วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 27
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลเมือง: ศึกษากรณีตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496
    (2556-10-21T04:18:09Z) สุรเชษฐ์ แก้วคำ
    มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ที่บัญญัติมิให้มีการใช้กฎหมายว่าด้วย ลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและให้บรรดาบุคคลที่เป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เฉพาะในเขตเทศบาลเมือง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้มี การประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองเป็นเหตุให้ไม่มีบุคคลากรของ ฝ่ายปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 จึงเท่ากับเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 ไปโดยปริยาย ทำให้การรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน การอำนวยความเป็นธรรม การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชนขาดประสิทธิภาพเป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการประทุษร้าย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ปัญหาแพร่ระบาดของยาเสพติด ประชาชน ในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีคนกลางในการประสานหรืออำนวยความสะดวกในการติดต่อหรือรับบริการ กับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีการประชุมราษฎรเพื่อ ชี้แจงกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ เมื่อมิให้มีการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจึงไม่มี คณะกรรมการหมู่บ้านที่จะปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในหมู่บ้าน เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาท ขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน จึงไม่มีคณะผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นให้ยุติลงในชั้นหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งผลให้มี คดีความมาสู่ศาลมากขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณทั้งของคู่ความและของราชการและการยกเว้นไม่ให้ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลเมืองนั้น ยังส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะ ราชการส่วนภูมิภาคระดับ จังหวัด อำเภอ ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการนำนโยบายข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ไปปฏิบัติให้บรรลุผลทั่วทุกตำบล หมู่บ้าน จากการศึกษาพบว่ากำนัน และผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจและหน้าที่เน้นหนักไปในเรื่องการ รักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ราษฎร การไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อ พิพาท การเป็นคนกลางประสานงานระหว่างราษฎรและส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนเทศบาลเมืองจะมี อำนาจหน้าที่เน้นหนักไปในด้านการจัดทำบริการสาธารณะ การบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ จัดให้มี ไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ จึงไม่ได้มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจและหน้าที่ ของ กำนันและผู้ใหญ่บ้านแต่อย่างใด จากการศึกษาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าในด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย ในตำบล หมู่บ้านนั้น ทางราชการจำเป็นต้องอาศัยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเป็นหูเป็นตาให้แก่ เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองอยู่เช่นเดิม เช่น การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การเป็นแหล่งข่าว ให้กับทางราชการ ทั้งนี้เนื่องจากกำนัน และผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับ ราษฎรมากกว่าราชการ มีข้อมูลปัญหาความต้องการต่าง ๆ ของประชาชนเป็นอย่างดี จึงสมควรให้มี การแก้ไขกฎหมายให้มีการแต่งตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านให้ครบทุกหมู่บ้านเช่นเดิม แม้ว่าจะมีการ ยกระดับฐานะท้องถิ่นใดให้เป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครก็ตาม
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง: ศึกษากรณีบริษัทนายจ้างเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
    (2556-10-21T04:12:46Z) สุธีรา สีมาวงษ์
    เมื่อลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นไปตาม “หลักสภาวะการพักการบังคับ ชำระหนี้” (Automatic stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 ทำให้เจ้าหนี้ ได้รับชำระหนี้ตามลำดับก่อให้เกิดความล่าช้าและเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วนหรืออาจจะ ไม่ได้รับชำระหนี้เลย นอกจากนั้นในส่วนของการฟื้นฟูกิจการมีขั้นตอนกระบวนการที่ยุ่งยาก ก่อให้เกิดปัญหาการขอรับชำระหนี้โดยเฉพาะในหนี้คดีแรงงานที่จะต้องมีภาระดูแลครอบครัว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 278(3) กำหนดเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับที่สามและ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551) มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมาย เฉพาะกำหนดให้หนี้ที่เกิดจากการไม่ชำระค่าจ้างอยู่ในลำดับเดียวกับหนี้ภาษีอากร จากสภาพปัญหาข้างต้นเห็นว่าควรให้เจ้าหนี้คดีแรงงานได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้อง ขอรับชำระหนี้และเมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการควรให้ศาลพิจารณาก่อนว่ามีเหตุอันสมควร ที่จะให้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการหรือไม่ก่อน เมื่อศาลได้ไต่สวนได้ความจริงแล้วว่าบริษัทลูกหนี้สมควรที่ จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ จึงจะเข้าสู่สภาวะการพักการบังคับชำระหนี้และควรคุ้มครอง ลูกหนี้ที่สุจริตเท่านั้น ถ้าลูกหนี้ไม่สุจริตหรือเพื่อประวิงเวลาการชำระหนี้ควรมีมาตรการลงโทษ ทางกฎหมายโดยเพิ่มบทบัญญัติให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายทันที นอกจากนั้นเจ้าหนี้ คดีแรงงานควรได้รับชำระหนี้ก่อนโดยจัดกลุ่มให้เจ้าหนี้คดีแรงงานได้รับชำระหนี้ลำดับแรก ใน ส่วนการที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการต่อมาภายหลังเจา้ หนี้ รายอื่นยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเข้ามาอีกย่อมตกอยู่ในสภาวะการพักการบังคับชำระหนี้เช่นเดิม ก่อให้เกิดปัญหาการชำระหนี้ล่าช้า ดังนั้นถ้าเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเข้ามาอีกโดยมูลเหตุ เดียวกันให้ศาลยกคำร้องนั้นเสีย แต่ถ้าการที่เจ้าหนี้ยื่นเข้ามาคนละมูลเหตุกันควรมีการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในครั้งที่สอง โดยการที่เจ้าหนี้รายอื่นจะยื่นคำร้องขอ ฟื้นฟูกิจเข้ามาหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการไปแล้วในครั้งแรกให้ยื่นภายใน กำหนดระยะเวลาตามสมควร เช่น อาจจะภายใน 1 เดือน นับแต่ที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ในครั้งแรกถ้ายื่นภายหลังกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้เจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมดสิทธิที่ จะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
    (2556-10-21T04:06:26Z) ทวี ชอบชื่นชม
    เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและจัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 โดยเทศบาลจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ส่วนรูปแบบของเทศบาลได้กำหนดรูปแบบของเทศบาลไว้รูปแบบ เดียว คือ รูปแบบนายกเทศมนตรี ซึ่งได้แบ่งโครงสร้างสำคัญของเทศบาลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่าย บริหาร มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเทศบาล ทั้งสองฝ่ายมา จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน นอกจากนายกเทศมนตรีที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร ราชการของเทศบาลแล้ว พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ยังให้อำนาจนายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้ง ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ ในกรณี เทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกิน 2 คน เทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่ เกิน 3 คน และเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกิน 5 คน ส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ต้องการให้ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี เป็นผู้ช่วยนายกเทศมนตรีในการบริหารราชการของเทศบาลเพื่อให้เป็นไปตาม หลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้ประชาชนมีอิสระในการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อสอดรับกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ยังมีปัญหาด้านรูปแบบการแต่งตั้ง และโครงสร้างของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ด้านคุณสมบัติของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ด้าน บทบาทและอำนาจหน้าที่ของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีที่มิได้กำหนดให้ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ด้านวิธีการดำเนินงานของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ซึ่ง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา คือ ปัญหาด้านการ บริหารงานราชการของเทศบาลแบบมีส่วนร่วมของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และปัญหาด้าน คุณธรรม จริยธรรมกับการบริหารราชการเทศบาลของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าควรแก้ไขและปรับปรุงพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เพื่อมุ่ง ค้นหาวิธีการที่ดี หรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งที่ ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล อันจะทำให้รูปแบบการแต่งตั้ง และโครงสร้างของที่ ปรึกษานายกเทศมนตรี คุณสมบัติของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเกิดความชัดเจนและเหมาะสม ประกอบกับเป็นการสร้างบทบาทอำนาจหน้าที่ และวิธีการดำเนินงานทางการเมืองตามหลักการมี ส่วนรวมให้แก่ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลัก คุณธรรม จริยธรรมในการบริหารงานราชการของเทศบาลเป็นที่ตั้ง เพื่อให้ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เป็นผู้ช่วยนายกเทศมนตรีบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล อันจะนำไปสู่การ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในการได้รับการบริการ สาธารณะจากเทศบาลตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงอันเป็นแนวในการบริหารราชการของเทศบาลต่อไป
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายพืชป่า
    (2556-10-21T03:59:08Z) ธนภรณ์ ฉายาชวลิต
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าโดยพิจารณา ถึงกฎหมายที่ได้มีการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของพืชป่าที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ตามสนธิสัญญา “ไซเตส” เมื่อการค้าพืชป่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างกำไรได้โดยไม่ต้อง ลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างมหาศาล อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชป่าลด จำนวนลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากปัญหาความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติกฎหมาย การใช้อำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ในการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ซึ่งพืชป่าและ ปัญหาความเป็นเอกภาพของกฎหมาย แม้ในประเทศไทยจะมีการควบคุมพืชป่าอยู่หากมีการกำหนด ความหมายและวิธีการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าไว้อย่างชัดเจนอาจสามารถแก้ไขปัญหาการค้าพืช ป่าได้ จากการศึกษาพบว่าการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าตามกฎหมายที่ได้มีการอนุวัติตาม อนุสัญญาไซเตสและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการจำหน่ายพืชป่านั้นไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอในการที่จะบังคับใช้กฎหมายและความไม่ชัดเจนในคำนิยามของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ซึ่งพืชป่าพบว่าเป็นการออกใบอนุญาตของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและการออกใบอนุญาต ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกันและความเป็นเอกภาพของกฎหมายที่ไม่มีความเป็นหนึ่ง เดี่ยวกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายภายในประเทศไทยหรือการ ออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อควบคุมการจำหน่ายพืชป่าที่อยู่ในป่าธรรมชาติโดยตรงในอนาคตได้จะทำ ให้ประเทศไทยมีกระบวนการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าที่ชัดเจนและเกิดความสำเร็จในระดับ มาตรฐานสากลที่สูงขึ้น
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายในการใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา
    (2556-10-21T03:55:13Z) นภัสถวัลย์ บุนนาค
    การเลือกตั้ง (Elections) ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจะพึงมีและได้รับไม่ว่า จะอยู่ในสถานะใดและเป็นหลักสำคัญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในการแสดงออกซึ่ง เจตนารมณ์ที่จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครองจึงก่อให้เกิดปัญหาว่าบุคคลที่เป็นผู้ต้องหาหรือ จำเลยในคดีอาญาจะมีสิทธิในการเลือกตั้งหรือแสดงสิทธิของตนผ่านการเลือกตั้งได้มากน้อย เพียงใด จากการศึกษาวิเคราะห์ว่า การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 72 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เช่นนี้ก็เท่ากับว่าประชาชนที่มีสิทธิ เลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งถือว่าเป็น “หน้าที่” มิใช่เป็น “สิทธิ” ของ ประชาชน แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมไม่สิทธิในการเลือกตั้ง ประกอบกับเพื่อความมั่นคงของรัฐ การหลบหนีของผู้ต้องหรือจำเลยในคดีอาญาหรือกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและการเลือกตั้ง ส่วนท้องถิ่นกำหนดให้คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้กำหนดไว้ในมาตรา 100 (3) บัญญัติห้ามบุคคลที่ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นย่อมทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไม่มีสิทธิในการแสดงเจตนารมณ์ของตนผ่านระบบ การเลือกตั้งได้ จากการศึกษาผู้ศึกษาเสนอแนะว่า เพื่อมิให้บุคคลเหล่านี้ถูกมอบข้ามในทางสังคมควร ได้รับสิทธิเลือกตั้งโดยควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นด้วย โดยตัด บทบัญญัติที่ให้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามมาตรา 100 (3) ออก ถ้าหากผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและนำไปคุมขังไว้ในเรือนจำ หรือทัณฑสถาน ควรจัดให้มีคูหาเลือกตั้งภายในเรือนจำ เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเลือกตั้ง ส่วน การตรวจสอบรายชื่อของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญากับนักโทษอื่น ๆ เป็นไปได้โดยง่ายอยู่แล้ว เพราะตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 บัญญัติให้มีการแยกการคุมขังต่างหากจาก กัน ส่วนการกำหนดภูมิลำเนาของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมี คำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่ากระทำผิดจริง ก็ให้ถือภูมิลำเนาเดิมของผู้ต้องและจำเลยในคดีอาญา นั่นเอง ส่วนภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดกำหนดให้อยู่ในเรือนจำหรือทัณฑ สถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 นอกจากนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาในวัน เลือกตั้งควรจะมีการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับให้ยอมให้ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาไป ลงคะแนนเสียงที่ใดก็ได้ที่เป็นหน่วยเลือกตั้งที่ตนถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง กลับไปยังภูมิลำเนาที่ตนมีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อเลือกผู้สมัครที่ตนต้องการ แต่ให้มีการลงทะเบียน แสดงเจตจำนงในการลงคะแนนในที่นั้น ๆ เป็นการล่วงหน้าก่อนและควรเปิดโอกาสให้ นักการเมืองและพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้เข้ามาหาเสียงในเรือนจำได้ด้วย เพื่อให้นักการเมืองจะ ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก
    (2556-10-21T03:49:32Z) บุษบา ประชาฉาย
    ประมวลกฎหมายที่ดินได้กำ หนดหลักการในการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไว้ 2 กรณี คือ กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยตรง ตามมาตรา 81 และกรณีผู้จัดการมรดกยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 82 ในทางปฏิบัติการขอจดทะเบียน โดยทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 81 เป็นปัญหากับพนักงานเจ้าหน้าที่และทายาทผู้มีสิทธิรับ มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สิทธิในการรับมรดกที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จากพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ทายาทผู้ยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกนำมาแสดงนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทำให้การจดทะเบียนฯ คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พบว่ามีปัญหาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาทายาทผู้ขอจด ทะเบียนแจ้งเท็จเกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดก ปัญหาจากสาระสำคัญของการจดทะเบียนสิทธิ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกที่ทำให้การจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และความเข้าใจ ปัญหาการให้ความคุ้มครองพนักงานเจ้าหน้าที่ ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหาย และปัญหา เกี่ยวกับการแจ้งเท็จปิดบังทายาทอื่นไม่เป็นเหตุให้ทายาทนั้นเสียสิทธิในมรดก ซึ่งจากปัญหาต่างๆ ส่งผลให้การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า ปัญหาการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก มีสาเหตุอันเนื่องมาจากบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนฯ นั่นเอง ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้ยกเลิกการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยตรงของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามบทบัญญัติมาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 82 โดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก เพื่อ แก้ไขปัญหาการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไปโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดกที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ได้จากพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ทายาทผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนนำมาแสดงนั้นไม่ถูกต้อง อีกต่อไป
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    (2556-10-20T03:04:23Z) สัญชัย เนินปลอด
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองต้องยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งตอนเข้ารับ ระหว่างและพ้นจากตำแหน่งเพื่อใช้ใน การตรวจสอบควบคุมทรัพย์สินที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ยังพบว่าเป็นการรายงานทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นไม่ อาจจะนำผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับโทษฐานทุจริตคอรัปชั่นได้ จากการศึกษาพบว่า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้นำอายุความในการฟ้องคดีและการสิ้นสุดการ พิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นก่อให้เกิดปัญหาข้อจำกัดในการ ดำเนินคดีซึ่งแทนที่ทรัพย์สินของแผ่นดินจะไม่มีการกำหนดอายุความไว้ แต่กลับต้องถูกจำกัดด้วยอายุ ความตามประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนมาตรการยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินนั้นมีระวาง โทษน้อยเกินไปกับความเสียหายที่ประเทศชาติจะได้รับในการทุจริตคอรัปชั่นและการตรวจสอบการ กระทำความผิดกรณีไม่ยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และยังพบว่าผู้ที่ทุจริตคอรัปชั่น สามารถถ่ายเททรัพย์สินที่ตนทุจริตยังอาศัยช่องว่างแห่งกฎหมายในการยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและ หนี้สินโดยสามารถถ่ายเททรัพย์ไปยังบุคคลที่ตนไว้วางใจได้ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะว่าควรมีบทบัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะหรือ อาจจะกำหนดว่าคดีทุจริตคอรัปชั่นไม่มีอายุความและกำหนดระวางโทษในการกระทำความผิดให้มี ความรุนแรงยิ่งขึ้นส่วนกรณีผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินควรให้บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยเพื่อตัดปัญหาผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่นถ่ายเททรัพย์สินที่ทุจริตโดยอาศัยช่องว่างแห่งกฎหมายที่ไม่ ต้องยื่นแสดงเพื่อตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการค้ามนุษย์บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์:ศึกษากรณีการขายบริการทางเพศบนเว็บแคม
    (2556-10-20T03:00:41Z) ชัยยุทธ เลิศหทัยดี
    จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าปัญหาในปัจจุบันยังคงมีการค้าประเวณีกันมาก และมีการ พัฒนามาเป็นการค้ามนุษย์พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีหรือที่เรียกกันว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากเดิมเป็น การเขียนให้ปรากฏตัวอักษรแต่ปัจจุบันมีกล้องที่เป็นอุปกรณ์เสริมทางคอมพิวเตอร์โดยมี อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นตัวเชื่อมโยงผ่านระบบแคมฟร็อกหรือที่เรียกว่าเว็บแคม ซึ่งทำให้การค้า มนุษย์เป็นการค้าที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีรูปแบบการสมัครสมาชิกใน ระบบดังกล่าวและสามารถเลือกคู่สนทนาโดยเห็นหน้าตากันในระบบนี้หากผู้ใช้ได้เข้าใจในระบบ ดังกล่าวและสามารถใช้ระบบอย่างถูกวิธีโดยการติดต่อสื่อสารในรูปแบบธุรกิจก็สามารถทำให้ ธุรกิจได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่บุคคลบางกลุ่มกลับนำระบบดังกล่าวมาใช้ในทางที่ ผิดกฎหมายและขยายไปถึงการก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในสังคมได้ จะเห็นว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้สื่อสารไปในทางที่ผิดจากเจตนารมณ์เป็นรูปแบบ การขายบริการทางเพศลักษณะธุรกิจโดยมีการเสนอราคาและตกลงราคากันโดยใช้ระบบเว็บแคม เป็นตัวเชื่อมธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นธุรกิจที่แอบแฝงการกระทำผิดทางเพศและส่อสื่อลามกอนาจารโดย การโชว์ร่างกายผ่านกล้องเว็บแคมเพื่อเสนอราคาที่ได้ความพอใจและชำระเงินผ่านบัตรเครดิตโดย ระบบออนไลน์เข้าบัญชี จากการดำเนินธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นการเกิดพฤติกรรมรูปแบบใหม่บนสื่อดัง กล่าวคือการแสดงลักษณะยั่วยุทางเพศรวมไปถึงการร่วมเพศในลำดับต่อมา ซึ่งผู้รับบริการสามารถ เข้าชมได้โดยต้องมีกล้องเว็บแคมเป็นตัวเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเข้าระบบออนไลน์ได้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 287 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ยังไม่สามารถระบุความรับผิดของบุคคลที่ทำธุรกิจรูปแบบการขายบริการทางเพศบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการขายบริการที่มีรูปแบบเป็นอิสรเสรี การประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นการ นำเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในระบบดังกล่าวมาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารธุรกิจ แต่เมื่อธุรกิจดังกล่าวเป็น การขายบริการทางเพศเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลบหนีการกระทำความผิดจึงทำให้ปัจจุบันมีการ เสนอขายบริการทางเพศผ่านระบบดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง จึงควรมีกฎหมายลงโทษผู้ให้เช่าพื้นที่ของ ระบบดังกล่าวมารับผิดเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายกำหนดความผิดที่ชัดเจน มาตรการความรับผิดของธุรกิจทางเพศในระบบเว็บแคมยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถนำ ตัวบทกฎหมายที่ชัดเจนมาบังคับใช้ เนื่องจาก “การค้าประเวณี” ตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 เป็นการยอมให้บุคคลอื่นร่วมเพศหรือการกระทำอื่นใดเพื่อ สำเร็จความใคร่ในกามารมณ์ของผู้อื่นแต่ไม่ได้หมายรวมถึงการร่วมเพศกันโดยให้ผู้รับบริการชม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเว็บแคม เช่นนี้จึงเกิดปัญหาว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการค้ามนุษย์ ตามคำนิยามในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 รวมถึงผู้เช่ากับผู้ให้ เช่าพื้นที่บริการทางอินเทอร์เน็ตที่ต้องมีมาตรการทางกฎหมายในการร่วมรับผิดด้วย
  • รายการ
    ปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกิจและการผลิตเกมคอมพิวเตอร์
    (2556-10-20T02:55:42Z) ตันติกร สิรเวทย์
    การศึกษาปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกิจและการผลิตเกม คอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบ ธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์ และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมและดูแลการประกอบ ธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์ของกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายของประเทศไทย พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์และค้นคว้าหาแนวทางที่ เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจผลิตเกม คอมพิวเตอร์โดยการวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดย ค้นคว้าจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องค้นคว้าในห้องสมุดของทางมหาวิทยาลัย และของทางสถาบันต่าง ๆ รวมทั้ง ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมา วิเคราะห์และนำมาแก้ไขปัญหาทางกฎหมายต่อไป ผลการวิจัย พบว่าจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าปัจจุบันนี้ในประเทศไทยยังไม่มี หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่ง ในปัจจุบันนี้ทางภาครัฐทำได้เพียงให้แต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ช่วยกันรับผิดชอบในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นและแตกต่างกันไปถือเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ที่ ทางภาครัฐจะต้องเร่งจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการกระทำความผิดของธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบธุรกิจผลิตเกม และผู้ประกอบกิจการร้านเกม คอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้และในอนาคตต่อไป จากการศึกษาทางด้านมาตรการควบคุมจากร่างพระราชบัญญัติควบคุมผู้ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเกมออนไลน์และเกมคอมพิวเตอร์ สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีโทษอาญารุนแรง แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับกำหนดไว้ไม่ชัดเจนระหว่างความผิดทาง คอมพิวเตอร์กับความผิดทางอาญา แม้กฎหมายจะให้ความคุ้มครองทางสิทธิเสรีภาพ แต่กลับมี ข้อยกเว้นโดยใช้ข้ออ้างความมั่นคงและเรื่องศีลธรรมขณะที่กฎหมายต่างประเทศจะมีข้อห้าม เพียง ไม่ให้เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ดังนั้นจึงเห็นว่ากฎหมายที่บังคับใช้ เขียนเอาไว้กว้างเกินไปคำ นิยามไม่ชัดเจนจนอาจเกิดปัญหาการตีความในอนาคตรัฐบาลอาจมีอำนาจขอข้อมูลจากผู้ดูแลเว็บ ไซด์ คล้ายกับประเทศจีนและสิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลสามารถควบคุมโครงสร้างอินเตอร์เน็ตได้อย่าง เบ็ดเสร็จ จึงควรออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพื่อไม่ให้กระทบกับสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูล ส่วนตัวและที่สำคัญ การสั่งบล็อคเวบไซด์จะทำได้เมื่อมีคำสั่งศาล และรัฐมนตรีต้องรับทราบ แต่ เนื่องจากทางภาครัฐขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจ ยืนยันว่าเว็บไซด์ที่จะถูกบล็อค ได้ต่อเมื่อมีเนื้อหาเป็นความผิดต่อองค์พระประมุข การก่อการร้าย และขัดต่อศีลธรรมอันดี เช่นเรื่อง ภาพ ลามกอนาจาร นอกเหนือจากนี้ไม่เข้าข่าย อีกทั้งกฎหมายยังมีบทลงโทษเจ้าพนักงานที่ใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบอย่างเคร่งครัด แม้แต่ระดับอธิบดี ก็ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตในการ เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่จะต้องประกาศให้ชัดเจนว่าเจ้าพนักงานและ เจ้าหน้าที่ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบเว็บไซด์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ ผู้ประกอบการถูกใส่ร้ายผ่านอินเตอร์เน็ต การยึดอายัดคอมพิวเตอร์ไปตรวจสอบ จะต้องมีขั้นตอน การตรวจสอบที่โปร่งใส
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาภายใต้กรอบการเปิดเสรีการค้าอาเซียน
    (2556-10-20T02:51:35Z) นำโชค หมั่นทำ
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม โยธาภายใต้กรอบการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน (Legal Problems and Obstacles in carrying out Civil Engineering Profession under the framework of the ASEAN Free Trade Agreement (AFTA)) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างความร่วมมือกันในการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือระหว่างประเทศ อันเกิดจากการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพ ซึ่ง หนึ่งในวิชาชีพนั้นคือ “วิชาชีพวิศวกรรม” โดยมีข้อตกลงว่าแต่ละประเทศจะต้องยอมรับซึ่งกันและ กันในคุณสมบัติ มาตรฐาน ทักษะ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพหรือในการทำงานของ แรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเช่นเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศของตนและยอมรับ คุณสมบัติด้านการศึกษาที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพ (Professional education) ซึ่งพิจารณาได้จาก วุฒิบัตรทางการศึกษาหรือคุณสมบัติด้านประสบการณ์จากการประกอบวิชาชีพ (Professional experience) และคุณสมบัติด้านการได้รับใบอนุญาต (License) หรือการได้รับใบรับรองการศึกษา (Certification) การประกอบวิชาชีพนั้น ๆ อย่างเป็นทางการ รวมทั้งการสอบและการเป็นสมาชิก ขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการผ่อนปรนในส่วนของการเข้าเมืองและการทำงานด้วย แต่ ถ้าจะมาประกอบวิชาชีพวิศวกรรรมในประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จากปัญหาข้างต้นผู้ศึกษาวิเคราะห์ว่า พระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 และ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ที่เป็นกฎหมายแม่บทในการบังคับใช้กับวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่วิศวกร ชาวต่างชาติของประเทศคู่ภาคีไม่อาจจะมาประกอบวิชาชีพวิศวกรภายในประเทศไทยได้เพราะขาด คุณสมบัติในการมีสัญชาติไทยและสถานภาพตามกฎหมายคนเข้าเมือง ความรับผิดของวิศวกร รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของวิชาชีพวิศวกร จากปัญหาข้างต้นผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าเพื่อให้กฎหมายภายในของประเทศไทย สอดคล้องกับข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี จึงควรที่จะแก้ไข บทบัญญัติของพระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 และข้อกำหนดการขออนุญาตตรวจลงตราให้ ได้รับสิทธิอยู่ในประเทศไทยได้ตามกรอบของงานที่ทำโดยกำหนดให้วิศวกรโยธาชาวต่างชาติ สามารถที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาได้และให้ได้รับการพิจารณา จัดลำดับชั้นของวิศวกรโยธาชาวต่างชาติตามมาตรฐานเดียวกับลำดับชั้นของวิศวกรโยธาชาวไทย แต่ทั้งนี้เพื่อมิให้วิศวกรโยธาชาวต่างชาติเข้ามาแย่งงานวิศวกรโยธาชาวไทยเกินสมควร สภาวิศวกร อาจกำหนดเงื่อนไขสำหรับใบอนุญาตของวิศวกรโยธาชาวต่างชาติให้สามารถทำงานได้ในลักษณะ ที่เป็นงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ที่มีการลงทุนจากเงินตราของนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้นก็ได้ และควรกำหนดความรับผิดของวิศวกรผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสียหายอย่างชัดเจน ไม่ควรปล่อยให้ นำหลักทั่วไปในทางแพ่งและทางอาญามาปรับใช้กับความรับผิดของวิศวกรและควรบัญญัติถึง ความรับผิดของผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิศวกรที่ประกอบวิชาชีพด้วย โดยนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด มาใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรและผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการเยี่ยวยาหรือสร้าง หลักประกันให้กับผู้ซึ่งอาจต้องเสียหายจากการประกอบวิชาชีพของวิศวกร ควรนำหลักการ ประกันภัยเข้ามาบังคับใช้กับวิศวกรและผู้เกี่ยวข้อง โดยการประกันภัยดังกล่าวควรมีเงื่อนไขที่คล อบคลุมความเสียหายในทุก ๆ ด้าน และคลอบคลุมความเสียหายเต็มจำนวนหรืออย่างน้อยก็ให้ ได้รับการชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควร และควรนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาบังคับใช้กับกรณี ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา โดยให้ศาลได้มีโอกาสกำหนด ค่าเสียหายเชิงลงโทษได้ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งความร้ายแรงในการประกอบวิชาชีพวิศวกร โยธา
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
    (2556-10-20T02:47:38Z) ยลลดา ปิ่นเพชร
    การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเพื่อนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากเกษตรพันธะสัญญาตาม ทฤษฎีถูกนำมาใช้เพื่อรักษาระดับการส่งออกและระดับราคาของสินค้า แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามี ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมหลายประการ ได้แก่ ปัญหาเรื่องบริษัทมีอำนาจต่อรองเหนือกว่า เกษตรกร ปัจจัยการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ราคาปัจจัยที่ใช้ในการผลิตมีราคาสูง ใช้เงินลงทุนสูง การ รับภาระความเสี่ยงในการผลิต ระยะเวลาในการรับซื้อผลผลิตไม่แน่นอน เกษตรกรได้รับ ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ขาดทุน ก่อให้เกิดปัญหาเกษตรกรมีหนี้สินจากการทำเกษตรกรรม และรายได้ ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป และเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ จะทำให้ปราศจากอุปสรรคการค้าทางด้านภาษี และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ย่อมส่งผลให้มี สินค้าเกษตรประเภทเดียวกันกับสินค้าเกษตรของประเทศไทยออกมาจำหน่ายมากขึ้น ก่อให้เกิด การแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาเพื่อจะนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้า เกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากการศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา ซื้อขาย จ้าง แรงงาน จ้างทำของ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการ ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ซึ่ง เป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการทำเกษตรพันธะสัญญา พบว่ายังไม่มีกฎหมายที่จะคุ้มครองเกษตรกร ให้ได้รับความเป็นธรรมได้ และจากการศึกษากฎบัตรอาเซียน แผนงานสู่การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ความตกลงการลงทุนของอาเซียน เพื่อแก้ไข ปัญหาการนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการส่งออก การนำเข้าสินค้าเกษตร และส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจการให้บริการจัดหาคู่เกษตรกรและบริษัทที่ต้องการจะทำเกษตรพันธะสัญญาภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างไร จากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการทำ เกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะ โดยกำหนดให้การทำเกษตรพันธะสัญญาควรทำตามแบบสัญญา มาตรฐาน และกำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำเกษตรพันธะสัญญาให้เป็นไปตามแบบ สัญญามาตรฐาน ทำให้บริษัทไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขให้แตกต่างจากแบบที่กำหนดไว้ได้ ก็จะ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไม่ต้องถูกเอาเปรียบจากการกำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ และ กำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบคุณภาพของปัจจัยการผลิต ผลิตปัจจัยการผลิตจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร รับประกันภัยผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดการบังคับให้ เป็นไปตามกฎหมาย กลไกการบังคับ การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้กฎหมายสามารถบังคับได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และในการนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ทางด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรทำได้โดยอาศัยความตก ลงการค้าสินค้าของอาเซียน เนื่องจากความตกลงดังกล่าวได้กำหนดให้กลุ่มประเทศสมาชิกจะต้อง ยกเลิกภาษีอากรขาเข้าของสินค้าทุกรายการที่มีการค้าระหว่างประเทศสมาชิก จึงทำให้การค้า ปราศจากอุปสรรคทางการค้าด้านภาษี และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ส่วนที่ต้องการส่งเสริม การประกอบธุรกิจการให้บริการจัดหาคู่เกษตรกรและบริษัทที่ต้องการจะทำเกษตรพันธะสัญญานั้น ทำได้โดยอาศัยความตกลงการลงทุนของอาเซียนซึ่งครอบคลุมกิจการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขา รวมทั้งสาขาเกษตรด้วย
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของสภาวิชาชีพร่วมกับสมาชิก
    (2556-10-20T02:43:50Z) พรวิภา พรพัฒนะสกุลชัย
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความรับผิดของสภาวิชาชีพกับผู้ประกอบวิชาชีพต่อผู้ได้รับความ เสียหาย เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพได้กำหนดเพียงหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และการควบคุมจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเท่านั้น ซึ่งถ้าผู้ประกอบ วิชาชีพกระทำความผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อย่อมมีความผิดเพียงจรรยาบรรณเท่านั้น ถ้า ผู้เสียหายจะฟ้องผู้ประกอบวิชาชีพให้รับผิดในทางแพ่งก็ต้องฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิดตามบทบัญญัติมาตรา 420 ซึ่งผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้พิสูจน์ ความผิดว่าผู้ประกอบวิชาชีพกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะพิสูจน์ได้ว่ากรณีใดเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จากสภาพปัญหาข้างต้นย่อมทำให้ประชาชนผู้เสียหายไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐหรือ ฝ่ายปกครองเพราะแม้สภาวิชาชีพจะเป็นองค์กรเอกชนก็ตาม แต่มีอำนาจรัฐในการที่จะออก ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต ดังนั้น สภาวิชาชีพย่อมทำหน้าที่แทนรัฐและในขณะเดียวกันก็ ต้องมีมาตรการเพียงพอในการที่จะคุ้มครองประชาชนหรือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการ กระทำของผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งมาตรการในการควบคุมจรรยาบรรณอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ผู้ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายโดยเห็นควรนำเอามาตรการทาง กฎหมายเกี่ยวกับการให้สภาวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพร่วมรับผิดกับผู้ประกอบวิชาชีพ โดยให้มีการ ตรากฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของสภาวิชาชีพกรณีที่เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาท เลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชย เยียวยาความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นและควรมี พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายกลางหรือกฎหมายมาตรฐานขั้นต่ำในการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพ
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
    (2556-10-20T02:40:31Z) วิศิษศักดิ์ เนืองนอง
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542โดยทำการศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ในด้านสิทธิบัตรยา หลักกฎหมาย ของประเทศไทยและหลักกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรยา เพื่อให้ทราบถึง ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และเพื่อให้ได้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ที่ประเทศไทยได้กำหนดให้ความคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์ยาตามข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ความตกลงทริปส์ (TRIPs) และภายใต้แรง กดดันทางการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้กล่าวอ้างถึงการที่ประเทศไทยใช้มาตรการสำหรับ สิทธิบัตรยาว่าผิดมาตรฐานความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPs) ข้อ 27 (1) อันเป็นข้อตกลงที่สำคัญขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก จึงทำให้ประเทศไทยต้องยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยารวมถึงคณะกรรมการสิทธิบัตรยาใน การแก้ไขพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 ซึ่งกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ประเทศไทยให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาได้ตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั่วไปที่ประชาชนควรจะ ได้รับ แต่กลับเป็นการให้สิทธิผูกขาดและเป็นประโยชน์กับผู้ทรงสิทธิบัตรยามากจนเกินไป เนื่องจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542ได้ให้สิทธิในการผูกขาดแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรยาโดยสมบูรณ์ ถึงแม้จะมีมาตรการ บังคับใช้สิทธิ (Compulsory License) มาบังคับใช้ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการ บังคับใช้สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์และ ไม่มีมาตรการในการคุ้มครองผลประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเหมาะสมภายใต้ การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยา นอกจากนั้นการยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยารวมถึง คณะกรรมการสิทธิบัตรยาทำให้ไม่มีมาตรการที่สามารถนำมาใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพใน การที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาทั้งด้านผลิตภัณฑ์ยาและผู้ทรงสิทธิบัตรยาโดยตรง รวมถึง ปัญหาในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้บังคับตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้หลายประการโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเสนอให้มีการแยกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาออกจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 โดยการบัญญัติ กฎหมายลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรยามาบังคับใช้ โดยให้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอยู่ ภายใต้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยต้องมุ่งเน้นผลประโยชน์ของคุณภาพชีวิตที่ประชาชนใน ประเทศควรได้รับเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
    (2556-10-16T03:01:59Z) ดรุณี นันทชัย
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการเงินและการ คลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีอิสระในการบริหารงานและรัฐส่วนกลางทำหน้าที่ เพียงกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 รวมทั้งระเบียบและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจแก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งทำให้มีปัญหา ผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมี อุปสรรคหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ด้านอำนาจหน้าที่ในการบริหารเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การ แบ่งแยกอำนาจ การกระจายอำนาจ การถอดถอน ด้านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ด้านบุคลากร ทางระบบ ทางส่วนราชการ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการ วางแผน จากการวิเคราะห์ พบว่า กฎหมายแม่บทได้ให้อำนาจในการบริหารงานแก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นไว้ตามหลักการกระจายอำนาจ แต่กฎหมายลำดับรองก็ยังไม่สามารถช่วยให้กฎหมายแม่บทมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่โดยที่กฎหมายลำดับรองไม่สามารถที่จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท ตามลำดับชั้นของกฎหมายและหลักกฎหมายมหาชนได้ ควรมีการแก้ไขบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุน เฉพาะกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นนำงบประมาณไปบริหาร เพื่อการปฏิบัติ ตามภารกิจที่ได้รับควรเพิ่มเติมเนื้อหาในกฎหมายลำดับรองเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันกับกฎหมาย แม่บทอันได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เช่น การจัดสรร งบประมาณของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบไม่มี เงื่อนไขเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำงบประมาณนั้นไปพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงกับความ ช่วยเหลือและความต้องการของประชาชนได้ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นวิธีการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามหลักกฎหมายแม่บทและเป็นไป ตามหลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้บริหารกิจการงานและบริหารในด้านการเงินและการคลังอย่างอิสระภายใต้กรอบอำนาจที่ กฎหมายให้ไว้ การถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีการวางแผนงานที่ดีและ ต้องคำนึงถึงความสามารถหรือความพร้อมของบุคลากรผู้ที่จะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนในส่วนรวมของท้องถิ่นนั้นได้
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ.2540
    (2556-10-16T02:57:19Z) กุลปราณี ศรีใย
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการควบคุมหน่วยงานของรัฐในการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการ การลงโทษผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน ทั้งมาตรการควบคุมกำกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีไม่ปฏิบัติ ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ จากการศึกษาพบว่า หน่วยงานของรัฐไม่ควบคุม กำกับดูแลให้ เจ้าหน้าที่ซึ่งมีผลโดยตรงแก่หน่วยงานของรัฐนั้นให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 13 ซึ่งทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ ทั้งที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารได้เคยมีคำวินิจฉัยและวางหลักกฎหมายให้วางหลักกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารมาแล้ว จึงก่อให้เกิดปัญหาสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนเข้าใจถึงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการมากขึ้น เมื่อตนไม่ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมแล้ว ย่อมมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกว่าจะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารนั้นทำให้เกิดความล่าช้า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ผู้ศึกษาจึงได้ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาไว้ กล่าวคือ กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อลงโทษหน่วยงาน ของรัฐในฐานะผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติ หน้าที่ และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมให้ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพรับประกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน
    (2556-10-16T02:52:28Z) สันต์ฤทัย สวยดี
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดให้ผู้ ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศรับประกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเกี่ยวกับการนำหลักประกันมาใช้เพื่อควบคุมความเสี่ยง ในการดำเนินธุรกิจและเป็นการประกันความรับผิดของผู้ประกอบการที่อาจก่อความเสียหายให้กับ ประชาชนด้วยเหตุที่ว่าการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและผู้ประกอบวิชาชีพนั้นนอกจากผู้ ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องคำนึงถึง ประเด็นต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอีกด้วย เช่น ความรับผิดชอบต่อประชาชนใน ฐานะคู่สัญญา ความเสียหายอันเกิดต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็น “ปัจจัย เสี่ยง” (Risk Factor) ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจย่อมมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ (Risk) และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐ เช่นการละทิ้งงานของผู้รับเหมา การ ผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน การผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทำให้ ผู้ประกอบการธุรกิจต้องรับผิดเพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายแพ่งได้กำหนด ความรับผิดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดในความเสียหายยังคงเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบในวงกว้างและเป็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ แม้ว่ารัฐจะมี มาตรการในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายโดยกำหนดหลักประกันในการดำเนินธุรกิจ แต่ ในอีกหลายๆกรณีก็ไม่มีกฎหมายเยียวยาแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่ามีพระราชบัญญัติเกี่ยวข้องกับธุรกิจ 3 กลุ่ม กล่าวคือกลุ่มธุรกิจด้าน การท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุมกำกับดูแล จากผลการศึกษาพบว่าถ้าหากพิจารณาวัตถุประสงค์และอำนาจ หน้าที่ของกฎหมายที่ใช้กำกับควบคุมดูแลในแต่ละประเภทแล้วนั้นในเรื่องของการชดใช้ หรือการ เยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนหรือคู่สัญญาหรือแม้แต่ผู้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา แต่ได้รับความเสียหายก็ตาม กฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการ หรือวิธีชดใช้ ค่าเสียหายที่เกิดจากผู้ประกอบการแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้ 2 ประการ กล่าวคือ 1. ผู้ศึกษาเห็นว่าสภาวะในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การ แข่งขันในทางธุรกิจค่อนข้างสูง กฎหมายที่ใช้ควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจโดยปรากฎใน รูปแบบของหลักประกันที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะในธุรกิจที่มีความเสี่ยงนั้น หลักประกัน ดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความเสียหาย ดังนั้นรัฐต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักประกันดังกล่าวเพื่อให้ สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันและเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการประกอบธุรกิจหรือบุคลลภายนอกซึ่งได้รับความเสียหายจากผู้ ประกอบกิจการดำเนินธุรกิจดังกล่าว 2. ผู้ศึกษามีความเห็นว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) โดยการโอนความเสี่ยงภัยด้วยการประกันภัย (Insurance) เป็นการโอนความเสี่ยงภัยจาก บุคคลหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับผู้รับ ประกันภัยเป็นค่าตอบแทน เมื่อเกิดภัยและมีความเสียหายเกิดขึ้นบริษัทผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้แบก รับภาระความเสียหายไว้เองแทนผู้เอาประกันภัยที่มีส่วนได้เสียในความเสี่ยงภัย โดยชดใช้ ค่าเสียหายในนามผู้เอาประกันภัยซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้นี้ผู้ศึกษาเห็นว่าเหมาะสมกับผู้ประกอบ วิชาชีพเป็นอย่างยิ่ง และหรือการจัดการความเสี่ยงด้วยการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    (2556-10-16T02:48:23Z) อุมาพร พงศ์โสภิตานันท์
    ประชากรในประเทศไทยมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานานนับจากอดีต สืบเนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มักใช้ดื่มเพื่อเฉลิมฉลองในงานพิธีมงคลหรือพิธี อวมงคลต่างๆ หรือความเชื่อที่ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถใช้แทนยาบำรุงร่างกายหรือ รักษาโรคได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นผลให้อัตราการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน และประชากรเพศหญิง ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงเป็น อันดับที่ 5 ของโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยดูจากอัตราการจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน ทั้งๆที่ผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี มากมายหลายประการทั้งต่อสุขภาพของผู้ดื่มเองที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่รัฐจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ป่วยและได้รับผลกระทบจากการบริโภค และต่อ วัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศไทย จึงเห็นได้ว่าหากปล่อยให้ประชาชนหรือเยาวชนที่จะเป็น อนาคตของประเทศ มีอิสระที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีการให้ความคุ้มครองหรือ ควบคุม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายอย่างมาก ประเทศย่อมไม่สามารถพัฒนาหรือ เจริญก้าวหน้าได้ทัดเทียมประเทศอื่น อันสืบเนื่องจากปัญหาการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ ประชากร ดังนั้น ในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นที่จะต้องมี หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุม ตลอดจนการหามาตรการที่เป็นธรรมในการให้ความคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการควบคุมการประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่มาก แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ได้เกิดปัญหาในการใช้มาตรการดังกล่าวหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ กฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองและควบคุมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังขาดความชัดเจน ผู้ใช้ และผู้ถูกบังคับใช้เกิดความสับสนจนนำไปสู่การไม่เห็นความสำคัญต่อมาตรการต่างๆ โดยยังพบ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดเขตพื้นที่การจำหน่ายและสถานที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหา เกี่ยวกับการกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้อเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาเกี่ยวกับวันและเวลาที่ อนุญาตให้ผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษและค่าปรับ และปัญหาเกี่ยวกับการที่ยังไม่มีการกำหนดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวขาดประสิทธิภาพในการคุ้มครองและบังคับใช้ ไม่ สามารถควบคุมอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอันจะมีผลให้มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมอัตราการบริโภคได้ จึงจะต้องมีการแก้ไข บทบัญญัติของกฎหมายบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองและควบคุมแก่ ผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขและ เพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายให้เหมาะสม ทั้งในเรื่องของการกำหนดเขตพื้นที่จำหน่ายและ บริโภคให้สอดคล้องกัน การกำหนดอายุของผู้ซื้อไว้ที่อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ การกำหนดวัน และเวลาที่อนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างเหมาะสม การกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงเพิ่มขึ้นของผู้ที่ฝ่า ฝืนต่อกฎหมาย และการกำหนดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อให้ มาตรการต่างๆเหล่านี้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สามารถที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550:ศึกษากรณีการสันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดในชั้นก่อนมีคำพิพากษา
    (2556-10-16T02:45:23Z) เกียรติพงษ์ กมขุนทด
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 ที่กำหนดไว้ว่าบุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ใน เวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่า โทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้และในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด นอกจากนั้นก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใด ได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ จากบทบัญญัติข้างต้นมี วัตถุประสงค์เพื่อมิให้ใช้มาตรการทางกฎหมายกระทำต่อผู้ต้องหาเพราะในอนาคตศาลอาจจะยก ฟ้องเพราะบุคคลนั้นไม่มีความผิดก็ได้ แต่กลไกมาตรการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ ว่าจะเป็นมาตรการในการจับกุม ควบคุม ขัง ปล่อยชั่วคราว การสอบสวน ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการ ที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแทบทั้งสิ้น จากการศึกษาพบว่ามาตรการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะ มาตรา 134 ถึงสิทธิในการแจ้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน มาตรา 92 สิทธิในการค้น มาตรา 108 สิทธิในการปล่อยชั่วคราว เป็นต้น มิได้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แต่อย่างใดล้วน แล้วแต่เป็นมาตรการที่ละเมิดต่อสิทธิของผู้ต้องหาแทบทั้งสิ้น จากการศึกษาผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรกำหนดให้ผู้ถูกออกหมายจับหรือเจ้าบ้านที่ถูก ออกหมายค้น ได้มีสิทธินำพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อหักล้างการเสนอขอออกหมายจับหรือหมายค้นของเจ้าพนักงานก่อนที่ศาลจะอนุมัติหมายดังกล่าวและควรให้พนักงานสอบสวนทำการ ออกหมายเรียกก่อนทุกครั้งที่จะมีการขอให้ศาลออกหมายจับ ในทุกความผิดและทุกอัตราโทษตาม กฎหมาย ซึ่งอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดที่จะออกหมายจับได้จากเดิมต้องมีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและควรจำกัดเหตุในการจับโดยไม่มีหมาย ตามมาตรา 78 ให้เหลือเฉพาะ กรณีที่มีความเร่งด่วนซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการจับโดยไม่มีหมายอย่างแท้จริงเท่านั้นไม่ควรเปิด โอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมนำตัวผู้ถูกจับกุมไปทำการสืบสวนขยายผลหรือกระทำการอื่นใด ที่ไม่ ต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมส่งพนักงานสอบสวนโดยทันทีและควรตัดอำนาจการควบคุมของพนักงาน สอบสวน จาก “48 ชั่วโมง” เป็น “24 ชั่วโมง” นอกจากนั้นกรณีที่เกิดความจำเป็นที่จะขังผู้ถูกจับเกิน กำหนดเวลา 24 ชั่วโมง ต้องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอหมายขัง โดยพนักงาน สอบสวนต้องรายงานพฤติการณ์พิเศษในการขังผู้ถูกจับต่อศาลด้วย ส่วนในชั้นสอบสวนควร กำหนดให้พนักงานสอบสวนจัดการส่งสำเนาคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษให้แก่พนักงานอัยการ โดยไม่ชักช้า รวมทั้งให้รายงานการดำเนินการในส่วนที่ได้ดำเนินการไปแล้วไปยังพนักงานอัยการ ด้วยและควรให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปซึ่งการสอบสวนของ พนักงานสอบสวน
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในสัญญาสัมปทาน
    (2556-10-16T02:35:48Z) นวลนภา อภิบาลศรี
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการใช้ กระบวนการอนุญาโตตุลาการในสัญญาสัมปทานตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 เกี่ยวกับปัญหาการนำกระบวนอนุญาโตตุลาการมาใช้ระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทาน ด้วยเหตุที่ ประเทศไทยมีเพียงมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2547และมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึงแนวทางปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาสัมปทานที่กำหนดให้นำคดีพิพาทที่เกิด จากสัญญาสัมปทานส่งไปฟ้องศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมเท่านั้นและไม่เขียนในข้อสัญญาให้ มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากมีปัญหาหรือมีความจำเป็นหรือเป็นข้อเรียกร้อง ของคู่สัญญาอีกฝ่ายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ซึ่งมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้ยึดหลักปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี อนุสัญญาที่เกี่ยวกับการยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่าง ประเทศ (Geneva Convention และ New York Convention) จึงทำเกิดปัญหาในแนวทางปฏิบัติและ ข้อกฎหมายอยู่หลายประการด้วยกัน จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าการระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทานมีความขัดกันระหว่างมติ คณะรัฐมนตรีลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2547 ที่ให้นำคดีที่เกิดจากสัญญาสัมปทานส่งฟ้องต่อศาล ปกครองหรือศาลยุติธรรมเท่านั้นกับการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการ ยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศประกอบกับการที่ นำพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาบังคับใช้กับการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญา สัมปทานโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการดำเนินแนวทางตามหลักกฎหมายแพ่งซึ่งขัดกับหลัก กฎหมายมหาชนดังนั้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะว่าควรแสวงหาวิธีที่เหมาะสมในการ ระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทานโดยเสนอให้มีการกำหนดประเภทของสัญญาสัมปทานตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 เพื่อแบ่งแยกประเภทของสัญญาสัมปทานว่าสัญญาสัมปทาน ประเภทใดควรระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลปกครอง นอกจากนี้ผู้ศึกษาขอเสนอให้ มีการบัญญัติกฎหมายสัญญาสัมปทานไว้โดยเฉพาะรวมทั้งเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 เพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในสัญญา สัมปทานของประเทศไทยมีความเป็นเอกเทศและเป็นที่ยอมรับในแวดวงของนักกฎหมายและนัก ลงทุนภาคเอกชน
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชน
    (2556-10-16T02:31:48Z) เกศรา ระจะนิตย์
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชนนั้นมีประเด็น ปัญหาความเสมอภาคของประชาชนเกี่ยวกับการให้สิทธิในโฉนดชุมชนและการกำหนดขอบเขต และลักษณะเกี่ยวกับความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น และก่อให้เกิดปัญหาการจำแนก ประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชนและการพิสูจน์สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของโฉนด ชุมชนไม่อาจพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของได้และปัญหาการให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการของรัฐในการจัดสรรที่ดินเกี่ยวกับโฉนดชุมชนเป็น การดำเนินการที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคเพราะการที่รัฐมอบโฉนดชุมชนให้กับชุมชนตามที่ กำหนดไว้ในเงื่อนไขของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการจำกัดสิทธิชุมชนอื่นที่ไม่ได้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ ส่วนการกำหนดขอบเขตและลักษณะเกี่ยวกับ ความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ จัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น เป็นลักษณะนามธรรมโดยปราศจากการรองรับจากกฎหมายใน ระดับพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายหมายจนทำให้ปราศจากสถานะภาพทางกฎหมายและ ไม่อาจจะประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิตามโฉนดชุมชนได้ ส่วนปัญหาการ จำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน เมื่อชุมชนใดได้โฉนดชุมชนมาถือครองแล้ว ใครที่จะสามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ ถึงแม้ว่าตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้อยู่ ในรูปแบบของคณะกรรมการก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่โฉนดชุมชนได้ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จากคณะกรรมการ ดังนั้นจึงมีปัญหา ทำให้ประชาชนมีการทับซ้อนบริเวณทำกินและก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในชุมชนและปัญหาการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดำเนินการตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่มิได้มีจุดเกาะเกี่ยวในการจัดสรรที่ดินแต่กลับให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น หน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชนซึ่งอำนาจในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินปัจจุบันเป็นอำนาจของกรมที่ดินในการดำเนินการถ้าปรากฏว่ามีการโอนโฉนดชุมชน จะมีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างให้สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกรมที่ดินเป็นผู้จดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า รัฐควรที่จะจัดสรรให้ทั่วถึงและยุติธรรม เพราะบุคคลที่อยู่ ภายในป่าก่อนมีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นผู้บุกรุกส่วนปัญหาการพิสูจน์สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ของโฉนดและปัญหา การจำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน รัฐบาลควรออกกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายรับรองสิทธิในโฉนดชุมชนและสิทธิชุมชนโดยการบัญญัติ เพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินในลักษณะของกรรมสิทธิ์ร่วมหรือโฉนดชุมชน โดยไม่มี กำหนดระยะเวลาและให้สามารถสืบทอดทางมรดกได้ โดยการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐสามารถที่จะ เพิกถอนโฉนดชุมชนได้ทั้งแปลงหากชุมชนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐกับชุมชนและ รัฐบาลควรจะยกระดับที่ดินเป็นพื้นที่โฉนดชุมชนได้โดยกำหนดให้ทำข้อตกลง ระเบียบและกติกา ร่วมที่ชัดเจนจะช่วยให้ชุมชนเมืองสามารถพัฒนาชุมชนได้ดียิ่งขึ้นรวมถึงจะช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน เมืองซึ่งเป็นปัญหาของเมืองใหญ่ทั่วประเทศ