม ( Retained Earning to Total Assets Ratio ) , 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม ( Debt Ratio ) และ 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ( Return on Assets Ratio ) แบบจำลองที่พัฒนาได้สามารถพยากรณ์ใน 1 ปี ก่อนที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย 70.8 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำลดลงเหลือ 61.1 เปอร์เซ็นต์ ใน 2 ปี ก่อนที่จะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้มีความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้ แบบจำลองนี้มีความแม่นยำในการพยากรณ์ธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดมากกว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน นอกจากนี้การศึกษาในครั้งนี้ได้เสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
คำอธิบาย
ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2546
คำหลัก
แบบจำลองภาวะล้มละลาย, ธุรกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อม, อัตราส่วนทางการเงิน