ปัญหาการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง: ศึกษากรณีคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นคนต้องห้าม
dc.contributor.author | วีระชัย ถิ่นกมุท | en_US |
dc.date.accessioned | 2555-10-11T07:45:26Z | |
dc.date.available | 2555-10-11T07:45:26Z | |
dc.date.issued | 2555-10-11T07:45:26Z | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกรณีคนต่างด้าวที่ตก เป็นคนต้องห้ามเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรไทย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กรณี บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางเข้ามาและออกนอกราชอาณาจักรไทย และเมื่อได้รับอนุญาตให้ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว หากคนต่างด้าวนั้นมีพฤติการณ์ที่สมควรเพิกถอนสิทธิที่ได้รับ อนุญาต กรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจจะมีอำนาจในการสั่งให้คนต่างด้าวดังกล่าวออกนอก ราชอาณาจักรได้หรือไม่ อย่างไร เนื่องจากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่ บังคับใช้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ที่ได้วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศโดยมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองสามารถใช้ดุลพินิจออกคำสั่งทางปกครองได้อย่างกว้างขวาง การบังคับ ใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ฉบับนี้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากเป็นการออก คำสั่งทางปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมาย ถูกต้องตามระเบียบ เหมาะสมและในกรณีเฉพาะรายจะต้องไม่ใช้อำนาจอย่างไร้ซึ่งเหตุผลหรือเกินสมควรแก่เหตุ จาก ปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการกำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจอย่าชัดเจน เกี่ยวกับกรณีใดที่สมควรให้เพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และการที่ กฎกระทรวงให้อำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็น อำนาจเสร็จเด็ดขาดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงเสนอแก้ไขว่าควรให้คณะกรรมการ พิจารณาคนเข้าเมืองโดยการเสนอของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใกล้ชิดกับ ปัญหาและเป็นอำนาจโดยแท้ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพื่อเป็นการควบคุมการใช้อำนาจ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองควรมีอำนาจจับกุมและส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายก่อนที่จะทำการผลักดันออก นอกประเทศ เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวในการกระทำความผิดซ้ำอีก การห้ามบุคคลต่างด้าวที่ไม่มี ปัจจัยยังชีพหรือไม่มีเงินติดตัวเข้ามาเป็นภาระของประเทศควรจะต้องมีการปรับปรุงจำนวนเงินให้ เพิ่มมากขึ้นจากเดิมและบัญญัติโรคต้องห้ามเพิ่มเติมจากที่กฎกระทรวงกำหนดไว้เดิม เนื่องจากใน สถานการณ์ปัจจุบันโรคต่าง ๆ มีการพัฒนาไปตามสภาวการณ์ของโลก และผู้ศึกษาเห็นว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย ควรเป็นหน่วยงานที่มีเอกภาพในการออกหนังสือเดินทางและ มีอำนาจในการตรวจลงตราให้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้เอง ซึ่งหาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจเต็มในการดำเนินการดังกล่าวแล้วโอกาสในการพัฒนาระบบ การตรวจผ่านแดนให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4082 | |
dc.subject | กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง | en_US |
dc.subject | คนต่างด้าว | en_US |
dc.subject | คนต้องห้าม | en_US |
dc.title | ปัญหาการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง: ศึกษากรณีคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นคนต้องห้าม | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- 2abstract.pdf
- ขนาด:
- 111.85 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
- คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: