การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 374 คน จาก 38 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้อำ นวยการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการ สัมภาษณ์ ทั้งยังดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายระดับสูงของกระทรวงและระดับสูงของกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เครือข่ายเพื่อการศึกษาเด็กและการสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้นำ ชุมชนผู้ปกครอง กลุ่มองค์กรนอกระบบ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เช่น ปัญหาทางวิชาการค่อนข้างตำด้านบุคลากรขาดแคลนครูและไม่สามารถจัดครูให้ตรงวิชาเอกให้ ตรงกับสาระวิชาการเรียนการสอนได้ ด้านงบประมาณ ยังมีการจัดงบประมาณตามรายหัวนักเรียนซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบการแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ทั้งด้านนิเทศติดตามผลและขวัญกำลังใจ ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจรูปแบบในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้มีการ ดำเนินการในหลายรูปแบบทั้งการแสวงหาความร่วมมือ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือจัดรถรับ –ส่งนักเรียน ตลอดถึงการจัดตั้งโรงเรียนดีในชุมชนใกล้บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนา ลูกมาเข้าเรียนใน ทั้งยังไม่ประสบความสาเร็จขาดความต่อเนื่องในดำเนินนโยบายทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพยังไม่ดีพอยังคงอยู่ ทำให้ผู้ปกครองบางส่วนยังต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองอยู่ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนรูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การแก้ไขปัญหาต้องมีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วัฒนธรรม และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีนโยบายให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องในการแสวงหาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติ งานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกัน เช่น ส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดระบบการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนหรือการสอนแบบคละชั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการจัดงบประมาณในรูปแบบของกองทุนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูที่เกษียณอายุราชการแล้วมาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้ถึงโรงเรียนขนาดเล็กอย่างทั่วถึง ทั้งการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพให้เกิดการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เกิดความอิสระและคล่อง ตัวให้เป็นโรงเรียนดีในชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่แต่ละแห่งจะมีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นสภาพภูมิศาสตร์และบริบทอื่นๆ ที่ แตกต่างกัน ตลอดถึงการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในเรื่องการจัดการศึกษาของตนเอง และการกระจายอานาจไปสู่ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กให้มากขึ้น

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก, แบบมีส่วนร่วมของชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การอ้างอิง

เพ็ญนภา ชูพงษ์. 2557. "การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.