ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้ตราประทับเช็คในระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในระบบหักบัญชี (Clearing) และออกประกาศเกี่ยวกับใช้เช็คเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพ (Imaged Cheque Clearing and Archive System: ICAS)โดยในระบบดังกล่าวการหักบัญชีเช็คเป็นการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัล (Digital Image) มาใช้ในกระบวนการเรียกเก็บเงินตามเช็คในลักษณะการตัดการเดินทางของตัวเช็ค (Cheque Truncation) ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในระบบกระบวนการเรียกเก็บอันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คของธนาคารและลูกค้าจากเดิมที่ใช้วิธีการตรวจสอบเนื้อกระดาษของตัวเช็คและลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายจากตัวเช็คต้นฉบับ แต่ในระบบ ICAS ใช้วิธีตรวจสอบจากข้อมูลภาพบนเช็คแบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีรูปลายน้ำกลาง (Common Watermark) ที่มีรูปแบบภาพเฉดสีเทา (Grayscale) และ Black & White เป็นภาพเฉดสีขาวดำ ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องยกเลิกตราประทับ/ตรานูน/ตราสี/การประทับตราของธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ เช็คที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถตรวจสอบความนูนต่ำของพื้นผิวและความถูกต้องของเฉดสีโดยขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการใช้ตราประทับกับเช็ค เมื่อมีการสแกน(Scan) เช็คแล้วอาจทำให้สีของการลงลายมือชื่อกับตราประทับในภาพเช็ค มีการทับซ้อนกันและเห็นลายมือชื่อไม่ชัดเจน มีความยากลำบากให้การพิสูจน์ลายมือชื่อ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเกี่ยวกับระบบดังกล่าวและปัญหาข้อกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับเช็คในระบบ ICAS และแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบหักบัญชีที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเสนอแนะปรับปรุงและเพื่อให้ได้มามาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรลุตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เช็คในระบบ ICAS การนำเทคโนโลยีมาใช้โดยพิจารณาถึงปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทางปฎิบัติอาจทำให้มาตรการที่นำมาใช้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์อย่างราบรื่นได้ดังจะเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้เลื่อนการนำระบบดังกล่าวมาใช้ออกไปก่อนเนื่องจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าการประกาศใช้ระบบ ICAS และยกเลิกใช้ตราประทับในระบบดังกล่าวของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆถูกฟ้องและทำให้เกิดปัญหาระหว่างลูกค้าของธนาคารที่เป็นนิติบุคคลและอำนาจผู้แทนนิติบุคคลได้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางให้เพิ่มเติมการกำหนดรูปแบบของเช็คในระบบ ICAS เพื่อช่วยกำหนดอำนาจ ขอบเขตการลงลายมือชื่อ การประทับตราและอำนาจความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคลและนิติบุคคล

คำอธิบาย

คำหลัก

เช็ค, ตราประทับ, ระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพ

การอ้างอิง

สันติพงษ์ กุมารสิงห์. 2554. "ปัญหาเกฎหมายกี่ยวกับการยกเลิกการใช้ตราประทับเช็คในระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.