ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาภายใต้กรอบการเปิดเสรีการค้าอาเซียน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2556-10-20T02:51:35Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม โยธาภายใต้กรอบการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน (Legal Problems and Obstacles in carrying out Civil Engineering Profession under the framework of the ASEAN Free Trade Agreement (AFTA)) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างความร่วมมือกันในการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือระหว่างประเทศ อันเกิดจากการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพ ซึ่ง หนึ่งในวิชาชีพนั้นคือ “วิชาชีพวิศวกรรม” โดยมีข้อตกลงว่าแต่ละประเทศจะต้องยอมรับซึ่งกันและ กันในคุณสมบัติ มาตรฐาน ทักษะ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพหรือในการทำงานของ แรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเช่นเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศของตนและยอมรับ คุณสมบัติด้านการศึกษาที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพ (Professional education) ซึ่งพิจารณาได้จาก วุฒิบัตรทางการศึกษาหรือคุณสมบัติด้านประสบการณ์จากการประกอบวิชาชีพ (Professional experience) และคุณสมบัติด้านการได้รับใบอนุญาต (License) หรือการได้รับใบรับรองการศึกษา (Certification) การประกอบวิชาชีพนั้น ๆ อย่างเป็นทางการ รวมทั้งการสอบและการเป็นสมาชิก ขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการผ่อนปรนในส่วนของการเข้าเมืองและการทำงานด้วย แต่ ถ้าจะมาประกอบวิชาชีพวิศวกรรรมในประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จากปัญหาข้างต้นผู้ศึกษาวิเคราะห์ว่า พระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 และ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ที่เป็นกฎหมายแม่บทในการบังคับใช้กับวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่วิศวกร ชาวต่างชาติของประเทศคู่ภาคีไม่อาจจะมาประกอบวิชาชีพวิศวกรภายในประเทศไทยได้เพราะขาด คุณสมบัติในการมีสัญชาติไทยและสถานภาพตามกฎหมายคนเข้าเมือง ความรับผิดของวิศวกร รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของวิชาชีพวิศวกร จากปัญหาข้างต้นผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าเพื่อให้กฎหมายภายในของประเทศไทย สอดคล้องกับข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี จึงควรที่จะแก้ไข บทบัญญัติของพระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 และข้อกำหนดการขออนุญาตตรวจลงตราให้ ได้รับสิทธิอยู่ในประเทศไทยได้ตามกรอบของงานที่ทำโดยกำหนดให้วิศวกรโยธาชาวต่างชาติ สามารถที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาได้และให้ได้รับการพิจารณา จัดลำดับชั้นของวิศวกรโยธาชาวต่างชาติตามมาตรฐานเดียวกับลำดับชั้นของวิศวกรโยธาชาวไทย แต่ทั้งนี้เพื่อมิให้วิศวกรโยธาชาวต่างชาติเข้ามาแย่งงานวิศวกรโยธาชาวไทยเกินสมควร สภาวิศวกร อาจกำหนดเงื่อนไขสำหรับใบอนุญาตของวิศวกรโยธาชาวต่างชาติให้สามารถทำงานได้ในลักษณะ ที่เป็นงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ที่มีการลงทุนจากเงินตราของนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้นก็ได้ และควรกำหนดความรับผิดของวิศวกรผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสียหายอย่างชัดเจน ไม่ควรปล่อยให้ นำหลักทั่วไปในทางแพ่งและทางอาญามาปรับใช้กับความรับผิดของวิศวกรและควรบัญญัติถึง ความรับผิดของผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิศวกรที่ประกอบวิชาชีพด้วย โดยนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด มาใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรและผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการเยี่ยวยาหรือสร้าง หลักประกันให้กับผู้ซึ่งอาจต้องเสียหายจากการประกอบวิชาชีพของวิศวกร ควรนำหลักการ ประกันภัยเข้ามาบังคับใช้กับวิศวกรและผู้เกี่ยวข้อง โดยการประกันภัยดังกล่าวควรมีเงื่อนไขที่คล อบคลุมความเสียหายในทุก ๆ ด้าน และคลอบคลุมความเสียหายเต็มจำนวนหรืออย่างน้อยก็ให้ ได้รับการชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควร และควรนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาบังคับใช้กับกรณี ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา โดยให้ศาลได้มีโอกาสกำหนด ค่าเสียหายเชิงลงโทษได้ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งความร้ายแรงในการประกอบวิชาชีพวิศวกร โยธา

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา, การเปิดการค้าเสรีอาเซียน, วิศวกรโยธา

การอ้างอิง