มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ต
กำลังโหลด...
วันที่
2567
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ต และควรมีหน่วยงานเอกชนประกอบด้วยในการกำกับดูแลควบคู่กับหน่วยงานรัฐรวมถึงศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบ
จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ตมีไม่เพียงพอ กล่าวคือในปัจจุบันการโฆษณาผ่านทางอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลทางสังคมได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างยิ่งในสังคมโดยการโน้มน้าวต่อผู้บริโภค อาจมีการใช้ข้อความโฆษณาที่เข้าข่ายเป็นเท็จ การโฆษณาเกินความจริง ย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ยังไม่เพียงพอต่อการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาตรการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรได้มีการจัดทำร่างกฎหมายรูปที่ผ่านการปรับแต่งดิจิตอล (Digitally Altered Body Image Bill) เกี่ยวกับการควบคุมการปรับแต่งดิจิตอลอย่างเข้มงวด
คำอธิบาย
คำหลัก
มาตรการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์, หน่วยงานเอกชนควบคุมอินฟลูเอนเซอร์
การอ้างอิง
สุพิชญา ลิ้มประพันธ์ศิลป์. 2567. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ต.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.