การศึกษาการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษา พื้นทางวิ่งเปียก

เชิงนามธรรม

อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศมีหน้าที่กำหนด และรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินทั่วโลก จากข้อมูลอากาศยานอุบัติเหตุขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ในปี 2016 พบว่า จำนวนอากาศยานอุบัติเหตุ ซึ่งมากกว่า 50% เกิดจากเครื่องบินออกนอกทางวิ่ง บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบิน ตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศกรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ขั้นตอนการดำเนินการ โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประเมิน และนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษาพื้นทางวิ่งเปียก ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการปฏิบัติการบินของเครื่องบินเมื่อพื้นทางวิ่งเปียก ได้แก่ (1) คำนวณหาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบิน (2) การพิจารณาสภาพพื้นทางวิ่งของสนามบินปลายทาง (3) คำนวณหาความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก (4) พิจารณาความเร็วในการลงสนามบินของเครื่องบินมีค่ามากกว่าความเร็วไฮโดรแพลนนิ่งแบบไดนามิก ซึ่งการลงสนามบินครั้งนี้เป็นการลงสนามบินในกรณีไฮโครแพลนนิ่ง และ (5) นักบินใช้เทคนิคการบินสำหรับปฏิบัติการบินลงสนามบินเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นผู้บริหารองค์กรการบินต้องบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในองค์กรและจัดการอบรมให้ความรู้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุ

คำอธิบาย

คำหลัก

การบริหารความเสี่ยงความปลอดภัย, องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ, พื้นทางวิ่งเปียก, Safety risk management, International Civil Aviation Organization, Wet runway

การอ้างอิง

ธนากร เอี่ยมปาน. การศึกษาการบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยของเครื่องบินขณะลงสนามบินตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กรณีศึกษา พื้นทางวิ่งเปียก.(2022). NKRAFA Journal of Science and Technology, 18(1), กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 88 – 97.