การสร้างแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

dc.contributor.authorธัญธิดา โชคคณาพิทักษ์ วารุณี ลัภนโชคดี และ ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณen_US
dc.date.accessioned2562-06-27T03:32:41Z
dc.date.available2019-06-27T03:32:41Z
dc.date.issued2562-06-23
dc.descriptionสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ 4) เพื่อจัดทําคู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2560 สังกัดสํานักงานเขตพืนที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จํานวน 1,016 คน โดยแบบวัดที่สร้างขี้นประกอบด้วยข้อคําถามจํานวน 66 ข้อ เพื่อวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอาเซียน 11 คุณลักษณะ มีลักษณะเป็นคําถามเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก โดยตัวเลือกมีคะแนนแตกต่างกันตั้งแต่ 1-5 คะแนน ผลการวิจัย พบว่าแบบวัดที่สร้างขี้นมีคุณภาพ ดังต่อไปนี 1) ความตรงเชิงเนือหาของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียนจากการคํานวณค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการของความเป็นพลเมืองอาเซียน และความสอดคล้องของตัวเลือกที่แสดงถึงระดับคุณลักษณะตามทฤษฎีจิตพิสัยของ Krathwohl, Bloom, & Masia พบว่า ข้อคําถามและตัวเลือกในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) ค่าอํานาจจําแนกของข้อคําถามมีค่าตั้งแต่ 0.20-0.69 3) ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าค่าไคสแควร์=801.33; df=1,582; p=1.00; RMSEA=0.00; GFI=0.92; AGFI=0.90 4) ความเที่ยงของแบบวัดจากการคํานวณค่าสัมประสิทธิcแอลฟาของ Cronbach 11 คุณลักษณะ เท่ากับ 0.92, 0.93, 0.94, 0.96, 0.95, 0.95, 0.95, 0.96, 0.96, 0.95 และ 0.94 ตามลําดับ ส่วนค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ0.92 5) เกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน ในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ T19-T92 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน มีความเหมาะสม มีส่วนประกอบสําคัญครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนําไปใช้งานen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.citationปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน 2562 หน้า 93-104en_US
dc.identifier.issn2651-1940
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6299
dc.language.isothen_US
dc.publisherวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)en_US
dc.subjectการสร้างแบบวัด ความเป็นพลเมืองอาเซียน อาเซียนen_US
dc.titleการสร้างแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6en_US
dc.title.alternative-en_US
dc.typeArticleen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความวิจัยการสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียนฯ.pdf
ขนาด:
1.47 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: