รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 139
  • รายการ
    ผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีที่มีต่อผลตอบแทนเกินปกติของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-12) ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีที่มีต่อผลตอบแทนเกินปกติ และศึกษาผลกระทบดังกล่าวโดยการเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงของบริษัทที่แตกต่างกัน และขนาดของบริษัทที่แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2553 จำนวน 392 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มย่อยโดยใช้ Chow Test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยของหน่วยวิเคราะห์ทั้งหมด พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ สำหรับผลการวิจัยของการวิเคราะห์กลุ่มย่อย สรุปได้ ดังนี้ (1) บริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำ พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้ต้นทุนขายและรายการคงค้างไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (2) บริษัทที่มีความเสี่ยงสูง พบว่า กำไรทางบัญชี และภาษีอากรมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (3) บริษัทขนาดเล็ก พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (4) บริษัทขนาดใหญ่ พบว่า กำไรทางบัญชี และภาษีอากรมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้ดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย รายการคงค้าง และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ นอกจากนั้นยังพบว่า ขนาดของบริษัทที่วัดค่าจากสินทรัพย์เป็นตัวแปรปรับที่มีอิทธิพลมากกว่าความเสี่ยงบริษัทที่วัดค่าจากอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนในตลาดทุนของประเทศไทยใช้ข้อมูลทางบัญชีที่แสดงในงบการเงิน เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจกำหนดราคาหลักทรัพย์ ผลการวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ใช้งบการเงินในการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทย และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
  • รายการ
    กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
    (2555-02) กุลวรีย์ ดิษพรหิรัณยะกุล
    ในการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ 2) ศึกษาปัญหาการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัย 16 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 201 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.3 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 61.7 และประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.7 2) ผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารภายในองค์กร อยู่ในระดับมากในข้อได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ ความสำคัญของข่าวสาร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.72 การสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร อยู่ในระดับมากในข้อหนังสือเวียน ค่าเฉลี่ย 3.41 การสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากในข้อการใช้โทรศัพท์ภายใน ค่าเฉลี่ย 4.06 การสื่อสารกับผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับมากในข้อที่มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ค่าเฉลี่ย 4.30 3) ปัญหาการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.29 ขาดทักษะในการพูดในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ใช้บริการ มีความพร้อมก่อนที่จะรับสารนั้นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.81 และขาดทักษะในการเขียนในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ใช้มีความพร้อมก่อนที่จะรับสารนั้นๆ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.80
  • รายการ
    การศึกษาการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรม
    (2555-01) สมบูรณ์ เวสน์
    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความเป็นมา ลักษณะกิจกรรม และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรมของพื้นที่ย่านเยาวราชบริเวณถนนแปลงนาม ถนนอิสระนุภาพและถนนผดุงด้าว จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ ข้อจำกัด ความเชื่อมโยงและแนวโน้มของการใช้พื้นที่ในบริบทต่างๆ และกำหนดเป็นแนวทางเพื่อนำมาสู่การพัฒนาในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงพรรณนา โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงการสำรวจ และการสังเกต แล้วใช้เครื่องมือบันทึก หรือแบบบันทึกในการบันทึกพฤติกรรมของการใช้ที่ว่าง และรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้จากการสังเกตในบริเวณที่ทำการศึกษา โดยแบ่งตามเนื้อหาลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างอาคาร จากการใช้พื้นที่ของคน รถ และการค้าขายจากการศึกษาพบว่าย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของสถานที่ มีลักษณะการใช้พื้นที่ว่างที่สอดคล้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา ทั้งการไหว้เจ้า ตรุษจีน การถือศลีกินเจเน้นการค้าขายทั้งขายปลีกและขายส่ง และการศึกษาตรอกในบริเวณพื้นที่ศึกษา สามารถแบ่งประเภทและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น การวางสิ่งของรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ทั้งกระถางต้นไม้ รถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ การตั้งแผงขายของ และการต่อเติมกันสาดบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคาร ปัญหาในเรื่องความสะอาดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละด้านของตรอกทั้ง 3 ตรอกโดยขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรมตามธรรมชาติของคนในพื้นที่เป็นหลัก และนำเสนอเป็นภาพกราฟริกและแนวทางปฏิบัติ ตามบริบทของพื้นที่ทั้ง 3 ตรอก
  • รายการ
    การอนุรักษ์ชุมชนและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย
    (2555-01) ชนกพร ไผทสิทธิกุล
    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม โดยศึกษาองค์ประกอบต่างๆ เช่นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและแม่น้ำ สภาพกายภาพของชุมชน ผังหมู่บ้านและเรือนพื้นถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิต คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ตลอดจนผลกระทบและความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนจำนวน 3 ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย คือชุมชนบ้านรวมมิตร ชุมชนบ้านจะคือ และชุมชนแม่สลัก โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงค้นพบ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยทำการสำรวจภาคสนาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการอธิบาย จากการศึกษาพบว่าทั้ง 3 ชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแม่น้ำ ทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ตลอดจนการดำรงชีพ เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการเกษตรกรรมและกสิกรรม ตลอดจนมีประเพณี พิธีกรรมทางด้านความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ และปัจจุบันชุมชนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบในด้านต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ปัญหาด้านวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกับวิถีชีวิตทั้งด้านกายภาพและจิตใจ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ในระยะสั้นและระยะยาว โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ ทั้งนี้ควรให้เป็นไปตามรูปแบบลักษณะเฉพาะตัวของชุมชน ตามอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ที่อาศัยในชุมชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจ และตระหนักต่อคุณค่าทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองเพื่อรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าทางวัฒนธรรม และเพื่อความยั่งยืนของชุมชนอย่างแท้จริง
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555-01) อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เข้ามาใช้บริการห้างค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของตารางแจกแจงความถี่และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี สถานภาพโสด ไม่มีบุตร-ธิดา การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท 2. ผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนที่กลุ่มตัวอย่างซื้อมากที่สุดคือ ช็อกโกแลต โดยยี่ห้อที่เคยซื้อมากที่สุดคือยี่ห้อ Tango จากประเทศมาเลเซีย รองลงมาได้แก่ Crispy และ Bryl's chocolate โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบมาก่อนว่าผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ซื้อนั้นผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียน และยังยืนยันที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆต่อไป กลุ่มตัวอย่างยังระบุว่าส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนจากเซเว่น อีเลฟเว่น และซื้อโดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยซื้อไปบริโภคเองมากที่สุด และซื้อซ้ำยี่ห้อเดิมตลอด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังระบุว่าใช้จ่ายต่ำกว่า 100 บาทต่อครั้งในการซื้อ 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการที่ผู้ผลิตมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายมากที่สุด รองลงมาได้แก่การมีรูปลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ดี และมีราคาถูก โดยแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนคือโทรทัศน์และเพื่อน 4. กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ระบุว่ามีความรู้สึกพอใจผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนบางประเภท โดยสาเหตุของความไม่พอใจมาจากผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศอื่นมีคุณภาพดีกว่าและซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเพราะเพียงแค่อยากทดลอง ส่วนสาเหตุของความพอใจนั้นเพราะมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดให้เลือก มีรูปลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ดี และมีเครื่องหมายรับรองทางการค้าและผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน 5. การทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยใช้สถิติทดสอบไคสแคว์วิเคราะห์ทดสอบความเป็นอิสระ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน เพศ และระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่โดยเฉลี่ยของการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนในรอบ 1 เดือน ในขณะที่ อายุ สถานภาพ จำนวนบุตร-ธิดา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความถี่โดยเฉลี่ยของการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนในรอบ 1 เดือน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินที่ซื้อโดยเฉลี่ยต่อครั้งพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินที่ซื้อโดยเฉลี่ยต่อครั้ง ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน อายุ สถานภาพ จำนวนบุตร-ธิดา ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินที่ซื้อโดยเฉลี่ยต่อครั้ง การหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งกระตุ้นทางการตลาดกับความถี่โดยเฉลี่ยของการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนในรอบ 1 เดือน พบว่าสิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มีให้เลือกหลากหลาย เป็นสินค้าใหม่จึงอยากทดลองซื้อ ยี่ห้อหรือชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ ราคาถูก คุณภาพเหมาะสมกับราคา หาซื้อได้ง่าย และสิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านอื่น ๆ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านความถี่โดยเฉลี่ยใน 1 เดือน ในขณะที่การมีรูปลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ดี การจัดวางสินค้าที่สะดุดตา และการมีของแถม/ส่วนลดมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านความถี่โดยเฉลี่ยใน 1 เดือน การหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งกระตุ้นทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินที่ซื้อโดยเฉลี่ยต่อครั้งพบว่า สิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลาย เป็นสินค้าใหม่จึงอยากทดลองซื้อ ยี่ห้อหรือชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ หาซื้อได้ง่าย การจัดวางสินค้าที่สะดุดตา มีของแถม/ส่วนลด และสิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านอื่น ๆ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินโดยเฉลี่ยต่อครั้ง ในขณะที่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านรูปลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ดี ราคาถูก และคุณภาพเหมาะสมกับราคา พบว่ามีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินโดยเฉลี่ยต่อครั้ง การหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอ้างอิงในการตัดสินใจซื้อกับความถี่โดยเฉลี่ยของการซื้อผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนในรอบ 1 เดือน พบว่า คนในครอบครัว/ญาติพี่น้อง เพื่อน โฆษณาแผ่นพับของห้าง พนักงานขาย บุคคลอ้างอิงในการตัดสินใจซื้ออื่น ๆ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านความถี่โดยเฉลี่ยใน 1 เดือน ในขณะที่ โฆษณาทางโทรทัศน์พบว่ามีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านความถี่โดยเฉลี่ยใน 1 เดือน การหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอ้างอิงในการตัดสินใจซื้อกับจำนวนเงินโดยเฉลี่ยต่อครั้งพบว่า โฆษณาทางโทรทัศน์ คนในครอบครัว/ญาติพี่น้อง เพื่อน โฆษณาแผ่นพับของห้าง พนักงานขาย บุคคลอ้างอิงในการตัดสินใจซื้ออื่น ๆ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านจำนวนเงินโดยเฉลี่ยต่อครั้ง
  • รายการ
    การประเมินความเสียหายภายใต้แรงแผ่นดินไหวของอาคารสูง โดยวิธีการผลักแบบวัฏจักร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555-01) ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หาค่าการเคลื่อนที่สูงสุดและค่าระดับความเสียหายของอาคารสูงเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวโดยวิธีการผลักแบบวัฏจักร ซึ่งเป็นการจำลองพฤติกรรมแรงกระทำให้ใกล้เคียงกับสภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้มากที่สุด ในการศึกษานี้ เลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 9 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัยประเภทหอพักมาเป็นกรณีศึกษา ในการพัฒนาวิธีการนี้ ได้ทำการวิเคราะห์หาค่าการเคลื่อนที่สูงสุด ซึ่งใช้ในการผลักอาคารแบบวัฏจักร พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการกระจายของแรงผลักตลอดความสูงอาคาร และรูปแบบประวัติการเคลื่อนที่และรูปแบบประวัติการเคลื่อนที่สำหรับแรงกระทำแบบวัฏจักร ซึ่งในงานวิจัยนี้ ใช้รูปแบบของประวัติเวลาของแรงกระทำ จำนวน 4 แบบ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบแรงกระทำต่อการเคลื่อนที่ของโครงสร้าง และนำผลตอบสนองไปเปรียบเทียบกับวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือ โดยใช้ข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวจำนวน 10 คู่ เป็นตัวแทนสำหรับพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย และเปรียบเทียบกับวิธีการผลักแบบรวมโหมด ผลการศึกษาพบว่า ค่าการเคลื่อนที่ทางด้านข้างสูงสุดบนยอดอาคาร ค่าการเคลื่อนที่สูงสุดของแต่ละชั้นอาคาร ค่าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของชั้นอาคาร การเกิดข้อหมุนพลาสติกและค่าดัชนีความเสียหายซึ่งได้จากวิธีการผลักแบบวัฏจักร ให้ผลที่ใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้องมากกว่าวิธีการผลักแบบรวมโหมด เนื่องจากวิธีการผลักแบบวัฏจักรทำให้เกิดข้อหมุนพลาสติกที่โคนเสาชั้นล่างและปลายคานในบริเวณชั้นล่าง ส่งผลให้โครงสร้างมีค่าสติฟเนสที่ลดลง ทำให้ความสามารถในการต้านทานการเคลื่อนที่ลดลง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว เป็นผลทำให้ ค่าผลตอบสนองเหล่านี้เข้าใกล้กับค่าที่ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • รายการ
    การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เรื่อง“สตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทย” พ.ศ. 2536 - 2552
    (ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-12) เอกธิดา เสริมทอง
    การศึกษาเรื่อง “สถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยพ.ศ. 2536 – 2552” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยตามทฤษฎีองค์ประกอบของการสื่อสารของ David K. Berlo และเพื่อเปรียบเทียบงานศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยในยุคแรก(พ.ศ. 2520-2535) เพื่อให้เห็นทิศทางการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยกำหนดขอบเขตด้านระยะเวลาในการรวบรวมผลงานศึกษาที่เป็นวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา อาจารย์ หรือนักวิจัยทั่วไป ทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กร ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระหว่างพ.ศ. 2536 – 2552 และในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้บทบาทในทุกมิติของสตรีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ทั้งในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน เนื้อหาสารที่เกี่ยวข้องกับสตรี ช่องทางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสตรี และสตรีในฐานะผู้รับสาร ตามทฤษฎีองค์ประกอบของการสื่อสารของ David K. Berlo ผลการวิจัยพบว่า 1. งานศึกษาสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยช่วงปีพ.ศ.2536-2552 รวมระยะเวลา 16 ปี มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสตรีกับสื่อมวลชนจำนวนทั้งสิ้น 330 งานศึกษา ค่าเฉลี่ยประมาณ 20 เรื่องต่อปี โดยปริมาณงานที่ต่ำสุดคือ 6 เรื่องต่อปี และปริมาณที่มากสุดคือ 32 เรื่องต่อปี โดยประเด็นการศึกษาเนื้อหาสารที่สตรีมีส่วนเกี่ยวข้อง (Message Study) ได้รับความสนใจศึกษามากที่สุด และการศึกษาสตรีในฐานะผู้ส่งสาร (Sender Study) ได้รับความสนใจศึกษาน้อยที่สุด 2. แหล่งที่ทำการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่มีงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสตรีกับสื่อมวลชนเป็นจำนวนมากที่สุด และรองลงมาเป็นมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ในการศึกษาสตรีในฐานะผู้ส่งสารหรือผู้ผลิตสาร พบว่าประเด็นการศึกษาชีวิตการทำงานด้านสื่อมวลชนของสตรีได้รับความสนใจศึกษามากที่สุด ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่เพิ่งพบในการศึกษาในยุคที่สอง (ช่วงพ.ศ. 2536-2552) แสดงให้เห็นว่าสตรีสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสื่อมวลชน นอกจากนี้ยังพบว่าความเป็นเพศหญิงของสตรีผู้ผลิตงานไม่ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการตั้งคำถามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสตรีในทุกเรื่องเสมอไป 4. ในการศึกษาเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสตรี พบว่าเนื้อหาการศึกษาแบ่งเป็น 9 ประเภทได้แก่ด้านบทบาทและสถานภาพ ด้านเพศ (Gender) ด้านสาธารณสุข ด้านจริยธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติของสตรี ด้านภาษา ด้านการพัฒนา ด้านการเมือง ด้านองค์กรธุรกิจ และเนื้อหาด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสตรี ได้แก่สื่อกับแนวคิดสตรีนิยม สื่อกับโสเภณี และการค้า-มนุษย์ สื่อกับสิทธิสตรี และสื่อกับการประกอบสร้างความหมาย โดยเนื้อหาด้านบทบาทและสถานภาพของสตรีได้รับความสนใจศึกษามากที่สุด ในขณะที่เนื้อหาด้านองค์กรธุรกิจได้รับความสนใจน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าภาพรวมการศึกษาสตรีกับเนื้อหาสารขยายขอบเขตการศึกษาหลากหลายมากขึ้น และมีความเฉพาะในความเป็นเพศหญิงมากยิ่งขึ้นกว่าในการศึกษายุคแรก 5. ในการศึกษาตัวสื่อที่เกี่ยวข้องกับสตรี พบว่าสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความสนใจมากกว่าสื่ออิเล็คทรอนิคกว่า 2 เท่าตัว โดยสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารได้รับความสนใจศึกษามากที่สุด ในขณะที่สื่อภาพยนตร์ได้รับความสนใจศึกษาน้อยที่สุด นอกจากนี้พบปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นแตกต่างจากการศึกษาในยุคแรกคือ การเกิดปรากฎการณ์ความสนใจในสื่อใหม่ (New Media) เช่นสื่อเว็บไซต์ ที่ได้รับความสนใจมากเป็นอันดับสี่จากเจ็ดอันดับ ผลการศึกษาพบว่าสื่อใหม่ไม่เพียงเป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีความรวดเร็ว แต่ยังพ่วงสัญญะความทันสมัย หรูหรา และเพิ่มรสนิยม ให้กับผู้ใช้สื่อด้วย 6. ในการศึกษาผู้รับสารสตรี พบว่ามิติการศึกษาแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มได้แก่กลุ่มการศึกษาการใช้ประโยชน์ การรับรู้ การซื้อ การเปิดรับสื่อ การศึกษาความพึงพอใจ การศึกษาความต้องการสื่อ และการศึกษาทัศนคติ พบว่าการศึกษาในยุคที่สองมีการวิเคราะห์ผู้รับสารเจาะจงถึงลักษณะพิเศษของความเป็นสตรี (Femininity) เช่นบทบาทมารดา ความเป็นแม่บ้าน ผู้หญิงอาชีพพิเศษ รวมถึงพบงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสตรีเป็นการเฉพาะเช่น สุขอนามัยของสตรีหลังคลอด พฤติกรรมการใช้ผ้าอนามัย การตรวจมะเร็งเต้านม สิทธิทางเพศของสตรี เว็บไซต์กลุ่มหญิงรักหญิง นอกจากนี้ยังพบว่านักวิจัยในการศึกษายุคที่สองใช้กรอบแนวคิดสตรีศึกษา (Gender Study) และทฤษฎีเฟมินิสต์มาร่วมในการวิเคราะห์ด้วย
  • รายการ
    การสร้างโมเดลการจัดการระบบนักศึกษาสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-12) ปราลี มณีรัตน์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาปัจจัยที่ผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา ในการสร้างระบบบริหารความสัมพันธ์นักศึกษา (Student Relationship Management) โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ซึ่งใช้การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Clustering) โดยอัลกอริทึม K Mean และเทคนิค JRip การหาความสัมพันธ์ของระหว่างปัจจัยร่วมกัน ในงานวิจัยนี้ครั้งนี้ได้เก็บแบบสอบถามจำนวน 2,731 ชุด จากนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน จำนวน 7 แห่ง โดยการแจกแบบสอบถามแบบบังเอิญ(Accidental Sampling) ซึ่งลักษณะแบบสอบถาม จะสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้คือ ภาพรวมเนื้อหาหลักสูตร คุณสมบัติอาจารย์ และสิ่งอำนวยความสะดวกของแต่ละมหาวิทยาลัย ในงานวิจัยครั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Clustering) โดยใช้เทคนิค K mean แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามชั้นที่ 1,2,3 และ 4 ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เป็นวิธีที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์คุณลักษณะและความพึงพอใจในด้านต่างๆ ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน โดยที่ชั้นปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย( ) ความพึงใจรวมในด้านต่างๆ เท่ากับ 3.77 ชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย( ) ความพึงใจรวมในด้านต่างๆ เท่ากับ 3.64 ชั้นปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย( ) ความพึงใจรวมในด้านต่างๆ เท่ากับ 3.67 และชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย( ) ความพึงใจรวมในด้านต่างๆ เท่ากับ 3.77 และใช้เทคนิค JRip ช่วยในการต้นหากฎความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มที่สนใจศึกษา เพื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดว่ากลุ่มนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใดร่วมกัน เพื่อจะนำมาปรับปรุงการสร้างความพึงพอใจให้กับนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มนักศึกษาแต่ละกลุ่มให้มากที่สุด
  • รายการ
    การศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ของกระแสจราจรบนถนนสายหลักในชุมชน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-10) ชิษณ อัมพรายน์
    งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการจราจร อัตราเร็ว และความหนาแน่นบนถนนสายหลักภายในชุมชนเพื่อนำไปสู่การหาค่าความอัตราการไหลสูงสุดที่สอดคล้องกับสภาพทางการจราจรและการประกอบกิจกรรมข้างทางในประเทศไทย โดยจำแนกพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 พื้นที่ คือ กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครสมุทรปราการ และ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา แต่ละพื้นที่เลือกตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ถนนในแนวรัศมี ถนนแนวผ่าเมือง และ ถนนแนวเลี่ยงเมือง การสำรวจทำแบบแยกทิศทาง มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 ตัวอย่าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ถนนลาดพร้าวทิศทางขาเข้าและขาออกเมืองจะมีลักษณะการเคลื่อนที่ของกระแสจราจรเป็นถนนสายหลักภายในชุมชน เนื่องจากมีค่าอัตราการไหลสูงสุดใกล้เคียงกับค่าความจุจาก HCM 2000 และมีค่า R2 ระหว่างอัตราเร็วและความหนาแน่นมากกว่า 0.6
  • รายการ
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานเพื่อเพิ่มความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-05) สายฝน กล้าเดินดง
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การตามประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 383 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และได้ทำการทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่า Cronbach’s reliability Coefficient alpha โดยรวมเท่ากับ 0.92 แล้วจึงนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจนได้แบบสอบถามครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson Product moment correlation coefficient, Rxy) ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร มีคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน (2) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลที่ได้รับจากการรับสารธรรมะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-07) อิสราภรณ์ ลาดละคร
    การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลที่ได้รับจากการรับสารธรรมะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่ใช้เผยแผ่ธรรมะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดรับ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและเปิดรับสาร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการนำความรู้ด้านธรรมะไปปฎิบัติภายหลังได้รับการถ่ายทอด และเพื่อศึกษาผลที่ได้จากการนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครสังกัด สพฐ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน และโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 5 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลงานวิจัยพบว่าสถานภาพปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอายุ 17 ปี มีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 34.6 และสาขาที่เรียน คือ วิทย์ – คณิต ด้านสถานภาพของบิดามารดาคือ อยู่ด้วยกัน ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 10,001- 20,000 บาท ด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อธรรมะจะมีความถี่ในการเปิดรับสื่อสารธรรมะ นานๆ ครั้ง ได้แก่ ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุ ทางหนังสือพิมพ์ ทางนิตยสาร ทางวารสาร แผ่นพับ ทางบุคคล เช่น พระภิกษุ บิดา/มารดา ญาติ/พี่น้อง เพื่อน ทางอินเตอร์เน็ต คือ นาน ๆ ครั้ง และมีระยะเวลาในการเปิดรับสื่อสารธรรมะ คือ น้อยกว่า 10 นาที/ครั้ง ได้แก่ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุ ทางหนังสือพิมพ์ ทางนิตยสาร ทางวารสารแผ่นพับ ทางอินเตอร์เน็ต ส่วนช่วงเวลาในการเปิดรับสื่อสารธรรมะจะแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล โดยด้านความรู้ในสารธรรมะนั้นจะมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ อริยสัจสี่ อริยมรรค 8 ประการ ข้อบัญญัติในศีล 5 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ในส่วนของการนำความรู้จากสารธรรมะไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน คือ หลักของความสะอาด ซึ่งอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การอาบน้ำทุกเช้า และเย็น ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบสมมุติฐานพบว่า คุณลัษณะทางประชากรที่แตกต่างจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน ชนิดของสื่อในการเผยแผ่ธรรมะที่แตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน และวิธีการถ่ายทอดสารธรรมะแตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับการนำความรู้ด้านธรรมะไปปฎิบัติภายหลังได้รับการถ่ายทอดไม่แตกต่างกัน
  • รายการ
    การประยุกต์ตัวควบคุมแบบฟัซซีกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแบบสวิตชิง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-06) กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์
    งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอตัวควบคุมแบบฟัซซีกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแบบสวิตชิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวควบคุมฟัซซีสำหรับควบคุมระดับแรงดันเอาต์พุตของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งการประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบฟัซซีเป็นการควบคุมแบบฐานความรู้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นเชิงเส้นของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงอีกทั้งยังหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ยาก ตัวควบคุมฟัซซีที่นำเสนอเป็นตัวควบคุมฟัซซีแบบพีไอ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ฟัซซิฟิเคชั่น ฐานความรู้และดีฟัซซีฟิเคชั่นตามลำดับ สร้างขึ้นบนไมโครคอนโทรลเลอร์ อาร์ม 7 ควบคุมในรูปแบบของแรงดันเอาต์พุตของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 480 วัตต์ 48 โวลต์ การทดสอบในสภาวะไม่มีโหลดและมีโหลด เพื่อทดสอบหาสมรรถนะของการตอบสนองช่วงครู่และการตอบสนองคงตัว ในขนาดโหลด 25, 50, 75และ100เปอร์เซ็นต์ของพิกัด ได้รับผลการทดสอบตรงตามวัตถุประสงค์
  • รายการ
    การศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในอาคารเรียน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-07) พศวีร์ ศรีโหมด
    งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในอาคารเรียน ค่าเกณฑ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคาร เป็นค่าที่แสดงการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าต่อการใช้ประโยชน์ภายในอาคาร ดังนั้นจึงเป็นค่าที่แสดงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของอาคาร ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงการใช้พลังงานของอาคารเรียนโดยใช้อาคารเรียนภายในมหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นกรณีศึกษา โดยดำเนินการศึกษาในอาคารเรียนจำนวน 3 อาคารคือ อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ (อาคาร 1), อาคาร 30 ปีศรีปทุม (อาคาร 9) และอาคารสยามบรมราชกุมารี (อาคาร 5) และจัดทำข้อมูลเกณฑ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคารได้ 2 รูปแบบ คือ 1.เกณฑ์การใช้พลังงานไฟฟ้าต่อจำนวนผู้ใช้อาคารและ 2.เกณฑ์การใช้พลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ปรับอากาศที่ใช้งานจริง จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเกณฑ์การใช้พลังงานของอาคาร 5 มีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่า อาคาร 1 และ อาคาร 9 ทั้ง 2 แบบ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าอาคาร 5 มีต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้าสูงกว่าอาคารเรียนอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลเกณฑ์การใช้พลังงานที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการต้นทุนการใช้พลังงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไป
  • รายการ
    การพัฒนาเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานกรณีศึกษาบ้านเขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-07) มนต์ผกา วงษา
    การวิจัย เรื่อง การพัฒนาเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานกรณีศึกษาบ้านเขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค าตอบให้กับบ้านเขาแก้วว่าจะเป็นเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนที่เป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานอย่างไร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสอบถามเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิท้องถิ่นได้แก่ เจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) เจ้าอาวาส ก านัน นายกอบต. และหัวหน้ากลุ่มแม่บ้าน โดยการใช้แบบสอบถามกับประชากร 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) กลุ่มชาวบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนไทยวนสระบุรี และกลุ่มผู้เยี่ยมเยือนหรือผู้มาพักแรมที่บ้านเขาแก้ว รวมทั้งใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมชีวประวัติ การลงพื้นที่ส ารวจ และน าแนวทางงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาปรับใช้ ผู้ท าการวิจัยน าข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่รวบรวมมาพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย โดยใช้บ้านไตยวนวัฒนธรรมล้านนาที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลกเป็นตัวตั้งเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง โดยใช้มาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์(Homestay)ไทย พ.ศ.2551ของส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับหมู่บ้านแม่ก าปอง ต าบลห้วยแก้ว กิ่งอ าเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรอบการพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบกับเรือนแรมบ้านเขาแก้วและโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งอยู่ในหมู่บ้านติดกันด้วยการหาค่าเฉลี่ยโดยผลที่ได้รับต้องไม่ต่ ากว่าร้อยละ75 ผลการประเมินบ้านเขาแก้วด้านลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาใกล้เคียงกับบ้านไตยวน ที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ83 ขณะที่โฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งเป็นเรือนไม้จริงใต้ถุนสูงมีลักษณะใกล้เคียงกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ33.33 แสดงว่าบ้านเขาแก้วมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนามากกว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาน้อยมาก เมื่อวิเคราะห์ด้านมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2551 โฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ61 และบ้านเขาแก้วได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ48 แสดงว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยมากกว่าบ้านเขาแก้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยตามเกณฑ์ที่ส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยวก าหนด สรุปได้ว่าบ้านเขาแก้วไม่ใช่โฮมสเตย์แต่มีประชาชนสนใจเข้าพักค้างแรมเพื่อสัมผัสบรรยากาศเรือนไทยริมแม่น้ าป่าสักอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเป็นแหล่งเรียนรู้การย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนจากเมืองเชียงแสน มีการจัดแสดงนิทรรศการทางวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน พิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ าป่าสัก การรับประทานอาหารแบบขันโตกพร้อมชมการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น และอยู่ใกล้หมู่บ้านต้นตาลซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนครั้งแรกที่เมืองสระบุรีตั้งแต่พ.ศ.2347 โดยหมู่บ้านต้นตาลยังคงลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพของชุมชนล้านนาที่ตั้งใกล้แหล่งน้ า มีข่วง(ลานกลาง)หมู่บ้านซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางประเพณีของชุมชน เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านต้นตาลผลิตผ้าฝ้ายทอมือซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและยินดีสอนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกให้แก่ผู้สนใจ ส่วนบ้านเขาแก้วมีการวางผังบริเวณกลุ่มเรือนไทยคล้ายกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่แต่มีลักษณะเด่นที่แตกต่าง คือ มีข่วงบ้าน 2 แห่งที่หน้าบ้านริมถนนปากบางหรือถนนสายวัฒนธรรมไทยวนและที่ริมแม่น้ าป่าสักที่เตียน สะอาด ร่มรื่นและเชื้อเชิญตามวิถีชิวิตของชาวไตยวน นอกจากนี้บ้านเขาแก้วยังเป็นแหล่งศึกษาด้านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารแบบขันโตกและการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น ทั้งบ้านเขาแก้วและบ้านต้นตาลมีผู้สอนถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วยความเต็มใจโดยไม่ปิดบัง ส่วนลูกหลานชาวบ้านที่มีความตั้งใจเรียนรู้ก็น าไปประยุกต์ใช้และน าไปสืบทอดด้วยความชื่นบานสดใส หากจะพัฒนาบ้านเขาแก้วเป็นโฮมสเตย์จะต้องมีการบริหารจัดการตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยพ.ศ.2551 ใน 10 มาตรฐาน 31 ดัชนีชี้วัดด้วยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ให้ความส าคัญกับการสืบสานวัฒนธรรมไทยวนสระบุรีร่วมกันอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดการความรู้(Knowledge Management)ด้วยการสร้างความเข้าใจในวิธีวิทยางานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อท้องถิ่นโดยใช้เวทีชาวบ้าน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจด้านสุนทรียภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยปรับแนวคิดในการพัฒนาทางกายภาพด้านภูมิทัศน์ การอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนาและสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นและวิธีการปลูก(ก่อสร้าง)เรือนด้วยภูมิปัญญาช่างไทยเพื่อสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนานับเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานสู่รุ่นลูกหลานซึ่งมีคุณค่า คุ้มค่าต่อความหมายที่ลุ่มลึกของค าว่า "เรือนแรม" ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชุมชนและวิถีชีวิตท้องถิ่นของไทยมิใช่เพียงค าว่า “โฮมสเตย์(Homestay)”
  • รายการ
    ปัจจัยสู่ความสำเร็จในอาชีพขายของพนักงานขายในร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-07) กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล
    การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยสู่ความสำเร็จในอาชีพขายของพนักงานขายในร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยลักษณะทาง\ด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ในอาชีพและปัจจัยด้านทัศนคติต่ออาชีพพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านที่แตกต่างกัน และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคลิกภาพและกลยุทธ์ในกระบวนการขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในอาชีพพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งประกอบด้วย จำนวน 5 บริษัท คือ โฮมโปร , โฮมเวิร์ค , อินเด็กซ์ ,บุญถาวร และซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 5 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 28 – 35 ปี ซึ่งมีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาในการทำงานต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 2 ปี ดำรงตำแหน่งพนักงานขาย ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนจำหน่ายขายอุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง ปัจจัยด้านความรู้ของพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างอยู่ในระดับมาก ส่วนพนักงานขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านมีความรู้อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านทัศนคติต่ออาชีพพนักงานในร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่ง อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านบุคลิกภาพของพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน อยู่ในระดับบางครั้ง ปัจจัยด้านบุคลิกภาพของพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน อยู่ในระดับบางครั้ง ปัจจัยด้านกลยุทธ์ในกระบวนการขายพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน อยู่ในระดับจริง ระดับความสำเร็จของอาชีพขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้าน เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับเหนือกว่าปานกลาง ด้านยอดขายเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับมากกว่าปานกลางด้านรายรับที่ได้จากการทำงานประมาณเฉลี่ยต่อเดือน10,001 - 15,000 บาท การทดสอบสมมุติฐานพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลส่วนของพนักงานขาย และปัจจัยด้านความรู้ในอาชีพพนักงานขายที่แตกต่างกันมีผลต่อความสำเร็จในอาชีพของพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติต่ออาชีพพนักงานขาย ปัจจัยด้านบุคลิกภาพของพนักงานขายและปัจจัยด้านกลยุทธ์ในงานขายที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในอาชีพของพนักงานขายอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งบ้านแตกต่างกันด้วย
  • รายการ
    การพัฒนาเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานกรณีศึกษาบ้านเขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-07) มนต์ผกา วงษา
    เขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค าตอบให้กับบ้านเขาแก้วว่าจะเป็นเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนที่เป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานอย่างไร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสอบถามเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิท้องถิ่นได้แก่ เจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) เจ้าอาวาส ก านัน นายกอบต. และหัวหน้ากลุ่มแม่บ้าน โดยการใช้แบบสอบถามกับประชากร 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) กลุ่มชาวบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนไทยวนสระบุรี และกลุ่มผู้เยี่ยมเยือนหรือผู้มาพักแรมที่บ้านเขาแก้ว รวมทั้งใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมชีวประวัติ การลงพื้นที่ส ารวจ และน าแนวทางงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาปรับใช้ ผู้ท าการวิจัยน าข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่รวบรวมมาพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย โดยใช้บ้านไตยวนวัฒนธรรมล้านนาที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลกเป็นตัวตั้งเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง โดยใช้มาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์(Homestay)ไทย พ.ศ.2551ของส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับหมู่บ้านแม่ก าปอง ต าบลห้วยแก้ว กิ่งอ าเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรอบการพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบกับเรือนแรมบ้านเขาแก้วและโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งอยู่ในหมู่บ้านติดกันด้วยการหาค่าเฉลี่ยโดยผลที่ได้รับต้องไม่ต่ ากว่าร้อยละ75 ผลการประเมินบ้านเขาแก้วด้านลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาใกล้เคียงกับบ้านไตยวน ที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ83 ขณะที่โฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งเป็นเรือนไม้จริงใต้ถุนสูงมีลักษณะใกล้เคียงกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ33.33 แสดงว่าบ้านเขาแก้วมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนามากกว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาน้อยมาก เมื่อวิเคราะห์ด้านมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2551โฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ61 และบ้านเขาแก้วได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ48 แสดงว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยมากกว่าบ้านเขาแก้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยตามเกณฑ์ที่ส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยวก าหนด สรุปได้ว่าบ้านเขาแก้วไม่ใช่โฮมสเตย์แต่มีประชาชนสนใจเข้าพักค้างแรมเพื่อสัมผัสบรรยากาศเรือนไทยริมแม่น้ าป่าสักอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเป็นแหล่งเรียนรู้การย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนจากเมืองเชียงแสน มีการจัดแสดงนิทรรศการทางวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน พิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ าป่าสัก การรับประทานอาหารแบบขันโตกพร้อมชมการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น และอยู่ใกล้หมู่บ้านต้นตาลซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนครั้งแรกที่เมืองสระบุรีตั้งแต่พ.ศ.2347 โดยหมู่บ้านต้นตาลยังคงลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพของชุมชนล้านนาที่ตั้งใกล้แหล่งน้ า มีข่วง(ลานกลาง)หมู่บ้านซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางประเพณีของชุมชน เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านต้นตาลผลิตผ้าฝ้ายทอมือซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและยินดีสอนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกให้แก่ผู้สนใจ ส่วนบ้านเขาแก้วมีการวางผังบริเวณกลุ่มเรือนไทยคล้ายกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่แต่มีลักษณะเด่นที่แตกต่าง คือ มีข่วงบ้าน 2 แห่งที่หน้าบ้านริมถนนปากบางหรือถนนสายวัฒนธรรมไทยวนและที่ริมแม่น้ าป่าสักที่เตียน สะอาด ร่มรื่นและเชื้อเชิญตามวิถีชิวิตของชาวไตยวน นอกจากนี้บ้านเขาแก้วยังเป็นแหล่งศึกษาด้านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารแบบขันโตกและการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น ทั้งบ้านเขาแก้วและบ้านต้นตาลมีผู้สอนถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วยความเต็มใจโดยไม่ปิดบัง ส่วนลูกหลานชาวบ้านที่มีความตั้งใจเรียนรู้ก็น าไปประยุกต์ใช้และน าไปสืบทอดด้วยความชื่นบานสดใส หากจะพัฒนาบ้านเขาแก้วเป็นโฮมสเตย์จะต้องมีการบริหารจัดการตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยพ.ศ.2551 ใน 10 มาตรฐาน 31 ดัชนีชี้วัดด้วยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ให้ความส าคัญกับการสืบสานวัฒนธรรมไทยวนสระบุรีร่วมกันอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดการความรู้(Knowledge Management)ด้วยการสร้างความเข้าใจในวิธีวิทยางานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อท้องถิ่นโดยใช้เวทีชาวบ้าน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจด้านสุนทรียภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยปรับแนวคิดในการพัฒนาทางกายภาพด้านภูมิทัศน์ การอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนาและสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นและวิธีการปลูก(ก่อสร้าง)เรือนด้วยภูมิปัญญาช่างไทยเพื่อสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนานับเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานสู่รุ่นลูกหลานซึ่งมีคุณค่า คุ้มค่าต่อความหมายที่ลุ่มลึกของค าว่า "เรือนแรม" ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชุมชนและวิถีชีวิตท้องถิ่นของไทยมิใช่เพียงค าว่า “โฮมสเตย์(Homestay)”
  • รายการ
    ความสำคัญของการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-06) สุนันทา ไชยสระแก้ว
    วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยเชิงสำรวจนี้ คือ เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์และวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่าง แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการแฟรนไชส์มากขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มธุรกิจระบบเครือข่ายแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี รวมถึงการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ประชากรในการวิจัย คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ไทยและแฟรนไชส์ซีไทยที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย การสุ่มตัวอย่างใช้วิธี Judgment & Convenience Sampling กลุ่มตัวอย่าง คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ไทย จำนวน 103 กิจการและแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์ซอร์ดังกล่าว จำนวน 441 กิจการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม โดยมีการออกแบบแบบสอบถาม 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามชุด A สำหรับแฟรนไชส์ซอร์ ประกอบด้วย ข้อมูลของธุรกิจ และวัฒนธรรมขององค์กรของแฟรนไชส์ซอร์ แบบสอบถามชุด B สำหรับ แฟรนไชส์ซี ประกอบด้วยข้อมูลของธุรกิจ การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ วัฒนธรรมขององค์กรของแฟรนไชส์ซี และคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถามโดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปใช้ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) อาศัยค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ในการประเมินค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ของทุกตัวแปรมีค่าสูงกว่า 0.7 ซึ่งสามารถยอมรับได้สำหรับนำไปใช้กับการวิจัยเชิงสำรวจจริงได้ ตัวแปรอิสระได้แก่ การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ วัฒนธรรมองค์กร แฟรนไชส์ซอร์ และวัฒนธรรมองค์กรแฟรนไชส์ซี ตัวแปรตาม คือ คุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 17.0 for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้นำการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) มาใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับและปฏิเสธสมมติฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงระดับการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ในภาพรวมมีแนวโน้มค่อนข้างสูง โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรม สำหรับวัฒนธรรมองค์กรของแฟรนไชส์ซอร์ลักษณะยืดหยุ่นถูกพบอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแบบไม่ยืดหยุ่น และองค์กรแฟรนไชส์ซีก็มีลักษณะยืดหยุ่นในระดับสูงกว่าแบบไม่ยืดหยุ่น เมื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมของทั้งองค์กรแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี พบว่า องค์กรแฟรนไชส์ซอร์มีระดับของวัฒนธรรมทั้งสองแบบสูงกว่าองค์กรแฟรนไชส์ซี ส่วนระดับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซีมีแนวโน้มอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งคุณภาพความสัมพันธ์ด้านความขัดแย้งเนื่องมาจากอารมณ์มีระดับสูงสุด และด้านความเชื่อใจในความน่าเชื่อถือก็มีระดับสูงใกล้คียงกัน การทดสอบสมมติฐานพบความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับคุณภาพความสัมพันธ์ในแต่ละด้าน พบว่า องค์ประกอบการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ 4 ใน 5 ด้านมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพความสัมพันธ์ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป ยกเว้นการสนับสนุนด้านการจัดหาวัตถุดิบหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่พบอิทธิพลเชิงลบ สำหรับวัฒนธรรมองค์กรกับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์- แฟรนไชส์ซี พบว่า วัฒนธรรมแบบไม่ยืดหยุ่นขององค์กรแฟรนไชส์ซีมีอิทธิพลเชิงบวกในระดับสูงต่อคุณภาพความสัมพันธ์ และพบทั้งอิทธิพลเชิงบวกและลบของวัฒนธรรมแบบยืดหยุ่นของแฟรนไชส์ซีในบางด้านของคุณภาพความสัมพันธ์ ในขณะที่วัฒนธรรมองค์กรทั้งสองแบบของแฟรนไชส์ซอร์มีอิทธิพลเชิงบวกและลบต่อคุณภาพความสัมพันธ์ในบางด้าน
  • รายการ
    การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอาสันนกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553-11) เสรี พุกกะมาน
    รายงานการวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องอาสันนกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยพบว่า กรรมหรือการกระทำที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดชีวิตและส่งผลให้ชีวิตสืบต่อไปไม่สิ้นสุด จนกว่าจะถูกทำลายลงด้วยอาสวักขยญาณ( ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ) มีความครอบคลุมทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ยกเว้นกรรมหรือการกระทำของพระอรหันต์ที่จะไม่ส่งผลให้เกิดใหม่อีกต่อไป เนื่องจากกรรมหรือการกระทำของท่านไม่มีอุปาทานเข้าไปปรุงแต่ง งานวิจัยยังพบอีกว่า อรรถกถา(หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก)ที่พระพุทธโฆสะแต่ง ได้กล่าวถึงกรรม 12 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กล่าวถึงเวลาที่กรรมให้ผล กลุ่มที่ 2 กล่าวถึงหน้าที่ของกรรม และกลุ่มที่ 3 กล่าวถึงลำดับการให้ผลของกรรม ทั้งหมดแบ่งโดยยึดกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเป็นหลัก อาสันนกรรมในงานวิจัยนี้ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 ของกรรม 12 และผู้วิจัยได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ประการ คือ 1) การกระทำในเวลาใกล้ตาย และ 2) การกระทำที่ทำไว้นานแล้ว แต่ผู้ทำหวนระลึกได้ตอนใกล้ตาย ซึ่งครอบคลุมทั้งฝ่ายกุศลกรรมและอกุศลกรรม จากการวิจัยพบว่า อาสันนกรรมเป็นสะพานเชื่อมต่อชีวิตเก่าตอนใกล้ตายกับชีวิตใหม่หลังตาย เนื่องจากทำหน้าที่ให้กำเนิดชีวิตใหม่ทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงสามารถเลือกเกิดได้ ซึ่งอยู่บนเงื่อนไขของอาสันนกรรมว่าเป็นประเภทใด เป็นกุศลหรืออกุศล
  • รายการ
    คอนเวอร์เตอร์ที่มีการแก้ไขตัวประกอบกำลังแบบแอคทีฟ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-06) วรพงษ์ ไพรินทร์
    การวิจัยนี้มีเนื้อหางานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การจำลองการทำงานโดยคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของคอนเวอร์เตอร์ที่มีการแก้ไขตัวประกอบกำลังแบบแอคทีฟ ขนาดกำลัง 100 วัตต์ มีการควบคุม พีดับเบิลยูเอ็ม แบบบู๊ซคอนเวอร์เตอร์ แบบอนาล็อค ณ. ระดับกระแสอินพุทที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การออกแบบตัวควบคุมแบบ พี ไอ เพื่อรักษาระดับแรงดันเอาท์พุทขนาด 400 โวลท์ คอนเวอร์เตอร์ที่มีการแก้ไขตัวประกอบกำลังแบบแอคทีฟ มีการทดสอบโดยใช้การจำลองการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์โดยโปรแกรม MATLAB ทั้งนี้ตัวประมวลผลสัญญาณหรือตัวควบคุม จะทำการเขียนโปรแกรมผ่านทางภาษาซี โดยการทดสอบประสิทธิภาพของระบบจะทำการทดสอบทั้งลูปเปิดและลูปปิด ที่ค่า KI และ KP ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของระบบ
  • รายการ
    การศึกษาผลของการปฏิวัติระบบการสื่อสารไร้สายต่อระบบโทรคมนาคมในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-06) ปรีชา กอเจริญ
    ประสิทธิภาพของการสื่อสารได้เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งในด้านความเร็วของการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้นสู่การปฎิวัติการสื่อสารไร้สายครั้งใหม่ที่เรียกว่าบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง ที่มีความสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา และตลอดเวลา และมีบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น เช่นบริการการสื่อสารภาพเคลื่อนไหวหรือวีดิทัศน์ความละเอียดสูง บริการเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งใหม่นี้ย่อมมีผลกระทบต่อ ระบบโทรคมนาคมเดิมทั้งชนิดมีสายและชนิดไร้สายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการปฏิวัติระบบการสื่อสารไร้สายต่อระบบโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นเพื่อทำการศึกษาถึงเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายหรือการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารโทรคมนาคมในก้าวใหญ่ที่สำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการเดิมในระดับสูง เพื่อสามารถนำผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ในการเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย การพิจารณาเทคโนโลยีที่จะสามารถปฏิวัติบรอดแบนด์ไร้สายในประเทศไทย จำเป็นจะต้องพิจารณาการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับการกระจายตัวของประชากรในพื้นที่ต่างๆในประเทศไทยด้วย เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมไร้สายของประเทศไทยมีการวางรูปแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะพื้นที่ และความต้องการในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่แตกต่างกัน รวมถึงต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ สังคม ผู้ใช้งาน และชนิดของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อที่จะสามารถทำให้การสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายในประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ทางด้านการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ และความรู้